23 พ.ย. 2023 เวลา 11:33 • หุ้น & เศรษฐกิจ

“วิกฤติสงคราม” แรงผลักสำคัญของวงการพลังงาน

ในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมานี้ โลกของเราได้ก้าวเข้าสู่ความโกลาหลมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องของ “วิกฤติสงคราม” และความขัดแย้งระหว่างประเทศ ที่ทยอยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเราสามารถเห็นได้จากวิกฤติใหญ่ ๆ อย่าง
- วิกฤติความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่ลากยาวมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2565
- วิกฤติความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ ที่ปะทุความรุนแรงมากขึ้น
- รวมถึงวิกฤติสงครามกลางเมืองต่าง ๆ ในหลายประเทศ เช่น อัฟกานิสถาน เป็นต้น
แต่เชื่อหรือไม่ว่า ผลกระทบจากการเกิดวิกฤติต่าง ๆ เหล่านี้ กลับกลายเป็นตัวเร่งให้ “วงการพลังงาน” เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว บนสมมติฐานการวิเคราะห์ 3 เหตุผลสำคัญ คือ
1). “พลังงานดั้งเดิม” กลายเป็นทรัพยากรหลักของการทำสงคราม
1
ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา “พลังงานดั้งเดิม” อย่างน้ำมันดิบ หรือก๊าซธรรมชาติ ถือเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญ สำหรับการคงไว้ซึ่งความมั่นคงและอำนาจ ของหลายประเทศ รวมทั้งเป็นกุญแจสำคัญต่อการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต และการเจรจาระหว่างประเทศอีกด้วย
นอกจากนี้ จากการอ้างอิงบนงานวิจัยของวารสาร Global Policy โดย Michael C. LaBelle ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา ได้มีการบอกเล่าว่า ทรัพยากรดั้งเดิม โดยเฉพาะ “น้ำมัน” คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนยุทธการทางทหาร และยังสามารถใช้ในเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนสำหรับการสร้างงบประมาณทางการทหารในช่วงวิกฤติได้อีกด้วย
นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม รัสเซียถึงได้เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันกว่า 3.4% รวมถึงเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลอีกถึง 4.5% ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่วิกฤติความขัดแย้ง ระหว่างรัสเซียและยูเครน ตามการอ้างอิงของสำนักข่าว Sputnik International เมื่อช่วงวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
2). ประเทศต่าง ๆ เริ่มแก้เกมเพื่อส่งออกและนำเข้า “พลังงานดั้งเดิม” มากขึ้น
แน่นอนว่าเมื่อเกิดวิกฤติความขัดแย้งที่รุนแรง จนนำไปสู่สงคราม เรามักจะเห็นได้ถึงการเคลื่อนไหวของประเทศพันธมิตรต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มมหาอำนาจของโลก เช่น การออกแถลงการณ์ต่าง ๆ หรือ “การประกาศนโยบายการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ” ต่อประเทศคู่กรณี เป็นต้น
1
เช่น การที่สหภาพยุโรป (EU) อนุมัติในการออกมาตรการ “คว่ำบาตรรัสเซียชุดที่ 11” เพื่อตอบโต้การทำสงครามของรัสเซียในยูเครน ตามการประชาสัมพันธ์ของ European Commission เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2566
1
ซึ่งสำหรับรัสเซียเอง ที่เป็นหนึ่งในผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก การถูกคว่ำบาตรนั้นถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก
แต่รัสเซียเองก็ยังสามารถหาช่องทาง ในการหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตร เพื่อส่งออกน้ำมันไปสู่ประเทศต่าง ๆ ได้อย่างสม่ำเสมอ
เช่น ในช่วงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา ตามการรายงานของสำนักข่าว Financial Times ที่รายงานว่า รัสเซียประสบความสำเร็จในการหาช่องทาง ขนส่งน้ำมันดิบ ทางทะเลด้วยอัตราส่วน 3 ใน 4 ของการขนส่งน้ำมันดิบทางทะเลทั้งหมด โดยไม่ต้องพึ่งพาบริษัทประกันภัยในยุโรป ที่จำกัดเพดานการขนส่งเอาไว้ ซึ่งส่งผลให้รัสเซีย สามารถขายน้ำมันได้มากขึ้น และขายน้ำมันได้ราคาที่ใกล้เคียงกับตลาดโลก
1
นอกจากนี้ ฝ่ายที่ถูกคว่ำบาตรในการนำเข้าน้ำมันเอง ต่างก็มีแผนสำรอง ในการเตรียมความพร้อม สำหรับการนำเข้าน้ำมันเพิ่มมากขึ้น
เช่น อิสราเอล ที่มีโอกาสถูกคว่ำบาตรในการส่งออกน้ำมันจากอิหร่าน และพันธมิตร ซึ่งหากเกิดการคว่ำบาตรจริง ก็อาจจะไม่ส่งผลกระทบต่ออิสราเอลมากนัก เพราะอิสราเอล ยังมีการนำเข้าน้ำมัน จากผู้ผลิตในแอฟริกาตะวันตก และบราซิลในปริมาณที่สูงอยู่
