6 พ.ย. 2023 เวลา 12:09 • หนังสือ

เด็กชายในชุดนอนลายทาง

รั้วรวดหนามเป็นสัญลักษณ์แทนความขัดแย้ง​ และเกลียดชัง​ แต่รั้วนี้ไม่มีความหมายต่อบรูโนและชมูเอลเลย
สถานการณ์สงครามอิสราเอล-ฮามาสที่ยังคงรุนแรงอาจจะไม่กระทบกับไทยมากนัก​ แต่เราก็ติดตามข่าวกันเพื่อเอาใจช่วยคนไทยที่ยังถูกกักตัวและผู้ที่เลือกจะอยู่ที่อิสราเอลต่อไป​ให้ปลอดภัย​ สงครามมีแต่สิ่งเลวร้าย​ ความตาย​ ความสูญเสีย ฯลฯ​ เราแทบจะมองหาสิ่งที่รื่นรมย์ไม่ได้​ แต่นิยายหรือวรรณกรรมที่มีฉากเกี่ยวข้องกับสงครามยังสะท้อนสิ่งที่งดงามของมนุษย์อยู่บ้างเช่นมิตรภาพ​ ความรัก​ และความเอื้ออาทร​
.
เรื่องหนึ่งที่แอดนึกถึงคือ​ "เด็กชายในชุดนอนลายทาง (The Boy in the Striped Pyjamas)" ของนักเขียนชาวไอริช จอห์น บอยน์ ซึ่งมี​ฉบับแปลไทยโดย วารี ตัณฑุลากร ของสำนักพิมพ์แพรวเยาวชน
.
.
เรื่องสื่อถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวโดยกองทัพนาซีของเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง​ แต่ถ่ายทอดผ่านความคิดของ​ บรูโน เด็กชายวัย ๘ ขวบที่เป็นลูกชายของนายทหารคนสำคัญของกองทัพนาซี​ บูรโนตามครอบครัวมาจากกรุงเบอร์ลินเพื่อมาอยู่บ้านหลังเล็ก ๆ ที่เมืองเอาช์วิชต์ (Auschwitz) ในโปแลนด์ ที่สมัยนั้นาซียึดครองได้แล้ว
.
บรูโนโกรธที่ต้องห่างเพื่อน​ๆ มาอยู่ในเมื่องที่มีแต่ความเงียบเหงา เขาไม่มีเพื่อนเล่น แถวบ้านก็ไม่มีบ้านหลังอื่นและไม่มีเด็ก ๆ ให้เห็นเลย บรูโน พี่สาว​ และแม่ย้ายมาที่นี่เพราะพ่อซึ่งเป็นนายทหารใหญ่ของกองทัพได้รับมอบหมายงานใหม่ที่สำคัญคือดูแลจัดการค่ายกักกันเอาช์วิชต์
.
วันหนึ่งบรูโนเข้าไปนั่งคุยกับพ่อและถามพ่อตรง ๆ ว่าคนในชุดลายทางที่เขาเห็นจากหน้าต่างห้อง​นอนเป็นผู้ชายทั้งหมด ที่มีแต่เด็ก ผู้ใหญ่ และคนแก่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่นั้นเป็นใึครกัน พ่อตอบเขาว่า “คนพวกนั้นน่ะ เขาไม่ใช่คน...บรูโน”
.
วันหนึ่งบรูโนได้ออกไปนอกบ้าน เขาเดินไปถึงแนวรั้วลวดหนามนั้น และได้พบกับ ชมูเอล เด็กชายวัยไล่เลี่ยกันซึ่งนั่งอยู่ในรั้วอีกฝั่งหนึ่ง​โดยบังเอิญ
.
มิตรภาพของเด็กทั้งสองเริ่มต้นตรงจุดนี้เด็กชายวัยเดียวกันที่อยู่กันคนละฝ่ายเนื่องจากความชิงชังและขัดแย้งกันทางการเมืองกลับกลายมาเป็นเพื่อนกัน
.
บรูโน และ ชมูเอล ต่างก็เกิดวันเดียวกันปีเดียวกัน บรูโนเป็นชาวเยอรมันลูกนายทหารคนสำคัญของกองทัพนาซี เขาแต่งกายสะอาด​ แข็งแรง มั่นใจในตนเอง และช่างพูด ขณะที่ชมูเอลเป็นชาวยิว แต่งกายชุดมอซอ สกปรก ผอม​ สีหน้าเศร้า
.
นับจากวันนั้น บรูโนก็เฝ้าคอยจะออกไปเจอชมูเอลเสมอ เขาแอบเอาขนมที่บ้านไปให้เพื่อนคนใหม่ บรูโนสนุกที่ได้แอบหลบจากบ้านออกไปเจอชมูเอ... วันหนึ่งชมูเอลเล่าว่าพ่อของเขาหายไปเฉย ๆ ในพื้นที่หลังรั้วนั้น
.
บรูโนอยากช่วยชมูเอล แต่เขาไม่รู้ว่าแม่ตัดสินใจจะพาบูรโนกลับเบอร์ลินเพราะไม่อยากให้เขามาอยู่ใกล้ชิดสงครามเกินไป... บรูโนจึงขอแม่ไปนอกบ้านอีกครั้ง ก่อนกลับเบอร์ลิน... แม่ไม่รู้เลยว่า​บูรโนำปหาชมูเอลแล้วจะไม่ได้กลับมาบ้านอีกเลย​
.
ผู้แต่งเคยเรียนวรรณคดีที่เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Holocaust Literature) เขาเริ่มแต่งเรื่องนี้เมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๖ โดยเขียนร่างต้นฉบับแรกเสร็จภายในสองวันครึ่งเท่านั้น วันเกิดของบรูโน และชมูเอล วันที่ ๑๕ เมษายน ๑๙๓๔ ก็คือวันเกิดของพ่อของบอยน์นั่นเอง
.
บอยน์ยังใช้สัญลักษณ์ในเรื่องนี้เพื่อสื่อประเด็นความขัดแย้งและการปิดกั้นอิสรภาพ​ รั้วรวดหนามในเรื่องนี้ก็คือ สัญลักษณ์แทนความเกลียดชัง ความโหดร้าย ความไร้มนุษยธรรม ความเชื่อ และความศรัทธาในใจมนุษย์ที่ล้วนแบ่งแยกผู้ใหญ่ทั้งหลาย​ แต่สำหรับบรูโนและชมูเอล​ รั้วนี้ไม่สำคัญเลย​ บรูโนและชมูเอลช่วยกันขุดหลุมใต้รั้ว​ ทำให้ทั้งคู่รอดรั้วเข้าออกไปมาหากันได้...
.
นิยายเรื่องนี้ยังได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ในชื่อเดียวกันในปี ค.ศ. ๒๐๐๘ ถ้าใครอ่านเรื่องนี้แล้วแอดขอแนะนำให้ดูภาพยนต์ด้วยค่ะ​ ยังมีฉายทาง​ Netflix เศร้าสะเทือนใจไม่แพ้ตอนจบของนิยาย​แต่ให้ข้อคิดที่ละเอียดลึกซึ้งมาก
#อ่านอีกครั้งก็ยังชอบ​ #นวนิยาย #theboyinthestripedpa #johnboyne
#จอห์นบอยน์ #เด็กชายในชุดนอนลายทาง #วารีตัณฑุลากร #สงครามฆ่าล้างเผ่าพันธ์ #ค่ายกักกัน #ทหารนาซี #เยอรมนี #โปแลนด์ #เอาช์วิชต์​ #Auschwitz
#แพรวเยาวชน
โฆษณา