29 ต.ค. 2023 เวลา 15:43 • การเมือง

ปัญหาของประเทศเกิดจากความไม่รู้และไม่เข้าใจในหลักวิชาการเมือง

เรื่อง การเลือกตั้งเป็นหลัก 1 ใน 5 หลัก
ของการปกครองแบบประชาธิปไตย
หลักการปกครองแบบประชาธิปไตย (Principle of Democratic Government)
มี 5 ประการ คือ
1. อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Sovereignty of the People หรือ Popular Sovereignty) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ระบอบประชาธิปไตย” (Democratic Regime)
2. เสรีภาพ (Freedom)
3. ความเสมอภาค (Equality)
4. หลักนิติธรรม (Rule of the Law)
5. รัฐบาลจากการเลือกตั้ง (Elected Government) หรือ การปกครอง
จากการเลือกตั้ง
1
วิชารัฐศาสตร์ กำหนด “หลักการปกครอง” (Principle of Government) ของ “การปกครอง แบบประชาธิปไตย” (Democratic Government) ไว้ 5 ประการ ดังนี้ บางตำราอาจเพิ่มเติมมากกว่านี้ แต่ที่ตรงกันหมดก็คือ 5 ประการนี้
รัฐบาลจากการเลือกตั้ง เป็นหลักที่ 5 ของการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งต้องขึ้นต่ออีก 4 หลัก
แต่นักการเมืองและนักวิชาการบ้านเรา มักจะถือกันว่า รัฐบาลจากการเลือกตั้ง คือ การปกครอง แบบประชาธิปไตย กันเลยทีเดียว พอมีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ก็ถือว่าเป็น ระบอบประชาธิปไตยกันเลย โดยไม่สนใจต่อหลักอื่นๆ
รัฐบาลจากการเลือกตั้งนั้น ถ้าขาดหลัก “นิติธรรม” ขาด “ความเสมอภาค” “ความเสรีภาพ” และขาด “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน” เสียแล้ว ก็หาใช่รัฐบาลของการปกครองแบบ ประชาธิปไตยไม่
แต่เป็น รัฐบาลของการปกครอง “ระบอบเผด็จการรัฐสภา” เพราะการเลือกตั้งที่ขาด หลัก 4 ประการข้างต้น ย่อมเป็น การเลือกตั้งแบบเผด็จการ ไม่ใช่ การเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย
และรัฐบาลจากการเลือกตั้ง หรือ Elected Government ซึ่งเป็นหลักที่ 5 ของ การปกครองแบบ ประชาธิปไตย นั้น คำว่า “รัฐบาล” หรือ “Government” หมายถึง “การปกครอง” ไม่หมายถึง “คณะรัฐมนตรี” หรือ “Cabinet”
โดยเฉพาะหมายถึง “สถาบันหลักของการปกครอง” คือ สภาผู้แทน ในระบบรวมอำนาจ
และ ประธานาธิบดีในระบบแยกอำนาจ ซึ่ง สองสถาบันนี้ ในการปกครองแบบ ประชาธิปไตย จะต้องเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
สถาบันอื่นอาจไม่เลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน หรือไม่เลือกตั้งก็ได้ เช่น สภาสูง คณะ รัฐมนตรี และ ศาล
แต่บ้านเราดูเหมือนจะเข้าใจกันว่า รัฐบาลจากการเลือกตั้ง หมายถึง คณะรัฐมนตรี จากการเลือกตั้ง หรือ นายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้ง ซึ่งความเข้าใจเช่นนี้เป็น ความเข้าใจผิดไม่ตรงกับ ความเป็นจริง และไม่ชอบด้วยหลักวิชา และนำไปสู่ความคิดที่อะไรๆ ก็เลือกตั้งหมด โดยถือว่า เลือกตั้งเป็นประชาธิปไตย ไม่เลือกตั้งไม่เป็นประชาธิปไตย
