7 ต.ค. 2023 เวลา 09:00 • ประวัติศาสตร์
ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่น ตอนที่ 9 ที่มาเศรษฐกิจแดนปลาดิบ

ยุคเฮเซ ตอนที่ 1 ทศวรรษที่สาบสูญ (The Lost Decade)
ค.ศ.1989 รัชสมัยของจักรพรรดิอากิฮิโตะเริ่มต้นขึ้นหลังการสวรรคตของพระราชบิดาของพระองค์ จักรพรรดิฮิโรฮิโตะ เป็นช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นต้องเจอกับสงครามการค้าและการอ่อนค่าของเงินเยน โดยจุดเริ่มต้นมาจากพี่ใหญ่ของโลก สหรัฐอเมริกาเอาดุลการค้ามากลางออกดู แล้วก็ต้องตกใจเมื่อศูนย์เสียดุลการค้าให้กับ 2 ประเทศที่แพ้สงครามเยอะมาก ได้แก่ เยอรมันและญี่ปุ่น ทำให้พญาอินทรีต้องหาวิธีเอาคืน
ณ ช่วงเวลานั้น ประธานาธิบดีสหรัฐ โรนัลด์ เรแกน (Ronald Reagan) กับ รัฐมนตรีคลัง เจมส์ เบเกอร์ (James A. Baker) ปรึกษากันแล้วได้ข้อสรุปว่า เราต้องประกาศลดค่าเงินดอลล่าให้อ่อนค่าลง การลดค่าเงินนี้เป็นประโยนช์สำหรับประเทศที่เน้นด้านการส่งออกสินค้า กล่าวคือ สินค้าที่จะส่งออกไปต่างประเทศเทียบกับประเทศที่มีสกุลเงินแข็งค่ากว่าสินค้านั้นจะถูกลงทันที เหมือนได้ส่วนลดไปในตัว ปัจจุบันนี้ไม่มีการทำแบบนี้แล้วเพราะเหมือนเป็นการตัดราคากัน
ภาพแรก ประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน (Ronald Reagan) กับ เจมส์ เบเกอร์ (James A. Baker)
ที่สหรัฐสามารถประกาศลดค่าเงินได้เพราะเป็นประเทศเบอร์ 1 ของโลก คือข้าใหญ่สุดทำไม แล้วก็ยังไม่มีการประกาศห้ามตัดราคากันในตอนนั้น James A. Baker ได้เชิญรัฐมนตรีคลังของประเทศในกลุ่ม G5 ได้แก่ ฝรั่งเศส (Pierre Beregovoy) เยอรมนี (Gerhard Stoltenberg) สหราชอาณาจักร (Nigel Lawson) และญี่ปุ่น (Noburu Takeshita) เรียกว่าข้อตกลง Plaza Accord
ทั้ง 4 คนก็โดนเชิญมาแบบไม่ได้รู้อะไรมาก แล้ว เจมส์ เบเกอร์ ก็ประกาศว่าจะลดค่าเงินตัวเองให้อ่อนค่าลง ตัวแทนจากทั้ง 4 ประเทศก็งง อ้าวนี้มันตัดราคากันนี้ สำหรับ สหราชอาณาจักรกับฝรั่งเศสก็ยังเฉยๆเพราะไม่ใช่เจ้าแห่งการส่งออก เยอรมนีตะวันตกก็งงๆ แต่ประเทศพระอาทิตย์เริ่มรู้ละว่า เป้าหมายในประชุมครั้งนี้คือตัวเอง เพราะคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นก็คือ สหรัฐอเมริกา แล้วที่ถูกเชิญมาก็ไม่ใช่เพื่อปรึกษาแต่เป็นการบอกว่าให้ทำ หลังจากเหตุการณ์นี้เงินเยนก็แข็งค่าขึ้นมาเป็น 20% ในระยะเวลาประมาณเดือนกว่าๆ
รัฐมนตรีการคลังของแต่ประเทศ ฝรั่งเศส (Pierre Beregovoy) เยอรมนี (Gerhard Stoltenberg) สหราชอาณาจักร (Nigel Lawson) และญี่ปุ่น (Noburu Takeshita)
ณ เวลานั้นนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นคือ ยาซูฮิโระ นากาโซเนะ (Yasuhiro Nakasone) ได้หาแผนรับมือโดยการเชิญผู้ว่าการของธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นก็คือ ซาโตชิ นากาโมโตะ (Satoshi Sumita) เข้ามาพูดคุยแล้วได้ข้อสรุปคือ การอัดฉีดสภาพคล้องเข้าไปในตลาดเยอะๆ ลดอัตราดอกเบี้ยจะทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจเติบโตได้รวดเร็วและหาประเทศอื่นเพื่อกระจายความเสี่ยงในการผลิตดีกว่า
แต่ประเทศไหนดีที่จะสามารถรับอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมรถยนตร์ก็ดี อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ก็ดี จะเลือกประเทศไหนดี ที่สุด หวยก็ออกที่ประเทศไทยครับ นายกรัฐมนตรีในเวลานั้นคือ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เหตุที่เลือกประเทศไทยก็มีหลายสาเหตุ หนึ่งก็เป็นเรื่องของฝีมือแรงงานเรา อีกหนึ่งสิ่งจะขาดไปไม่ได้สำหรับอุตสาหกรรมหลังยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ พลาสติกครับ และตอนนั้นประเทศไทยก็พบแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติเอราวัณในอ่าวไทย
