21 พ.ย. 2023 เวลา 02:00 • ประวัติศาสตร์

อิ ติ ปิ โส รัตนมาลา คาถา ๑๐๘

อิติปิโสรัตนมาลา คาถา ๑๐๘ เป็นบทสวดสรรเสริญพระรัตนตรัย ที่เรียกว่า “คาถา ๑๐๘” เพราะประกอบด้วย ๓ ส่วน ได้แก่
บทสรรเสริญพระพุทธคุณ ๕๖ คาถา
- อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.
บทสรรเสริญพระธรรมคุณ ๓๘ คาถา
- สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก อะกาลิโก
เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วัญญูหีติ.
และบทสรรเสริญพระสังฆคุณ ๑๔ คาถา
- สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆฯ
โดยในส่วนของบทสรรเสริญพระพุทธคุณบูรพาจารย์ได้ยกเอาอักษรตั้งต้นมาแต่งเรียบเรียงขึ้นใหม่ ๕๖ บท
https://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2_%E0%B9%91%E0%B9%90%E0%B9%98
วิธีสวดบทอิติปิโสมีหลายแบบด้วยกัน บางตำราท่านให้สวดบทที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรที่ตรงกับชื่อของผู้สวด เช่น หากผู้สวดชื่อ “ปิยะวัฒน์” ก็ให้สวดบทที่ขึ้นด้วยตัวอักษร “ป” ในบทที่ ๓ ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ปิโย” แปลว่า ผู้เป็นที่รัก มีความว่า
ปิโย เทวะมะนุสสานัง แปลว่า ผู้เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ปิโย พรหมานะมุตตะโม แปลว่า ผู้เป็นที่รักสูงสุดของพรหมทั้งหลาย
ปิโย นาคสุปณฺณานํ แปลว่า ผู้เป็นที่รักสูงสุดของนาคและครุฑทั้งหลาย
ปิณินฺทฺริยํ นมามิหํ แปลว่า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าผู้มีอินทรีย์เอิบอิ่ม
พระพุทธเจ้าทรงเป็นที่รักเพราะกว่าพระองค์จะตรัสรู้เป็นพระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ต้องสั่งสมบารมีถึง ๒๐ อสงไขยเศษแสนมหากัป
สละเลือดเนื้อมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ สละลูกในตามากกว่าดวงดาวบนท้องฟ้า สละศีรษะมากกว่าผลมะพร้าวรวมกันทั้งชมพูทวีป
แม้น้ำในหม้อหยดสุดท้าย ท่านก็ยังเคยสละมาแล้ว ด้วยผลของการบำเพ็ญบารมีเบื้องต้นคือการให้ จึงทำให้ท่านเป็นที่รักของสรรพชีวิต
พระเกจิอาจารย์ท่านนำพระคาถานี้มาใช้ปลุกเสกเครื่องรางวัตถุมงคล ลงยันต์ด้วยอักษรขอม เด่นในด้านเมตตามหานิยมตามเคล็ดวิชา เพิ่มความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต และป้องกันภยันอันตรายทั้งหลาย
ขอบคุณที่มาของภาพ : https://www.mumpra.com/detail.php?pid=12265
คำว่า “ปิโย” ที่เขียนด้วยอักษรขอมประกอบด้วย พยัญชนะตัวเต็ม ๒ ตัว คือ “ป” และ “ย” สระจม ๒ ตัว คือ สระอิ และสระโอ (ตามหลักการเขียนภาษาบาลีจะเขียนสระโอเหมือนสระเอา)
ดังนั้นคาถาบทที่ ๓ ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ปิโย จึงเขียนด้วยอักษรขอมได้ ดังนี้
คาถาบทที่ ๓ ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ปิโย
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถรับชมการเขียนคาถา อิ ติ ปิ โส รัตนมาลา คาถา ๑๐๘ ฉบับเต็มด้วยอักษรขอมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=ukJ8klunGe8
ติดตามความรู้เนื้อหาสาระดีๆ ได้ที่
โฆษณา