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งนายก รัฐมนตรี ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวก “ล้าหลัง” เป็นไดโนเสาร์เต่าล้านปี ถึงขนาดไม่เลือกตั้งนายกฯ ไม่ เลือกตั้งผู้ว่าฯ ไม่เลือกตั้งวุฒิฯ เป็น “เผด็จการ” โดยตัวมัน การเลือกตั้ง เป็นประชาธิปไตยอย่างหนึ่ง แต่เป็น วิธีการประชาธิปไตย (Democratic Means) ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย (Democratic Regime)
แต่ถ้านำไปใช้เพื่อความ มุ่งหมายทางเผด็จการก็จะยิ่งเป็นผลร้าย อย่างเช่น การเลือกตั้งในระบอบเผด็จการชนกรรมาชีพ หรือ ระบอบคอมมิวนิสต์ การเลือกตั้งในระบอบเผด็จการรัฐสภา ล้วนแต่เป็นการเลือกตั้งที่เป็นผลร้ายทั้ง สิ้น
บ้านเรามีการเลือกตั้งมากว่า 90 ปี แต่เป็นการเลือกตั้งใน ระบอบเผด็จการรัฐสภา ประเทศชาติและ ประชาชนจึงผิดหวังจากการเลือกตั้งมาโดยตลอด
การเลือกตั้งจะเป็นผลดี ต่อเมื่อนำไปใช้เพื่อความมุ่งหมายประชาธิปไตย ก็คือ การเลือกตั้ง ในประเทศประชาธิปไตย เช่น การเลือกตั้งในอังกฤษ ในอเมริกา ในญี่ปุ่น ในอินเดีย เป็นต้น
ซึ่งมี ผลดีทั้งสิ้น
บ้านเราก็มีการเลือกตั้ง ส่วนอังกฤษ อเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย ก็มีการเลือกตั้ง แต่ผลไม่เหมือนกัน เพราะของเขาเป็นการเลือกตั้งใน ระบอบประชาธิปไตย ของเราเป็นการเลือกตั้งใน ระบอบเผด็จการ ที่ใช้ระบบรัฐสภาเป็นรูปการปกครอง จึงเรียกว่า “ระบอบเผด็จการรัฐสภา”
ฉะนั้น เมื่อพูดถึง “การเลือกตั้ง” จึงต้องไม่พิจารณาอย่างนามธรรม แต่ต้องพิจารณาอย่างเป็น รูปธรรมว่า เป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้งในระบอบเผด็จการ หรือในระบอบประชาธิปไตย แต่ก็คง พิจารณาไม่ได้ถูกต้อง
เพราะ ความเห็นผิดยังมีบทบาทครอบงำประชาชนทั่วไปอยู่ ฉะนั้น ขบวนการประชาธิปไตย จึงมีความจำเป็นจะต้องร่วมมือกันรณรงค์ ด้วยการเปลี่ยน ความเห็นของประชาชนให้ ถูกเสียก่อน จึงจะพิจารณาปัญหาได้ถูกต้อง คือ ขณะนี้บ้านเรามีการเลือกตั้งในระบอบเผด็จการรัฐสภา มิใช่การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย และเรียกร้องให้ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ปฏิเสธการเลือกตั้ง ในระบอบเผด็จการ
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า รัฐบาลจากการเลือกตั้ง เป็นหลักหนึ่งในการปกครอง 5 ประการ ของ การปกครองแบบประชาธิปไตย และเป็นหลักสุดท้าย ซึ่งต้องขึ้นต่อหลัก 4 ประการข้างต้น คือ รัฐบาล จากเลือกตั้งจะต้องอยู่ใต้ หลักนิติธรรม อยู่ใต้ หลักความเสมอภาค อยู่ใต้ เสรีภาพ และอยู่ใต้ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
ดังนี้จึงจะเป็น รัฐบาลจากการเลือกตั้ง ของการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่หลักที่ชี้ขาดว่าเป็น การปกครองแบบประชาธิปไตย คือ “หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน” แม้ จะไม่มีอีก 4 หลักที่เหลือก็ตาม นั่นถึงแม้ว่าจะมีอีก 4 หลักที่เหลือ แต่ถ้าไม่มีหลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน ก็ไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย
โฆษณา