อีกทั้งอิสราเอลเอง ก็ยังมีทางเลือกในการจัดหาน้ำมัน และสินค้าสำคัญอื่น ๆ จากประเทศพันธมิตรหลักอย่างสหรัฐฯ เช่นกัน ตามการวิเคราะห์ของสำนักข่าว Bloomberg เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2566
3). ประเทศฝ่ายคว่ำบาตร หันมาผลักดัน “พลังงานทดแทน” เพิ่มมากขึ้น
แน่นอนว่านับตั้งแต่วิกฤติความขัดแย้ง ระหว่างรัสเซียและยูเครนปะทุขึ้น นอกจากการออกนโยบายการคว่ำบาตรของหลาย ๆ ประเทศที่เพิ่มขึ้นแล้ว การหาแนวทางเพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางพลังงาน ก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
หนึ่งในแนวทางที่ปรับเปลี่ยนไป ก็คือ การหันไปโฟกัส “พลังงานทดแทน” ที่มากขึ้นนั่นเอง
โดยปัจจุบัน หลายประเทศที่เป็นฝ่ายคว่ำบาตรในการซื้อพลังงานดั้งเดิม ก็ได้หันมาให้ความสนใจ ในการพัฒนาพลังงานทดแทนมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน เพื่อที่จะได้ไม่จำเป็นต้องอุดหนุนพลังงานดั้งเดิม จากประเทศที่ถูกคว่ำบาตร ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งยังเป็นการสร้างความยั่งยืนทางด้านพลังงาน โดยมีแกนหลักเป็น “พลังงานทดแทน” อีกด้วย
2
เช่น ทางคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ที่ได้เสนอแผนการที่เรียกว่า “REPowerEU” ขึ้นมาทันที ในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2565 โดยมีจุดประสงค์ เพื่อลดผลกระทบจากการขาดแคลนแหล่งพลังงาน และยุติการพึ่งพาพลังงานดั้งเดิมจากรัสเซียให้ได้ ภายในปี 2573 ผ่านการเร่งสร้างเทคโนโลยีผลิตพลังงานสะอาดมากยิ่งขึ้น
(อ้างอิงจาก European Commission เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2565)
จากเหตุผลและตัวอย่างทั้งหมดจะเห็นได้ว่า พลังงานยังเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกของเราอยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นพลังงานดั้งเดิม หรือพลังงานทดแทน และยิ่งสำคัญมากขึ้น เมื่อเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจจากสงครามที่เกิดขึ้น
ซึ่งสำหรับใครที่สนใจการลงทุนในธีมพลังงาน KTAM Smart Trade ขอแนะนำ กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ เอ็นเนอร์จี ฟันด์ (KT-ENERGY)
เพราะกองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ เอ็นเนอร์จี ฟันด์ (KT-ENERGY)* คือ กองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน BGF World Energy Fund (กองทุนรวมหลัก) ซึ่งเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (Retail Fund) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV โดยกองทุนหลักจะลงทุนอย่างน้อย 70% ของ NAV ในตราสารทุนของบริษัทชั้นนำทั่วโลก ซึ่งมีธุรกิจหลักในการสำรวจ พัฒนา และจัดจำหน่ายพลังงาน และอาจลงทุนในบริษัทที่มุ่งเน้นการพัฒนา และใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทน
(ความเสี่ยงกองทุนระดับ 7)
* ข้อมูลของกองทุนล่าสุด เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2566
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของกองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ เอ็นเนอร์จี ฟันด์ (KT-ENERGY) ได้ที่ : https://www.ktam.co.th/fif-fund-detail.aspx?IdF=36
เพราะในทุกวิกฤติ หากเราลองค้นหาโอกาส และวิเคราะห์ความน่าจะเป็นให้ดี เราเองก็อาจจะได้เจอกับ “โอกาส” ที่หลบซ่อนอยู่ในวิกฤติเหล่านั้นได้เช่นกัน
ลงทุนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน KTAM Smart Trade ง่าย สะดวก ปลอดภัย
ดาวน์โหลด
สอบถามรายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนที่ ธนาคารกรุงไทย ผู้สนับสนุนการขาย หรือ บลจ.กรุงไทย โทร. 02-686-6100 กด 9
คำเตือน:
ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ: ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk)/ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร (Business Risk)/ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Risk)/ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน (Country Risk) เป็นต้น
กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรืออาจจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
References :
โฆษณา