29 ต.ค. 2023 เวลา 14:05 • ประวัติศาสตร์

EP31 ประวัติศาสตร์ที่เราไม่ใคร่ได้รู้ (ดอกเบี้ย)

ดอกเบี้ย .. ความมั่งคั่งของนายทุน .. มีประวัติ ที่ไปที่มาอย่างไร ?
ใครไม่เป็นหนี้ .. ยกมือขึ้น ?
คำตอบคือ .. ในยุคนี้ไม่น่าจะมี ..
รถ บ้าน ล้วนมาจากการกู้ ..
ในชีวิตจริงมนุษย์มีความสัมพันธ์กับดอกเบี้ยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ หุ้นกู้ ... ล้วนมีดอกเบี้ยเข้ามาเกี่ยวข้อง
วันนี้ .. เรามาเรียนรู้ ไปพร้อมๆกัน .. ถึงประวัติของดอกเบี้ยว่ายังงัย มาจากไหน ?
1️⃣ ดอกเบี้ยเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ?
มีการบันทึกไว้ว่าเกิดขึ้น 2400 ปีก่อนคริสตกาล โดยชาวสุเมเรียน
เกิดขึ้นโดยจากให้ยืมข้าวบาร์เลย์จากเมืองแห่งศูนย์กลางให้อีกเมืองนึง
ต่อมาในสมัยบาบิโลน โดยพระเจ้าฮัมมูราบี ได้มีการบัญญัติเรื่องดอกเบี้ยในกฏหมายของท่านอีกด้วย กล่าวถึงอัตราดอกเบี้ยในสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ
เกร็ดเสริม : ชาวสุเมเรียน
▪️ชนชาติแรกที่สร้างความเจริญขึ้นในบริเวณเมโสโปเตเมีย
▪️ชนชาติแรกที่คิดค้นวิธีการคิดเลข ทั้งการลบ การบวก และการคูณ
▪️มีอักษรใช้งาน : ตัวอักษรคูนิฟอร์ม ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเขียนตัวอักษรของกรีกและโรมันในสมัยต่อมา
2️⃣ นักปรัชญาของกรีก อย่างเพลโต และอริสโตเติล มองดอกเบี้ยอย่างไร ?
เพลโตกล่าวไว้ว่า “no one shall lend money upon interest”
เพลโตมีความเชื่อว่า ดอกเบี้ยทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน
ความอิจฉาริษยา ความเห็นแก่ตัว และการผิดศีลธรรมในสังคม
อริสโตเติลมีแนวคิดเช่นเดียวกับเพลโต
เกร็ดเสริม :
▪️ในจักรวรรดิโรมัน มีการคิดอัตราดอกเบี้ยต่อปี เฉลี่ยราว 6-8%
3️⃣ ในพระคัมภรีต่างๆในโลกใบนี้กล่าวถึงดอกเบี้ยอย่างไร?
พันธะสัญญาเดิม : มีการประณามเรื่องราวของดอกเบี้ย เปรียบเปรยเหมือนกับการที่ถูกงูกัด คือ จะเสียชีวิตหลังจากถูกกัด
พระคัมภีร์ไบเบิล : มีการพูดถึงดอกเบี้ยมากถึง 19 บทโองการ
ยกตัวอย่าง Leviticus 25:36
"อย่าเอาดอกเบี้ยหรือกำไรจากเขา แต่จงยำเกรงพระเจ้าของคุณ เพื่อว่าน้องชายของคุณจะอาศัยอยู่เคียงข้างคุณ”
พระคัมภีร์อัลกุรอ่าน : มีการห้ามอย่างชัดเจนในเรื่องดอกเบี้ย
ในโองการอาลีอิมรอน :
“โอ้ ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงอย่ากินริบา(ดอกเบี้ย) หลายเท่าที่ถูกทบทวี และพวกเจ้าพึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิดเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ”
4️⃣ ในเมื่อทั้ง 3 ศาสนา โดยเฉพาะ ยิว และคริสต์ ได้ห้ามเรื่องดอกเบี้ยโดยชัดแจ้ง เหตุใดดอกเบี้ยได้เกิดขึ้นได้ ?