Eastern Seaboard แผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
จากทั้งหลายสาเหตุที่กล่าวมาทำให้ ค.ศ.1982 ก่อกำเนิดที่ตั้งอุตสาหกรรม Eastern Seaboard ถือเป็นแหล่งที่ผลิตปิโตรเคมีที่เหมาะที่สุด แล้วก็อยู่กับประเทศไทยได้ 40 กว่าปีแล้ว จากการย้ายการผลิตนี้ทำให้ต้นทุนการผลิตต่างๆของอุตสาหกรรมถูกลง ก็สามารถนำสินค้าไปขายยังประเทศต่างๆได้ โดยใช้ประเทศไทยเป็นที่กระจายสินค้า
จากการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทำให้ราคาตลาดหุ้นขึ้น และเมื่อต้นทุนทางการเงินมันต่ำก็ทำให้คนญี่ปุ่นกู้ธนาคารออกมา สำหรับการกู้ธนาคาร ถ้ากู้มาทำธุรกิจก็ดีไป แต่ที่คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ทำก็คือน้ำเงินเก็งกำลังในหุ้น เก็งกำลังในอสังหาริมทรัพย์ เพราะเฉพาะตั้งแต่ปี ค.ศ.1985 - 1991 มุลค่าอสังหาริมทรัพย์ใหญ่กว่าของสหรัฐอเมริกา พื้นที่ใกล้บริเวณโตเกียวมีราคาแพงกว่าแคลิฟอร์เนียทั้งรัฐ
กราฟแสดงค่าเงินของประเทศญี่ปุ่นในช่วงเหตุการณ์ Plaza Accord
จากทั้งหมดที่กล่าวมาดูแล้วเหมือนจะดีทุกอย่างเลย หุ้นเติบโต ราคาอสังหาสูงขึ้น ขายสินค้าได้ดี แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆคือ เก็งกำลังในหุ้นกับอสังหาริมทรัพย์ เพราะซาโตชิ นากาโมโตะ เขาต้องการให้กู้เพื่อนำเงินไปลงทุนให้เกิดสินค้าหรือบริการ
แต่ในกรอบเวลานั้น ชาวญี่ปุ่นไม่ได้ทำแบบนั้น แล้วที่หน้ากลัวกว่านั้นคือ บริษัทยักใหญ่ต่างๆที่อยู่ในกลุ่ม เคเรตสึ (กลุ่มบริษัทต่างๆในรูปปกด้านบน) ครึ่งนึงของกำไรในบริษัทมาจากการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Capital Gain) เมื่อผลกำไรเป็นแบบนี้ทำให้บริษัทต่างๆรู้สึกว่า ก็ไม่จำเป็นที่ต้องออกสินค้าหรือบริการอะไร เพราะก็แค่ลงในทุนในอสังหาริมทรัพย์ก็ได้กำไรละ จะเร่งพัฒนานวัฒธรรมใหม่ๆ ทำไปทำไม
20 บริษัทที่มีมูลค่าการตลาดใหญ่ที่สุดของโลก ในปี ค.ศ.1989
ค.ศ.1989 ทำให้ 20 บริษัทที่มีมูลค่าการตลาดใหญ่ที่สุดของโลก มีบริษัทญี่ปุ่นถึง 32 บริษัท จากวันนั้นสู่วันนี้มีเหลือแค่ 2 บริษัท เมื่อคนในตลาดนำเงินที่ได้ไปเก็งกำไรเข้าสู่สถานการณ์ฟองสบู่เต็มรูปแบบ เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ขึ้นไปสูงแบบสุดๆตอนหลังไม่มีคนมีเงินซื้อ
ทำให้คนญี่ปุ่นร่วมถึงบริษัทต่างๆที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในราคาแพง ต้องถือสินทรัพย์นั้นไว้ เรียกว่าดอยอสังหา ทำให้หุ้นและราคาทุกอย่างร่วง ทำให้เกิดสถานการณ์บังคับขายแม้ว่าจะขาดทุนเพื่อนำเงินกลับไปคืนธนาคาร ทำให้ในปี ค.ศ.1991 ธนาคารกลางญี่ปุ่นต้องทำการขึ้นดอกเบี้ยเรื่อยๆ หลังจากนั้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ซึมยาว หลังจากปี ค.ศ.1991 - 2000
ซึ่งผลลัพธ์นี้เกิดจากปัจจับภายนอกอย่างสหรัฐที่ประกาศลดค่าเงินตัวเอง (Plaza Accord) ทางรัฐบาลญี่ปุ่นก็ดำเนินการแก้เกมส์ แต่เป็นการแก้เกมส์ที่เสี่ยงมากทำให้ผลที่กลับมาทำให้ประเทศญี่ปุ่นเจ็บหนัก เหตุการณ์นี้เป็นอะไรที่ คลาสสิกมากนะครับ ต้มยำกุ้งบ้านเราก็เป็นแบบนี้ วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ก็เป็นแบบนี้ แค่มันเกิดกับประเทศญี่ปุ่นก่อนครับ
ติดตามตอนต่อไป สู่โลกาภิวัตน์
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference ญี่ปุ่น ตอนที่ 9 ที่มาเศรษฐกิจแดนปลาดิบ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา