25 พ.ย. 2023 เวลา 11:48 • ปรัชญา

ออกจากกับดักมายาคติที่ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างอารยธรรม

วัฒนธรรมหรืออารยธรรม เป็น Soft Power
การเจรจาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ก็เป็น Soft Power ที่สามารถใช้สงบศึกสงครามระหว่างอารยธรรม
ล่าสุด ด้วยพลังการเจรจาและแรงกดดันด้วย Soft Power จากหลายกลุ่มคนทั่วโลก ทำให้เกิดเวลาสงบศึกอิสราเอลปะทะฮามาสเพื่อใช้เป็นเวลาแลกเปลี่ยนตัวประกันระหว่างกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นเหตุที่ว่า ต่างฝ่าย ต่างก็ได้ใช้ความรุนแรงต่อกัน และการโต้ตอบกันด้วยความรุนแรงนำสู่ความรุนแรงที่ยิ่งกว่า
แท้จริงวัฒนธรรมเป็นเพียง Soft Power
มีงานวิจัยที่ศึกษากลไกของวัฒนธรรมเรื่องการคิดค้นและสร้างประเพณีขึ้นเป็นแบบแผนปฏิบัติพบว่า ประเพณีต่างๆไม่ใช่สิ่งสวยงามคงทน แต่เป็นนามธรรมที่คนสามารถสร้าง ทำลาย และปรับเปลี่ยนได้
เช่น วาทกรรมบูรพาคติ เป็นจินตภาพที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อกระพือความรู้สึกเกลียดชัง และต่อต้านอาณาบริเวณในโลกที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์อย่างยิ่งยวด เพราะเป็นแหล่งน้ำมัน เป็นบริเวณที่ติดกับคริสจักร และเป็นบริเวณที่แข่งขันกันกับโลกตะวันตกมาช้านานในประวัติศาสตร์
แต่วัฒนธรรมอิสลามของชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในที่ต่างๆ มีความหลากหลายแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เช่น อิสลามในอินโดนีเซีย และอิสลามในอียิปต์นั้นแตกต่างกันอย่างมากมายมหาศาล ไม่ต่างจากถ้าเปรียบเทียบศาสนาพุทธในไทย กับพุทธในญี่ปุ่น และพุทธในธิเบต
ปัจจุบันเกิดสำนึกขึ้นทั่วโลกว่าไม่มีวัฒนธรรมใดๆ ที่บริสุทธิ์เป็นหนึ่งเดียวเพราะโลกเราวันนี้เป็นโลกแห่งการผสมปนเป การอพยพย้ายถิ่นฐาน และการข้ามพรมแดนระหว่างกัน เกิดเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีขนาดใหญ่ เช่น ชาวอินเดียในอังกฤษ ชาวแอฟริกาเหนือในฝรั่งเศส ชาวแอฟริกันในคาริเบียน แสดงว่าไม่มีวัฒนธรรมใดในโลกที่อยู่อย่างโดดเดี่ยว
ความพยายามที่จะแยกส่วนวัฒนธรรมออกเป็นชิ้นๆ เป็นการทำร้ายความงดงามขอวความหลากหลายและความเป็นลูกผสม
ยิ่งเรายืนกรานจะแยกวัฒนธรรมออกจากกันเท่าไร เรายิ่งเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวเราเองและคนอื่นๆมากขึ้นเท่านั้น
เป็นที่น่าสังเกต
กรณีชาวอินเดียในอังกฤษ ซึ่งปัจจุบันอังกฤษมีนายกรัฐมนตรีเป็นชาวอินเดีย เขาก็อยู่กันได้
แต่ทำไม อิสราเอลต้องการให้บนแผ่นดินปาเลสไตน์มีเฉพาะชาวยิวเท่านั้น
มายาคติที่ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างอารยธรรม
เหตุที่หนึ่ง(#1):ทฤษฎีสมคบคิด
เหตุของความพยายามที่ต้องการจะแยกส่วนวัฒนธรรมเพื่อจะให้เกิดการปะทะกันนั้น นอกจากจะต้องการให้เกิดสงครามที่สร้างผลกำไรให้ธุรกิจค้าอาวุธยุทธภัณฑ์แล้ว ยังมีความต้องการที่เป็นวาระซ่อนเร้นอื่นอันจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ขนาดใหญ่อยู่เบื้องหลัง
