17 ธ.ค. 2023 เวลา 06:34 • ประวัติศาสตร์
ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส ตอนที่ 5 ประชาชนตั้งคำถาม

หลุยส์ที่ 9 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1214 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส และพระนางบลังกาแห่งกัสติยา พระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสพระองค์เดียวที่ทรงได้รับการประกาศเป็นนักบุญ ซึ่งทำให้มีสถานที่ต่างๆ มากมายที่ตั้งชื่อตามพระองค์
หลุยส์ที่ 9 เคารพในสิทธิ์ของข้าราชบริพาร พระองค์ปฏิรูปราชสำนักขนานใหญ่ ทรงกำจัดจุดอ่อนของระบบศักดินาซึ่งไม่อนุญาตให้มีศาลสูงสุดในราชอาณาจักร ทรงสถาปนาหลักสามัญให้กษัตริย์มีสิทธิ์ในการแทรกแซงกิจการภายในของผู้อยู่ใต้การปกครอง
ทรงห้ามไม่ให้ขัดแย้งกันในราชสำนักและห้ามไม่ให้ขุนนางทำสงครามกันเอง ทรงอนุญาตให้ผู้ที่ไม่พอใจคำตัดสินของศาลท้องถิ่นมีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อศาลของกษัตริย์ จนเกิดเป็นเรื่องเล่าว่าหลังการทำมิสซาหรือพิธีบูชาขอบพระคุณพระเจ้า พระเจ้าหลุยส์จะออกจากราชสำนักไปนั่งใต้ต้นโอ๊กเพื่อรับฟังคำร้องเรียน
หลุยส์ที่ 9 พระบรมสาทิสลักษณ์ วาดโดยเอลเกรโก
ภายใต้การปกครองของหลุยส์ที่ 9 อำนาจการพิจารณาคดีของกษัตริย์เพิ่มขึ้นอย่างมาก องค์กรพิจารณาคดีกลางคือรัฐสภาฝรั่งเศสอันประกอบด้วยกลุ่มขุนนางและนักกฎหมาย การบริหารบ้านเมืองทุกแขนงอยู่ภายใต้สายตาที่จับมองของพระเจ้าหลุยส์ผู้ทำทุกวิถีทางเพื่อขยายอำนาจของกษัตริย์ ทรงเพลิดเพลินกับอิทธิพลที่มีมากมาย ภายใต้การปกครองของพระเจ้าหลุย์ได้มีการร่างประมวลกฎหมายจารีตประเพณีที่ประกาศใช้ในรัชสมัยของพระองค์
พระเจ้าหลุยส์ปกป้องผลประโยชน์ของฝรั่งเศสจากการอ้างสิทธิ์ของโรม นักบวชฝรั่งเศสอยู่ข้างพระเจ้าหลุยส์และเอนเอียงอยู่ฝั่งอำนาจทางโลกมากกว่าสมเด็จพระสันตะปาปา ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1269 พระเจ้าหลุยส์ประกาศคว่ำบาตรในทางปฏิบัติเพื่อคุ้มครองเอกราชของศาสนจักรฝรั่งเศสจากโรม ทรงล้มเลิกข้อเรียกร้องทางการเงินและเลิกบริจาคเงินให้แก่ราชสำนักโรม ในช่วงแห่งความขัดแย้งระหว่างจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งราชวงศ์โฮเอินชเตาเฟินกับสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 4 พระเจ้าหลุยส์ประณามการกระทำของพระสันตะปาปาอย่างเปิดเผย
ภาพพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 กำลังพิจารณาคดีความใต้ต้นโอ๊กแห่งแว็งซ็อง โดยปิแอร์-นาร์ซีส เกแร็ง ค.ศ. 1816
ในปี 1263 ระบบเงินตรามีประสิทธิภาพมาก เหรียญที่ออกโดยพระมหากษัตริย์ถูกใช้อย่างแพร่หลายในฝรั่งเศส หลุยส์ที่ 9 รักหนังสือและงานศิลป์ พระองค์ถูกเรียกว่าเพริคลีสแห่งสถาปัตยกรรมสมัยกลาง ทรงก่อตั้งวัดคริสต์หลายแห่ง ได้แก่ อาสนวิหารแร็ง โบสถ์แซ็งต์ชาแปลในปารีส อารามโรโยโมน เป็นต้น พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 เสด็จสวรรคต ระหว่างการเดินทางไปสงครามครูเสดครั้งที่ 8 เรียกได้ว่า พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ได้ทำบัลลังมั่นคงและอำนาจเป็นของกษัตริย์อย่างแท้จริง
ภายใต้การปกครองที่อำนาจร่วมศูนย์อยู่ที่กษัตริย์ กษัตริย์มีอำนาจชี้นำประเทศได้อย่างเต็มที มีกรอบระยะเวลา ค.ศ.1226 ถึง ค.ศ.1643 ซึ่งเป็นยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งราชวงศ์บูร์บง ทรงครองราชย์นานถึง 72 ปี นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก
เหรียญในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ด้านหน้าและด้านหลัง
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เริ่มครองราชย์หลังการเสียชีวิตของกาลิเลโอ กาลิเลอี หมายความว่าช่วงของการครองราชย์ของหลุยส์ที่ 14 อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของยุคการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (The Scientific Revolution)และตามมาด้วยยุคตื่นรู้ (The Age of Enlightenment) คือยุคที่ประชาชนเริ่มตั้งคำถามเชิงวิพากษ์วิจารณ์ต่อความรู้ความเข้าใจที่มีมานับพันปีและเริ่มตั้งคำถามต่อศาสนาจักร เช่น การตั้งคำถามว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลหรือเปล่า ได้รับรับคำตอบว่าคริสตจักรนั้นคิดผิด
เป็นการท้าทายอำนาจของคริสตจักรคาทอลิกผู้มีอำนาจที่สุดในแผ่นดินยุโรป และการตั้งคำถามทางการเมืองตั้งแต่ จอห์น ล็อก (John Locke) นักปรัชญา ชาวอังกฤษ ที่เริ่มด้วยคำถาม รัฐอันทรงพลังและอันคือความชอบธรรมต่ออำนาจของผู้ปกครอง แนวความคิดนี้เริ่มก่อตัวขึ้นก่อนรัชสมัยของหลุยส์ที่ 14 เล็กน้อย
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14
แต่แนวความคิดเหล่านี้ไม่สามารถสั่นสะเทือนบัลลังของหลุยส์ที่ 14 ได้เพราะพระองค์สถาปนาตัวเองเป็นสุริยกษัตริย์ และพระองค์ทรงใช้กำปั้นเหล็กในการปกครองอำนาจของพระองค์แถบจะตลอดรัชสมัยอันยาวนาน 72 ปี ช่วงแรกที่พระองค์ยังพระเยาว์ พระองค์จะมีผู้สำเร็จราชการ แต่หลังจากที่พระองค์มีพระชนมายุ 18 ปี พระองค์ก็บริหารราชกิจด้วยพระองค์เอง
ในรัชสมัยของหลุยส์ที่ 14 ทรงใช้กำปั้นเหล็กในการกำจัดศัตรูทางการเมืองและผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์แนวทางการปกครองของพระองค์ ทำให้คำวิพากษ์วิจารณ์นั้นไม่เคยปรากฏสู่สาธารณชนฝรั่งเศส ก่อนที่แรงกดดันต่างๆผ่านคำวิพากษ์วิจารณ์นั้นจะค่อยๆถูกแสดงตัวในรัชสมัยต่อมา ก็คือพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ซึ่งเป็นหลานของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ทรงครองราชย์ตั้งแต่อายุ 5 ขวบ และครองราชย์มายาวนานอีก 59 ปี ดังนั้นไม่น่าแปลกใจ ที่นักคิดทางการเมืองและความคิดเห็นทางการเมืองหลายๆคน ไม่ว่าจะเป็นสายอังกฤษ จอห์น ล็อก สายฝรั่งเศส มงแต็สกี เยอ (montesquieu) วอลแตร์ (François-Marie Arouet) และนักคิดทางการเมืองสวิส ฌ็อง-ฌัก รูโซ (Jean-Jacques Rousseau) จะค่อยๆปรากฏอิทธิพลในสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15
วอลแตร์ (François-Marie Arouet)
อย่างที่ทุกคนทราบฝรั่งเศสนั้นก็เหมือนชาติใหญ่ๆในยุโรปที่จะมีอาณานิคมหลายที่ และที่อเมริกานี้ก็ถือว่าฝรั่งเศสเป็นเจ้าอาณานิคมที่ใหญ่ของทวีปอเมริกาตอนเหนือ ชือว่า ลุยเซียนา (Louisiana) ซึ่งจะมีพื้นที่ติดกันกับ สิบสามอาณานิคม (13 colonies) ของอังกฤษ พื้นที่เมืองขึ้นของฝรั่งเศสที่อเมริกามีชื่อ ลุยเซียนา เพราะตั้งเพื่อเป็นเกียรติกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
ในยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 เรียกได้ว่าเป็นยุคของการตั้งคำถาม เกี่ยวกับสังคมฝรั่งเศสและการปกครองเริ่มก่อตัว เหตุการณ์ที่จะมีคนมารวมตัวกันเพื่อวิพากษ์วิจารณ์เรื่องต่างๆจะมีให้เห็นได้ตัวไปในปารีส การรวมตัวนี้ จะร่วมพูดคุยกันในห้องเล็กๆทีเรียกว่า ซะโลน (Salon) เป็นห้องที่จะร่วมตัวกันเพื่อพูดคุย
ซะโลน (Salon) ห้องที่เป็นการพบปะกันหรือการรวมตัวกันของผู้นำทางความคิด
