9 ต.ค. 2023 เวลา 04:54 • ข่าวรอบโลก

Décollage

เวลา 08:36 นาที ของวันที่ 9 ตุลาคม 2023 จรวด Vega ของบริษัท ArianeSpace บินขึ้นจากฐานปล่อยในดินแดนเกียนา ดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส นำส่งดาวเทียมหลัก (Primary Payload) สองดวงได้แก่ THEOS-2 ของประเทศไทยและ FORMOSAT-7R ของประเทศไต้หวัน พร้อมกับ Secondary Payload อีกจำนวนหนึ่ง
หลังจากที่เลื่อนการปล่อยจากวันที่ 5 และวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา จรวด Vega ก็สามารถถูกปล่อยขึ้นและนำส่งดาวเทียมกลุ่มนี้ขึ้นสู่วงโคจรได้ โดยดาวเทียมกลุ่มนี้เป็นดาวเทียมเพื่อการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ ใช้วงโคจรพุ่งลงมายังทิศใต้ เพื่อโคจรรอบโลกตัดขั้วโลกเหนือใต้
โดยเฉพาะดาวเทียม THEOS-2 ของประเทศไทย ซึ่งเป็นดาวเทียมถ่ายภาพและสำรวจโลก ออกแบบวงโคจรให้อยู่ที่ระดับความสูง 621 กิโลเมตร ดำเนินงานโดย GISTDA ซึ่งได้รับการออกแบบและผลิตโดยบริษัท Airbus Space
หลังจากการปล่อยประมาณ 54 นาที ดาวเทียมทั้ง THEOS-2 และ FERMOSAT-7R ได้ถูกปลดออกจากจรวดท่อนบนได้สำเร็จ (Spacecraft Seperation) ณ วงโคจรที่ความสูง 612 กิโลเมตร ในขณะที่ดาวเทียมขนาดเล็กอื่น ๆ ที่ติดไปด้วย จะถูกปล่อยออกหลังจากนั้น เพื่อป้องกันการกวนกันของสัญญาณ
หลังจากการปล่อยตัวดาวเทียมจะยังไม่สามารถใช้งานได้ทันที ต้องรอระยะเวลาเพื่อ establish การเชื่อมต่อสัญญากับภาคพื้นดิน โดยสัญญาณ Telemetry ที่แสดงระหว่างการปล่อยจะเป็นสัญญาณ Telemetry จากระบบจรวด Vega
ดาวเทียมอีกดวงหลัก เป็นดาวเทียม FORMOSAT-7R ซึ่งเป็นดาวเทียมด้านวิทยาศาสตร์และสำรวจโลกของไต้หวัน ดำเนินงานโดย Taiwan Space Agency หรือ TASA
ภารกิจนี้นับว่าเป็นการกลับมาใช้จรวด Vega อีกครั้ง หลังจากที่เดิมที THEOS-2 มีกำหนดปล่อยกับจรวด Vega-C แต่จรวดดันเกิดเหตุระเบิดในเที่ยวบินก่อนหน้า ซึ่งทำให้ THEOS-2 นั้นรอดจากการกลายเป็นพลุไปอย่างหวุดหวิด
โฆษณา