6 ธ.ค. 2023 เวลา 18:05 • ปรัชญา
เริ่มจากเข้าใจคำว่า “ธรรมะ” ก่อนค่ะ
ตั้งแต่เกิดจนตาย
ร่างกายของเรามีสองสภาวะหลัก ๆ
คือ ตื่น กับ หลับ
1
จิตใจก็เช่นกัน
1
ร่างกายตื่นเมื่อได้รับแสงสว่าง
ส่วนจิตนั้นตื่นเมื่อมี “ความรู้” เกิดขึ้น
1
เราจึงมักเรียกสภาวะดังกล่าวว่า “ตื่นรู้”
1
ความรู้ที่ทำให้จิตตื่นนั้นมีหลายอย่าง 
อย่างแรกคือ ความรู้ตัว
1
เมื่อใดที่รู้ตัว
จิตก็หลุดจากความหลงที่ครอบงำ 
ไม่ว่าหลงเข้าไปในความคิด
หรือหลงไปติดอยู่ในอารมณ์
อาทิ ความโกรธ ความเกลียด ความเศร้า
1
ความหลงดังกล่าวสามารถบงการจิต
ให้ถลำลึกหรือจมดิ่งอยู่ในความทุกข์
ราวกับฝันร้ายในยามหลับใหล
1
แต่ทันทีที่รู้สึกตัว 
จิตก็พลันตื่น สดชื่น เบิกบาน
และโลกก็พลันสว่าง สดใส
ไม่หม่นหมองอีกต่อไป
1
ความหลงที่ครอบงำจิต
นอกจากความคิดและอารมณ์ที่ทำให้ลืมตัวแล้ว
ยังได้แก่มายาคติเกี่ยวกับชีวิตและโลก
1
เช่น  ความเชื่อว่าคนเราเกิดมา
เพื่อตักตวงความสุขใส่ตนให้มากที่สุด 
เงินทองและอำนาจคือสรณะของชีวิต 
ความยากจนเกิดจากบาปกรรมในอดีตชาติ  ธรรมชาติและทรัพยากรทั้งหลายในโลก
มีเพื่อปรนเปรอความต้องการของมนุษย์สถานเดียว ฯลฯ รวมทั้งอคติเกี่ยวศาสนา ชาติพันธุ์   
เพศสภาวะ วัฒนธรรม อุดมการณ์
ที่ทำให้เกิดความรังเกียจ
เหยียดหยามคนที่ต่างจากตน
1
ใครที่หลุดจากมายาคติดังกล่าว
เพราะมีความรู้หรือระบบคุณค่าอีกชุดหนึ่งที่ดีกว่ามาแทนที่
1
ย่อมเกิดอาการ “ตาสว่าง”
1
เสมือนตื่นจากหลับ
เพราะได้เห็นชีวิตและโลกต่างจากเดิม
ช่วยให้ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า เปี่ยมสุข
ไม่รู้สึกว่างเปล่าร้อนรุ่มดังแต่ก่อน 
รวมทั้งมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นเกื้อกูลกับผู้อื่น
และโลกภายนอกมากขึ้น
1
ความตื่นรู้หรืออาการตาสว่างดังกล่าวข้างต้น
เป็นความเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติหรือจิตสำนึก
1
ซึ่งอาศัยการใคร่ครวญ ไตร่ตรอง
หรือการใช้ความคิดเป็นสำคัญ
1
ขณะที่ความรู้ตัวนั้น
เป็นการตื่นรู้ที่มิได้เกิดจากความคิดหรือใคร่ครวญ
1
แต่เกิดจากการฝึกฝน
หรือความเปลี่ยนแปลงทางจิต
เช่น มีสติรู้ทันความคิดและอารมณ์
หรือมีสมาธิจนจิตตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่มากระทบ
1
ความรู้ประการที่สามก็คือ
ความรู้หรือการ “เห็นความจริง”
1
ความจริงที่ว่า
มิใช่ความจริงเกี่ยวกับโลกภายนอก
แต่เป็นความจริงเกี่ยวกับตนเอง 
ซึ่งแยกไม่ออกจากความจริงของสรรพสิ่ง
1
ความจริงชนิดนี้ไม่ได้เกิดจากการคิด
แต่เกิดจากการประจักษ์แจ้งด้วยใจ
ผ่านการพิจารณาหรือพินิจ
ความเป็นไปของกายและใจอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งการรับรู้สรรพสิ่งรอบตัวด้วยใจที่เป็นกลาง จนเห็นธรรมชาติของสิ่งเหล่านั้นตามความเป็นจริง
มิใช่ตามความอยาก
1
ความรู้หรือการเห็นความจริงดังกล่าว
ถึงที่สุดย่อมทำให้เกิดปัญญาสว่างโพลง
จิตกระจ่างแจ้งในสัจธรรม
ทำให้ตื่นอย่างแท้จริง
คือหลุดจากความหลงที่สำคัญที่สุด
อันได้แก่อวิชชา
1
ความตื่นรู้ดังกล่าว
ย่อมทำให้เส้นแบ่งระหว่างตัวฉันกับสรรพสิ่ง
มลายหายไป
1
ในด้านหนึ่งก็เพราะ “ตัวกู” นั้นหายไป
หรือพูดให้ถูกก็คือ
ไม่มีความยึดติดถือมั่นในตัวกูอีกต่อไป
1
ในอีกด้านหนึ่ง
ก็เห็นถึงความเชื่อมโยง
เป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง 
ไม่มีการแบ่งเขาแบ่งเรา
หรือแบ่งแยกเป็นมนุษย์ สัตว์
และธรรมชาติอีกต่อไป
1
สรรพสิ่งล้วนเป็นหนึ่งเดียว
 ต่างกันก็แต่ชื่อเรียก
ซึ่งเป็นสมมุติเท่านั้น
1
แม้จะยังก้าวไม่ถึงความตื่นรู้ประการที่สาม
1
เพียงแค่ความตื่นรู้ประการแรก
คือความรู้ตัว
1
หากเกิดขึ้นกับเรา
อย่างน้อยก็ช่วยให้เห็นถึงความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างกายกับใจ
และระหว่างสมองกับหัวใจได้มากขึ้น
1
ขณะที่ความตื่นรู้ประการที่สอง
ย่อมส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียว
ระหว่างเรากับผู้อื่นได้มากขึ้น
นำไปสู่การร่วมมือและการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แทนที่จะแข่งขัน
หรือมุ่งเอารัดเอาเปรียบกัน
1
ความตื่นรู้นั้นมีชื่อเรียกต่างกัน
ถ้อยคำที่ใช้บรรยายสภาวะก็แตกต่างกันไปด้วย  จึงไม่ควรให้ความสำคัญกับถ้อยคำมากนัก
1
ขณะเดียวกันวิถีสู่ความตื่นรู้ก็มีมากมายหลายหลาก  ดังเห็นได้จากเรื่องเล่าของ ๔๐ บุคคลในหนังสือเล่มนี้  ซึ่งล้วนมีภูมิหลัง ประสบการณ์ เพศ วัยที่แตกต่างกัน
1
สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งก็คือ 
หลายท่านสัมผัสกับภาวะตื่นรู้
หลังจากที่ประสบความทุกข์หรือวิกฤตในชีวิต
1
อาจเป็นเพราะความทุกข์
ทำให้เกิดการตั้งคำถามกับวิถีชีวิตที่ผ่านมา
1
รวมทั้งทัศนคติที่เคยยึดถือ
หรือเป็นเพราะความทุกข์
ผลักดันให้ต้องหาแสวงหาหนทางใหม่ ๆ
ที่เคยมองข้ามเมื่อครั้งยังมีความสุข
และความสำเร็จ
1
หรือเป็นเพราะความทุกข์นั้น
ทำให้หันมาใคร่ครวญตนเอง
จนเห็นเหตุแห่งทุกข์ว่า
1
แท้จริงแล้วอยู่ที่ใจของตนนี้เอง
ไม่ได้อยู่ที่ไหนเลย
ทำให้เห็นคำตอบว่า
จะหลุดจากทุกข์ได้
ต้องปรับเปลี่ยนแก้ไขที่ใจของตนเอง
ยิ่งกว่าอะไรอื่น
1
มองในแง่นี้ความตื่นรู้กับความทุกข์
จึงเป็นสิ่งที่แยกจากกันได้ยาก
1
ไม่ผิดหากจะกล่าวว่าไม่มีความทุกข์
ความตื่นรู้ก็ไม่เกิด 
ดังท่านติช นัท ฮันห์ กล่าวไว้อย่างไพเราะว่า
  No Mud , No Lotus 
(ไม่มีโคลนตม ก็ไม่มีดอกบัว)
1
หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้ผู้อ่าน
เห็นหนทางสู่ความตื่นรู้
รวมทั้งเกิดความเพียรในการปฏิบัติ
เพื่อสร้างความตื่นรู้ให้เกิดขึ้นแก่ตนในเร็ววัน
1
พระไพศาล วิสาโล
วันมหาปวารณา
๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๒
1
" ผู้ที่เข้าใจธรรมะ ก็เข้าใจตัวเอง
ใครเข้าใจตัวเอง ก็เข้าใจธรรมะ
1
ทุกวันนี้ ก็เหลือแต่เปลือกของธรรมะ เท่านั้น
ความเป็นจริงแล้ว ธรรมะมีอยู่ทุกหน ทุกแห่ง
ไม่จำเป็นที่จะต้องหนีไปไหน
1
ถ้าจะหนี
ก็ให้หนีด้วยความฉลาด ด้วยปัญญา
หนีด้วยความชำนิชำนาญ อย่า หนีด้วยความโง่
ถ้าเราต้องการความสงบ
ก็ให้สงบด้วยความฉลาด ด้วยปัญญาเท่านั้นก็พอ
1
เมื่อใด ที่เราเห็นธรรมะ
นั่นก็เป็น สัมมาปฏิปทาแล้ว
1
กิเลส ก็สักแต่ว่ากิเลส
ใจ ก็สักแต่ว่าใจ
เมื่อใดที่เราทิ้งได้ ปล่อยวางได้ แยกได้...
