28 ก.ย. 2023 เวลา 06:52 • สุขภาพ

ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง หากปล่อยไว้ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ

ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome) หรือกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง คือ กลุ่มอาการหรือภาวะความผิดปกติในระบบร่างกาย ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน รวมทั้งทางด้านจิตใจ แม้ว่าจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่แล้ว ก็ยังคงมีอาการอ่อนล้า ไม่สดชื่น เหมือนคนทั่วไป และไม่ควรปล่อยปละละเลยไว้
สาเหตุที่แน่ชัดยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ หรือวิทยาศาสตร์รองรับ แต่มีข้อสันนิษฐานว่าเกิดจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
- การติดเชื้อไวรัส
- การติดเชื้อแบคทีเรีย
- ขาดความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ผลิตจากไฮโปทาลามัส จากต่อมใต้สมอง หรือต่อมหวกไต
- เครียดหรือซึมเศร้า
อาการภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง
- ปวดศีรษะ
- วิงเวียนศีรษะ
- เหนื่อยล้า
- ไม่ค่อยมีสมาธิ
- ความจำไม่ค่อยดี
- มีต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ หรือที่คอใหญ่ขึ้น
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และข้อกระดูก
- มีปัญหาในการนอนหลับ
การรักษาภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- เข้านอนให้ตรงเวลา
- ผ่อนคลายความเครียด
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ออกกำลังกาย
การใช้ยา
- ยาบรรเทาโรคซึมเศร้า
- ยาบรรเทาอาการปวด หรือวิงเวียนศีรษะ
- ยานอนหลับ
การป้องกันภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยง
- หลีกเลี่ยงความเครียด การอดนอน เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และน้ำอัดลมที่มีน้ำตาลสูง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ รวมทั้งสภาพแวดล้อมเป็นพิษ
- ควรออกกำลังกาย เพราะจะทำให้นอนหลับง่ายขึ้น
- รับประทานอาหารไขมันต่ำ
ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรังสามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย แต่มักจะพบในวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุ 40-50 ปี โดยเฉพาะเพศหญิง ดังนั้นผู้ที่กำลังตั้งครรภ์แล้วมีอาการภาวะอ่อนเพลียเรื้อรังควรพบแพทย์ เพราะว่าอาจเกิดผลกระทบต่อบุตรในครรภ์ได้
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่
โฆษณา