29 ต.ค. 2023 เวลา 03:51 • การเมือง

ประมุขของรัฐกับการแต่งตั้งตัวแทน

เรื่อง ประมุขของรัฐแต่งตั้งเป็น “นายกฯ” แต่เลือกตั้งนายกฯ เป็น “ประมุขของรัฐ”
ประมุขของประเทศ (รัฐ) ถือ “อำนาจอธิปไตย” (Sovereign Power) ไว้ให้ประชาชน แล้วใช้ อำนาจของประชาชนโดยการแต่งตั้ง “นายกรัฐมนตรี” (Prime Minister) ให้เป็นผู้ใช้ “อำนาจการปกครอง” (Administrative Power) หรือประมุขของประเทศ จะใช้อำนาจ การปกครอง เองก็ได้ เป็น การถือ “อำนาจอธิปไตยและถืออำนาจการปกครองพร้อมกัน”
เช่น ประธานาธิบดีแบบผู้กุม “อำนาจ บริหารอย่างเดียว” ที่ได้รับ “อำนาจอธิปไตย” จากประชาชน ด้วยการเลือกตั้งโดยตรง หรือประมุขของ ประเทศแบบประธานาธิบดี คือ ผู้กุม “อำนาจบริหาร” ที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยนั่นเอง
การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงจากประชาชน ทำให้นายกรัฐมนตรีผู้กุม “อำนาจบริหาร” อยู่แล้วมี “อำนาจอธิปไตย” เพิ่มขึ้นอีก “อำนาจหนึ่ง” ทำให้นายกรัฐมนตรี กลายเป็น “ประมุขของ ประเทศ” ลักษณะเดียวกับ “ประธานาธิบดี” จึงเป็นการยกระดับ “นายกรัฐมนตรี” เป็น “ประธานา ธิบดี” นั่นเอง อันเป็นไปตาม “แผนก่อการร้าย ในการพลิก ประเทศด้วย การเลือกตั้ง”
แม้ว่าจะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่า “นายกรัฐมนตรีต้องได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจาก ประชาชน เสร็จแล้วให้พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของประเทศแต่งตั้งอีกครั้งหนึ่งก็ตาม” ปัญหา นี้จะเข้าใจได้ต้องเข้าใจ “หลักวิชา” เพราะตามหลักวิชาแล้ว อำนาจแต่งตั้งกับ อำนาจเลือกตั้ง มีอำนาจ แตกต่างกัน
อำนาจเลือกตั้งย่อมมีอำนาจมากกว่าอำนาจแต่งตั้ง และยิ่งเป็นการเลือกตั้งผู้ถืออำนาจ ปกครอง “ด้านบริหาร” ด้วย ยิ่งทำให้ “นายกรัฐมนตรี มีอำนาจมากกว่าประมุขของประเทศอย่างเป็น ไปเอง” สถาบันพระมหากษัตริย์ ก็จะเป็น ประมุขของประเทศแต่ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น
โดยความเป็นจริงนั้น นายกรัฐมนตรีเป็นประมุขของประเทศตัวจริง กรณีเช่นนี้มี ตัวอย่าง เป็นบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้เห็นมากมาย แต่ในความเป็นจริง กลับตรงข้าม ยกตัวอย่างใน มาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน บัญญัติไว้ว่า “ประเทศไทยมี การปกครองระบอบ ประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
แต่ในความเป็นจริง ของประเทศกลับมี “การปกครองแบบเผด็จการรัฐสภา” เหลือเพียงมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขของประเทศเท่านั้น ที่ยังถูกต้องกับความเป็นจริงอยู่ แต่ถ้าเลือกตั้งนายกฯ โดยตรงบทบัญญัติในมาตรา 2 ก็เป็นหมันไปหมดทั้งมาตราทันที และเป็นไปตาม แผนการร้ายที่มีความมุ่งหมาย ไม่ให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ ตัดอำนาจของ สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ให้ใช้ อำนาจอธิปไตย ให้สถาบันเป็นเพียงสัญลักษณ์อยู่ลอยๆ ไม่มีบทบาท ต่อบ้านเมืองในด้านการเมือง
ซึ่งเป็นด้านสำคัญที่สุดในการชี้ขาดสถานการณ์ เช่น คำกล่าวว่า “พระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง” หรือ “พระมหากษัตริย์ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง” เป็นต้น ซึ่ง หมายถึง “ประมุขของรัฐ” ไม่เกี่ยวข้องกับ “อำนาจการปกครอง” (Administrative Power) และ “อำนาจอธิปไตย” (Sovereign Power) นั่นเอง
เมื่อพูดถึง มาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่บัญญัติไว้ว่า “ประเทศไทยมีการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” บทบัญญัตินี้แสดงให้เห็นว่า นักวิชาการ บ้านเราไม่มีความรู้ในเรื่องหลักวิชา จึงขอทำความเข้าใจเพิ่มเติม ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา 2 บัญญัติว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น คำว่า “อัน” ทำให้ความหมายของ พระมหากษัตริย์เปลี่ยนเป็นประมุขของการปกครองแทนประมุขของประเทศ ซึ่งไม่ชอบด้วยหลัก วิชารัฐศาสตร์ และคำว่า “ทรง” เป็นการใช้ราชาศัพท์ไม่ถูกต้องเพราะ “พระมหากษัตริย์” ในที่นี้เป็น “สถาบัน” ไม่ใช่ “บุคคล” ซึ่งการเขียนรัฐธรรมนูญเช่นนี้ ก็ไม่ชอบด้วยหลักภาษาไทย