พระคัมภรีโตราห์ ได้ระบุไว้ในบทที่ 23 ว่า
“สำหรับผู้อื่น (ผู้ที่ไม่ใช่ยิว) ท่านสามารถกู้ยืมโดยมีดอกเบี้ยได้ แต่สำหรับพี่น้องของท่าน (ชาวยิวด้วยกัน) อย่าได้กู้ยืมโดยมีดอกเบี้ย”
จุดนี้เองที่ทำให้ชาวยิวทำธุรกิจการเงินโดยคิดดอกเบี้ยกับบุคคลที่ไม่ใช่ชาวยิว
ในปลายศตวรรษที่ 16 ยุโรปเริ่มการเข้าสู่วงจรของดอกเบี้ย โดยมีข้อยกเว้นในข้อห้ามของดอกเบี้ยในทรัพย์สินของคนบางกลุ่ม โดยให้อำนาจการอนุมัติจากตุลาการเสียก่อน (มีการแก้กฏหมาย กฏระเบียบ)
ในช่วงหลังปฏิวัติฝรั่งเศส ระบบดอกเบี้ยก็เริ่มเบ่งบาน
วันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1789 ว่า “อนุญาตให้ทุกคนสามารถจัดการบริหารทรัพย์สินโดยใช้ระบบดอกเบี้ยได้ ซึ่งจะต้องอยู่ในขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้”
มีการอ้างถึงกลุ่มนายทุนชาวยิว สนับสนุนแนวคิดนี้
และหลังจากนั้นระบบดอกเบี้ยก็แพร่หลายไปทั่วยุโรป โดยระบบธนาคารจากกลุ่มนายทุนชาวยิว ต่อเนื่องจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมจนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
5️⃣ นายทุนปล่อยกู้ในเรื่องเวนิชวานิช (The Merchant of Venice) ของเชค สเปียร์ส
เราสามารถเห็นภาพของนายทุนชาวยิวปล่อยกู้ได้อย่างเห็นภาพผ่านตัวละครในนามว่าไซล็อคได้อย่างชัดเจน ที่ปล่อยกู้ให้กับให้บัสสานิโยยืมเงินสามพันเหรียญ โดยมีอันโตนิโยเป็นนายประกัน และบัสสานิโย ไม่สามารถนำมาคืนได้
ความโหด ความเขี้ยวของนายทุนผู้นี้ … สุดยอดทีเดียวครับ
หากใครสะดวกตามไปหาอ่านต่อได้
เรื่องนี้ถูกแต่งขึ้นปลายศตรวรรตที่ 16 !!!
6️⃣ การกู้เงินเพื่อสงคราม การค้า ความมั่งคั่งจากดอกเบี้ยจึงเกิดขึ้น ?
▪️สงครามอังกฤษ - ฝรั่งเศส : หนุนอังกฤษ
▪️สงครามโลกครั้งที่ 1 : หนุนอังกฤษ
▪️สงครามญี่ปุ่น - รัสเซีย : หนุนญี่ปุ่น
▪️การกู้เงินในการค้าของบริษัทบริติช อีสต์อินเดีย
▪️เงินทุนในการขุดคลองสุเอซ ประเทศอียิปต์
▪️การก่อตั้งธนาคารกลางสหรัฐ และ ธนาคารกลางอังกฤษ
7️⃣ ไอนสไตน์ นักฟิสิกส์ระดับโลก
เคยกล่าวไว้เกี่ยวกับดอกเบี้ยทบต้น คือ
“สิ่งมหัศจรรย์ของโลกสิ่งที่ 8 คนไหนที่เข้าใจมัน ก็จะได้รับมันไป ใครที่ไม่เข้าใจ ก็จะต้องเสียมันไป”
🔳🔳🔳จบโพสต์ :
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ระเบียบโลกถูกจัดวางใหม่ ระบบการเงิน การธนาคาร ระบบดอกเบี้ยยังคงเติบโตต่อไป
*** ควบคุมเงินตราได้ ก้อควบคุมโลกได้ ***
สิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลกตามที่ไอสไตน์เคยเปรยไว้ดูเหมือนจะเป็นจริง (ไอสไตน์ ก้อเป็นชาวยิว)
แม้เรานอนหลับ .. แต่ดอกเบี้ยยังคงทำงานของมันตลอดเวลา
การไม่มีหนี้ .. เป็นลาภอันประเสริฐจริงๆ 🔳🔳🔳
เรียบเรียงโดย : เรียนรู้ .. ไปพร้อมๆกัน
29 ตุลาคม 2566
เครดิตภาพ : pixabay
อ้างอิงจาก
โฆษณา