6 พ.ย. 2023 เวลา 04:28 • ประวัติศาสตร์

”ผ้าตุ๊มต๋าโก้ง” หรือ “ผ้าห่มตาโก้ง” ชาวไทลื้อบ้านเก็ต ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

- ทอด้วย “วิธีขัดสานด้ายเส้นหลักแบบต่อเนื่อง” (Continuous Plain Weft Weave) เป็นลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเต็มผืนผ้า วิธีการทอในลักษณะนี้ด้ายเส้นหลักทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืนจะเป็นทั้งลวดลาย และเป็นพื้นผ้า
- “ต๋าโก้ง” คือลวดลายที่มีลักษณะพิเศษอันเป็นเอกลักษณ์ของการทอผ้าห่มของชาวไทลื้อเมืองน่าน เกิดจากการสลับสีเส้นพุ่งและเส้นยืนให้ตัดกัน โดยมีความสม่ำเสมอและมีอัตราส่วนที่เท่ากันจนเกิดเป็น ลายตารางสีแดง สีขาว และสีดำขนาดใหญ่ ซึ่งแสดงถึงขนาดความถี่-ห่าง เล็ก-ใหญ่ กว้าง-แคบ ของลายตารางที่ทอขึ้นบนผืนผ้า
“ต๋าโก้ง” คือลวดลายตารางสีแดง สีขาว และสีดำขนาดใหญ่
- “ลายหน่วย” ใน “ผ้าตุ๊มต๋าโก้ง” คือลวดลายที่เกิดจากการทอตกแต่งด้วย “วิธีขัดสานด้ายเส้นหลักแบบต่อเนื่อง” (Continuous Plain Weft Weave) โดยทอตามลวดลายที่ถูกกำหนดไว้เป็น ชุด ๆ อย่างไม่เป็นระเบียบใน “ตะกอหลัก” และ “ตะกอพิเศษ” ให้เป็นลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน วิธีการทอในลักษณะนี้ด้ายเส้นหลักทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืนจะเป็นทั้งลวดลาย และเป็นพื้นผ้า
“ลายหน่วย” บน “ผ้าตุ๊มต๋าโก้ง”
ทั้งนี้ลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่ปรากฏเกิดจากด้ายเส้นหลักที่เป็นเส้นยืน โดยไม่ได้เพิ่มด้ายเส้นยืนพิเศษ เข้าไปในผืนผ้าแต่อย่างใด ในวัฒนธรรมการทอผ้าของชาวไทลื้อ อำเภอปัว จังหวัดน่านเรียกวิธีนี้ว่า “มุก” หรือ “ยกมุก”
เครื่องนอนโบราณของชาวไทลื้อเมืองน่าน ประกอบด้วย “สะลี” หรือ “ผ้าเสื่อ” (ที่นอน) “ผ้าปกสะลี”, “ผ้าหลบ” หรือ “ผ้าหลบเสื่อ” (ผ้าปูที่นอน) ”ผ้าตุ้ม” หรือ “ผ้าห่ม” หมอน และ “สุด?” (มุ้ง) จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน จ.น่าน/ ภาพถ่ายโดย รศ. ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล ถ่ายภาพเมื่อ 2530
ปล. ผ้าตุ๊มต๋าโก้งโบราณ ของชาวไทลื้อบ้านเก็ต ต.วรนคร อ.ปัว จ.น่าน
ข้อมูล รูปภาพ และถ่ายภาพ: อรรถพงษ์ ประดิษฐพงษ์
สามารถแชร์ข้อมูลและรูปภาพได้
แต่ขอสงวนสิทธิ์ในการคัดลอกข้อมูล และรูปภาพเพื่อไปใช้ในงานส่วนตัว ก่อนการได้รับอนุญาตทุกกรณีครับ
.
อ้างถึงสิทธิในลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันที นับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาโดยไม่ต้องจดทะเบียน หรือผ่านพิธีการใดๆ
โฆษณา