2. บทบัญญัติในมาตรา 2 เป็นบทบัญญัติที่ว่าด้วย “การปกครอง” ซ้อนกับบทบัญญัติที่ว่าด้วย “สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ” ควรแยกออกจากันเป็นคนละมาตรา เพราะต่างก็ เป็นบทบัญญัติที่มีความสำคัญ
3. คำว่า “การปกครองระบอบประชาธิปไตย” เป็นคำที่ไม่ถูกต้อง เพราะ “ระบอบ” กับ “การ ปกครอง” นั้น ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แม้ว่าจะมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออกก็ตาม แต่เป็นคนละสิ่ง และมีความหมายคนละอย่าง ระบอบก็ระบอบ การปกครองก็การปกครอง เราต้องการใช้ความหมาย สิ่งไหนก็ต้องใช้คำนั้น ต้องการความหมายของการปกครอง ก็ต้องใช้คำว่า “การปกครอง” (Government)
ต้องการความหมายของระบอบก็ต้องใช้คำว่า “ระบอบ” (Regime) รัฐธรรมนูญมาตรา 2 ต้องการบอกความหมายของการปกครองว่าเป็น “การปกครองแบบไหน” จึงควรใช้คำว่า “การ ปกครอง” เพียงคำเดียวก็จะถูกต้อง จะเอาคำว่า “ระบอบ” เข้ามาพ่วงท้ายไม่ได้ เพราะเป็นคนละ ความหมาย และจะเอา 2 คำที่มีความหมายคนละอย่างมาติดกันก็ทำไม่ได้ อยู่แล้วในเชิงภาษา เพราะ “ระบอบ” เป็นส่วนหนึ่งของ “การปกครอง” ไม่ใช่การปกครองเป็นส่วนหนึ่งของระบอบ
และมาตรานี้ ต้องการจะพูดถึงการปกครองเท่านั้น ไม่ต้องการพูดถึงระบอบ เพราะระบอบจะพูดถึงอยู่ในมาตรา 3 อยู่แล้ว ฉะนั้น มาตรานี้จึงพูดว่า “การปกครองแบบประชาธิปไตย” หรือ “การปกครองประชาธิปไตย” ก็ได้ ซึ่งตรงกับคำอังกฤษว่า “Democratic Government”
4. คำว่า “การปกครอง” (Government) กับคำว่า “ระบอบ” (Regime) มีความหมายแตกต่างกัน คือ คำว่า “การปกครอง” เป็นการบอก “ชนิด” หรือ “ลักษณะ” ของการปกครองที่มีอยู่ใน ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งมีอยู่ 3 แบบ คือ 1. การปกครองแบบประชาธิปไตย (Democratic Government) 2. การปกครองแบบเผด็จการ (Dictatorship) และ 3. การปกครองแบบเผด็จการ ชนกรรมาชีพ (Dictatorship of the Proletariat) หรือ การปกครองแบบคอมมิวนิสต์ (Communist Government)
5. คำว่า “ระบอบ” (Regime) เป็นการบอกถึง “เจ้าของอำนาจอธิปไตย” หรือ อำนาจอธิปไตย เป็นของใคร ซึ่งในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ระบอบนั้นมีเพียง 2 อย่างเท่านั้น คือ (1) ระบอบ ประชาธิปไตย (Democratic Regime) (2) ระบอบเผด็จการ (Dictatorial Regime)
ระบอบ ประชาธิปไตย คือ “ปวงชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย” หรือ “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน” ซึ่งเป็นระบอบที่มีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนระบอบเผด็จการ คือ “คนส่วนน้อยเป็นเจ้าของ อำนาจ อธิปไตย” หรือ “อำนาจอธิปไตยเป็นของคนส่วนน้อย” ซึ่งระบอบเผด็จการนั้นมีหลายรูป เช่น ระบอบ เผด็จการฟาสซิสต์ ระบอบเผด็จการรัฐสภา ระบอบเผด็จการประธานาธิบดี ระบอบเผด็จการทหาร และ ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ ฯลฯ
6. เพื่อขจัดความสับสนในเรื่อง “ระบอบประชาธิปไตย” ขอให้เข้าใจอย่างแม่นยำว่า ระบอบ ประชาธิปไตย หรือ Democratic Regime นั้นหมายความว่า “อำนาจอธิปไตยของปวงชน” หรือ Sovereignty of the People หรือ Popular Sovereignty เท่านั้น ไม่ได้หมายความถึงสิ่งอื่น ไม่ได้หมาย ความถึง “รัฐบาลจากการเลือกตั้ง” (Elected Government) ไม่ได้หมายความถึง “นายกฯ มาจากการ เลือกตั้ง” ไม่ได้หมายความถึง “เสรีภาพ” (Freedom) และไม่ได้หมายความถึงสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น.
โฆษณา