เมื่อนั้น...มันก็เป็นเพียงสิ่งสักว่า
เป็นเพียงอย่างนี้ อย่างนั้น...สำหรับเราเท่านั้นเอง
1
เมื่อเราเห็นถูกต้องแล้ว
ก็จะมีแต่ความปลอดโปร่ง
ความเป็นอิสระตลอดเวลา
1
พระพุทธองค์ตรัสว่า...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านอย่ายึดมั่นในธรรม
1
ธรรมะ คืออะไร ?
คือ...ทุกสิ่งทุกอย่าง
1
ไม่มี อะไรที่ไม่ใช่ ธรรมะ
1
ความรัก ความเกลียด ก็เป็นธรรมะ
ความสุข ความทุกข์ ก็เป็นธรรมะ
ความชอบ ความไม่ชอบ ก็เป็นธรรมะ
1
ไม่ว่า...
จะเป็นสิ่งเล็กน้อยแค่ไหน ก็...เป็นธรรมะ."
1
หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง.
ข้อมูลจากเพจวัดพระธาตุขุนบง
1
หลายคนคิดว่า...
พอมาปฏิบัติธรรมแล้วชีวิตราบรื่น
ไร้อุปสรรค ปัญหา..
ทำแต่ความดี แล้วจะเจอสิ่งดีๆ เสมอไป
1
ในความเป็นจริงแล้ว..
เราไม่มีทางเจอแต่สิ่งดีงามเสมอไป
เพราะพื้นเพของเดิม
เราย่อมกระทำกรรมดีบ้าง กรรมชั่วบ้าง สลับกันไป เราไม่อาจปฏิเสธสิ่งที่เราเคยกระทำไว้ได้
1
แต่การที่เรามาปฏิบัติธรรม..
ก็เพื่อให้เรามีสติ
1
มองเห็นการได้มา การเสื่อมไป
มองเห็นสิ่งที่ได้ดั่งใจบ้าง ไม่ได้ดั่งใจบ้าง
ให้เรามีสติทันต่อสิ่งที่มากระทบ
ให้เราได้เข้าใจในสิ่งที่เป็นของของโลกว่า..
1
“ทุกอย่างล้วนชั่วคราว "
สิ่งต่างๆ หมุนวนสลับสับเปลี่ยนไป
ตามเหตุ ตามปัจจัย
1
แม้เราจะมีสติทันบ้าง ไม่ทันบ้าง..
นั่นก็ไม่แปลกด้วยวิสัยปุถุชน
แต่เราต้องเพียร ต้องฝึกฝน
เพราะไม่มีใครนั่ง นอนอยู่เฉยๆ
แล้วจะเชี่ยวชาญสิ่งใด สิ่งหนึ่งขึ้นมาได้
1
เราควรอาศัยสิ่งที่เราพบเจอในชีวิตประจำวัน
เป็นตัวฝึกสติของเรา
1
ไม่มีแบบฝึกหัดใด
จะดีไปกว่าเรื่องราวที่เราได้พบเจอ
1
เรื่องของคนอื่น
มันก็ไม่สุข ไม่ทุกข์เท่าเรื่องของเรา
1
#ณสติจับใจ
1
ลองตั้งคำถาม ศึกษาและค่อยๆหาคำตอบไปนะคะ
1
การฝึกสมาธิจะช่วยให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น
1
สิ่งสำคัญคือความเพียร
1
ขอให้เจริญในธรรมค่ะ:)
1
โฆษณา