ทั้งในยุคล่าอาณานิคม และยุคหลังอาณานิคม วาทศิลป์ที่เกี่ยวกับลักษณะเฉพาะด้านอารยธรรมหรือวัฒนธรรมพัฒนาไปสองทิศทาง
1. คติแบบยูโทเปีย คือโลกในอุดมคติที่เชื่อในแบบแผนการผสมผสาน และความกลมกลืนระหว่างชนชาติทั้งมวลในโลก
ตัวอย่าง เช่น ภาษาและสถาบันต่างๆของสหประชาชาติ ที่ตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และตามมาด้วยหลายครั้งได้พยายามจะตั้งรัฐบาลโลกที่ตั้งอยู่บนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ข้อจำกัดอำนาจอธิปไตยแบบสมัครใจ และการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมและเชื้อชาติต่างๆ ที่กลมกลืน
2. คติตรงข้ามที่เชื่อว่า วัฒนธรรมทั้งหลายต่างมีลักษณะเฉพาะตัวที่หวงแหนจนต้องต่อต้านและทำสงครามกับวัฒนธรรมอื่นๆที่เหลือทั้งหมด
ตัวอย่างทฤษฎีและการปฏิบัติของสงครามเย็น และแนวคิดเรื่องการปะทะกันระหว่างอารยธรรม เช่น แนวคิดลัทธิไซอันนิสม์ (Zionism) ที่อ้างว่าปาเลสไตน์ควรเป็นดินแดนของชาวยิวเท่านั้น และชาวปาเลสไตน์ที่ไม่ใช่ยิวสมควรอาศัยอยู่ในที่ที่ต่ำต้อยกว่า
ย้อนอดีตไปยุคล่าอาณานิคม
มีวาทศิลป์เป็นอุบายเพื่อแสดงความชอบธรรมในการล่าอาณานิคม เช่น แนวคิดของฝรั่งเศสเกี่ยวกับ"ภารกิจทำให้เจริญ"ที่ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่า วัฒนธรรมและชาติพันธุ์บางกลุ่มมีเป้าหมายในชีวิตสูงส่งกว่ากลุ่มอื่นๆ ด้วยความจริงข้อนี้มอบ "สิทธิ" ในการล่าอาณานิคมแก่กลุ่ม ที่มีอำนาจกว่า ก้าวหน้ากว่า เจริญกว่า ไม่ใช่เพื่อแสวงหาอำนาจหรือปล้นสะดมซึ่งเป็นส่วนประกอบของการล่าอานานิคม แต่ในนามของอุดมคติที่สูงส่ง
มายาคติที่ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างอารยธรรม
เหตุที่สอง(#2):ระบอบเผด็จการ
ระบอบเผด็จการจะอ้างความชอบธรรมทางประวัติศาสตร์เพื่อก่อสงครามรุกรานเอาดินแดนเพิ่ม พร้อมกับแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญ โดยเบี่ยงเบนความสนใจปัญหาเศรษฐกิจของประชาชนให้หันไปคิดเรื่องชาตินิยมและยอมออกไปรบเพื่อปกป้องแผ่นดินเกิดโดยก้าวข้ามความคิดเรื่องมนุษยธรรม
วัฒนธรรมพัฒนาไปสองทิศทาง
ทางไหนคือความชอบธรรม อาจไม่สำคัญเท่า
"อะไรคือความเป็นไปได้"
แม้ว่าคนเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ถอนตัวไม่ขึ้น ซึ่งเป็นเหตุสนับสนุนชนวนหนึ่งที่ทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากร
เมื่อโลกเจริญมาถึงยุคคนคิดถึงอนาคตที่จะไปสำรวจดาวอังคารเพื่อเตรียมไว้เป็นบ้านที่สองของมนุษย์
แต่ ทำไมมนุษย์
ยังคงต้องแย่งชิงกันเหมือนคนโบราณในยุคชนเผ่า
มายาคติที่ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างอารยธรรม
เหตุที่สาม(#3):เพราะยังมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์
ได้กระตุ้นสัญชาตญาณยุคชนเผ่าให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกและเป็นเหตุสนับสนุนอีกชนวนหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากร
เมื่อเหตุที่ทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรทั้งสามชนวนรวมเข้าประกอบกัน คนจะก้าวข้ามความชอบธรรม
ทำให้ คนกลายเป็นสัตว์สงคราม ?
