18 พ.ย. 2023 เวลา 09:20 • การเมือง

องค์การสหกิจ เวอร์ชั่นใหม่ของรัฐวิสาหกิจ ตอนที่ 1

รัฐวิสาหกิจ เป็นหน่วยงานประเภทหนึ่งของรัฐบาลไทย ที่มีสถานะเป็นองค์การที่รัฐเป็นเจ้าของ ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในไทยในปี พ.ศ.2496 โดยนำองค์กรต่างๆ ที่เป็นสาธารณูปโภคที่มีอยู่แล้วก่อนหน้านั้นมาเพื่อหารายได้เรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง หรืออธิบายง่ายๆ คือหน่วยงานที่รัฐจัดตั้งขึ้นเพื่อเหตุผล 2 อย่าง คือ หากำไรจากประชาชน หรือไม่ก็ป้องกันการผูกขาดทางการค้า
ต่อมาได้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทจำกัดมหาชนจำนวนหนึ่ง โดยมีข้อกังขาจากประชาชนถึงความโปร่งใสในการกระจายหุ้น อย่างไรก็ดีเนื่องจากรัฐวิสาหกิจมีขนาดใหญ่ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องความโปร่งใสในการบริหารจัดการตลอดจนด้านงบประมาณ
ดังนั้นในฐานะประชาชนคนหนึ่งจึงขอเสนอแนวทางการแก้ปัญหาอีกทางหนึ่ง
องค์การสหกิจ (มาจากชื่อเต็มคือ องค์การสหภาควิสาหกิจ) ประกอบด้วย 5 มิติดังนี้
1. มิติด้านการร่วมทุน
2. มิติด้านการปันผล
3. มิติด้านการบริหารจัดการ
4. มิติด้านการตรวจสอบ
5. มิติด้านกฎหมาย
มิติด้านการร่วมทุน
กำหนดการร่วมทุนจากภาคส่วนต่างๆ ในสัดส่วนที่เท่ากันได้แก่
1. ภาครัฐ โดยกระทรวงการคลัง
2. ภาคท้องถิ่น ทำการจัดตั้งกองทุนรวม โดยเป็นการร่วมทุนของคลังองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
3. ภาคประชาชน โดยกองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนสวัสดิการข้าราชการทางการเมือง (จัดตั้งขึ้นใหม่)
4. ภาคธุรกิจ ซึ่งอาจตั้งกองทุนหรือสหกรณ์ขึ้นมาใหม่โดยรวบรวมจากห้างหุ้นส่วนบริษัท
5. ภาคศาสนจักร ทำการจัดตั้งกองทุนรวมเช่นเดียวกับภาคท้องถิ่น ซึ่งเป็นการร่วมทุนของศาสนจักรทั้ง 5
มิติด้านการปันผล
เมื่อปิดงวดปลายปีให้องค์การสหกิจ จะต้องนำเงินจำนวน 2.5% ของกำไรมาจ่ายให้กองทุนสวัสดิการประชาชาติเพื่อนำไปใช้ใน
- กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช)
- กองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม
และให้นำ 97.5% ที่เหลือมีคิดเป็น 100% และมาแบ่งให้กับภาคส่วนต่างๆ ตามมิติด้านการร่วมทุนอย่างเท่าๆ กัน จากนั้นให้ภาคส่วนนั้นๆ จัดสรรให้แต่ละกองทุนต่างๆ ตามสัดส่วนที่ได้ร่วมลงทุนไป
มิติด้านการบริหารจัดการ
การบริหารจัดการประกอบด้วย 3 คณะทำงาน (อ่านต่อตอนที่ 2)
โฆษณา