โลกอยู่ในช่วง Great Reset Age:2020-2030
ช่วงปัจจุบัน 2023-2027:โลกอนิจจังด้วยธรรมชาติของสรรพสิ่งประกอบด้วยสิ่งที่เป็นคู่ตรงข้าม เมื่อความความขัดแย้งที่ถึงพร้อม จึงนำสู่สมดุลใหม่ที่ตอบสนองต่อบริบทแวดล้อมแบบใหม่ ไปได้เรื่อยๆ
เป็นความหลากหลาย ความมีชีวิตชีวาที่ไม่หยุดนิ่ง และเสน่ห์ของแต่ละวัฒนธรรม นับวันจะผสมผสานกันมากขึ้นในโลกที่แคบลงด้วยพรมแดนระหว่างวัฒนธรรมที่เลือนลางลงไปเรื่อยๆ
หลวงพ่อชา สอนเรื่องคนเกิดมายังไม่เป็นมนุษย์ผู้มีจิตใจสูง คนแรกเกิดมาเป็นปุถุชนคนกิเลสหนามีพฤติกรรมไม่ต่างจากสัตว์ ต่อเมื่อได้รับการอบรมยกระดับจิตใจให้สูงกว่าสัตว์เพิ่อเป็นมนุษย์ผู้มีศีลไว้คุ้มครองตนและทำให้คนในสังคมอยู่รวมกันบนแผ่นดินธรรม มีความอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีการเบียดเบียนกัน
หลวงพ่อชา สอนให้อยู่อย่างพรหม
หลวงพ่อชา สอนให้คนปฏิบัติพรหมวิหารสี่ เมตตาปรารถนาให้คนอื่นมีความสุข กรุณาช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์ อุเบกขาพิจารณาคิดวิเคราะห์ด้วยใจที่เป็นธรรม มุทิตาพลอยยินดีกับผู้ได้มีหน้ามีตา
หลวงพ่อชา สอนให้คนปฏิบัติพรหมวิหารสี่ เมตตาปรารถนาให้คนอื่นมีความสุข กรุณาช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์ อุเบกขาพิจารณาคิดวิเคราะห์ด้วยใจที่เป็นธรรม มุทิตาพลอยยินดีกับผู้ได้มีหน้ามีตา
ถ้ามีมหาปราชญ์ที่ทำให้
คนอยู่รวมกันด้วยพรหมวิหารสี่
สังคมจะออกจากกับดักมายาคติที่ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างอารยธรรม
มหาปราชญ์ที่เหนือกว่าปราชญ์ทั้งปวง
คนที่ขงจื้อยอมรับและกล่าวถึงว่าเป็นมหาปราชญ์ที่เหนือกว่าปราชญ์ทั้งปวงคือสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นที่เคารพอย่างยิ่งของชาวชมพูทวีป ขงจื้อให้เหตุผลในการยอมรับดังกล่าวว่า
"สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านล้างมือจากการเมืองการปกครอง ท่านไม่พูดพล่าม ไม่เคยพูดถึงความดีความชอบของตน แต่ประเทศชาติและประชาชนให้ความเคารพยกย่อง ความยิ่งใหญ่ของพุทธะ ไม่สามารถพรรณนาได้เป็นภาษาพูด"
นี่เป็นสิ่งยิ่งใหญ่จริงๆ เพราะตัวขงจื้อเองยังทำไม่ได้
เพราะชีวิตของท่านต้องผ่านการเป็นผู้ตัดสิน ต้องผ่านการปกครองการเมือง แล้วจึงเร่ร่อนสอนจริยธรรมแก่ผู้คน ในระหว่างที่ท่านมีชีวิตอยู่ คนยังไม่สู้เลื่อมใสท่าน เพราะคิดว่าท่านหวังผลทางการเมือง เมื่อท่านสิ้นชีวิตไปแล้วนั่นแหละจึงรู้ว่าท่านต้องการสั่งสอนชาวบ้านทั่วแผ่นดินให้มีระเบียบและความรู้โดยบริสุทธิ์ใจ
โฆษณา