อีกหนึ่งสิ่งที่แตกต่างจากยุคก่อนก็คือ แท่นพิมพ์ ในยุคก่อนๆแท่นพิมพ์จะมีหน้าที่แค่พิมพ์หนังสือแต่มีวิวัฒนาการสิ่งพิมพ์รูปแบบใหม่ สิ่งที่เล็กและเบากว่าหนังสือ คือหนังสือพิมพ์และเริ่มมีจุลสารเผยแพร่แล้ว ความคิดของนักคิดทางการเมืองสามารถเผยแพร่อยู่ประชาชนได้เร็วขึ้น
แต่ด้วยกำปั้นเหล็กของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 นี้ทำให้การเผยแพร่ความคิดของนักคิดเหล่านี้ไม่ได้เผยแพร่ไปอย่างรวดเร็ว บวกกับวิวัฒนาการของหนังสือพิมพ์นี้เกิดขึ้นที่อังกฤษไม่ใช่ฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสตามหลังในเรื่องของข่าวสาร
ในช่วงเวลานั้นมีนักคิดทางการเมืองที่ชื่อ วอลแตร์ ถูกพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 เนรเทศไปอยู่ที่อังกฤษ วอลแตร์ได้ไปสังเกตุ จุดยืนและการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองของอังกฤษ แล้วได้นำสิ่งเหล่านี้มาเล่าสู่กันฟังที่ฝรั่งเศส แนวความคิดที่ถูกตีพิมพ์ไม่ได้มีอิทธิพลแค่ในอังกฤษและฝรั่งเศสเท่านั้น แต่ยังได้มีการเผยแพร่ไปที่ทวีปอเมริกาอาณานิคมของบริติช อังกฤษกันด้วย
พระเจ้าหลุยส์ที่ 15
หนึ่งในบทความที่ทรงอิทธพลก็คือ จิตวิญญาณแห่งกฎหมาย(ภาษาฝรั่งเศส อ่านว่า เดอแลสพรีเดลัว De l'esprit des loix) ของมงแต็สกีเยอ ถูกเผยแพร่ในกลุ่มผู้มีอิทธิพลของบริติชอเมริกา เช่นในกลุ่มของ จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) ทอมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) และสิ่งนี้เองก็กลายเป็นเมล็ดพันธ์เติบโตนำไปสู่การต่อสู้เพื่อประกาศเอกราชจากอังกฤษ
ด้วยการบริหารการคลังที่ผิดพลาดในยุคพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 การทำสงครามหลายครั้งทำให้ประชาชนเริ่มอดอยาก พวกเขาเริ่มตั้งคำถามต่อระบบการปกครองเดิม หรือที่เรียกว่า การปกครองที่มีการรวมศูนย์กลางอำนาจ (Ancien Regime) การบริหารภาษีที่ไม่เป็นธรรมต่อชนชั้นกลางร่วมถึงชนชั้นล่างด้วย
จิตวิญญาณแห่งกฎหมาย(ภาษาฝรั่งเศส อ่านว่า เดอแลสพรีเดลัว De l'esprit des loix) ของมงแต็สกีเยอ
ฌ็อง-ฌัก รูโซ เป็นนักคิดทางการเมืองที่จะลงชื่อท้ายบทความไว้ว่า พลเมืองแห่งเจนีวา เจนีวาเป็นเมืองที่ปกครองแบบสาธาณรัฐดังนั้นความคิดทางการเมืองของเขาแตกต่างไปจากสิ่งที่สังคมฝรั่งเศสคุ้นเคยค่อนข้างมาก หนังสือของรูโซมีหลายเล่ม เช่น เล่มแรกบทสนทนาเกียวกับการกำเนิดของความไม่เท่าเทียมระหว่างมนุษย์ เล่มที่สองสัญญาประชาคมว่าด้วยสิทธิทางการเมืองซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1672 บทความนี้เป็นเหมือนการวางฐานเริ่มต้นทางความคิดว่า
รัฐคือผู้ที่มีสิทธิปกครองเพราะประชาชนนั้นยินดีที่จะมอบอำนาจให้และวางอยู่บนรากฐานของสัญญาอำนาจนั้นมีที่มาอย่างชอบธรรม
ฌ็อง-ฌัก รูโซ
เล่มที่ 3 คำสารภาพ เขียนขึ้นระหว่างปี ค.ศ.1765-1769 แต่ดีพิมพ์ ค.ศ.1782 จะมีวลีที่บันลือโลกก็คือ
ถ้าไม่มีขนมปัง ก็ไปกินขนมเค้กซิ
ฌ็อง-ฌัก รูโซ
ฌ็อง-ฌัก รูโซ
จากนักเขียนเมืองสวิส ถูกส่งต่อความคิดไปสู่ฝรั่งเศสที่การเมืองกำลังคุกกรุ่น รัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 สิ้นสุดในปี ค.ศ.1774 ในปีนี้ได้เกิดความวุ่นวายในทวิปอเมริกา สิบสามอาณานิคม (13 colonies) ของอังกฤษ ณ เวลานั้นผู้นำของ สิบสามอาณานิคม คือ นายพลจอร์จ วอชิงตัน เริ่มต้นแข็งข้อต่อจักรวรรดิอังกฤษ และเริ่มประกาศตัวเป็นเอกราช
แล้วนโยบายของฝรั่งเศสคือการค้านดุลอำนาจกับอังกฤษ เมื่อสิบสามอาณานิคมแข็งข้อต่อจักรวรรดิอังกฤษถือเป็นโอกาส ราชสำนักที่ปารีสตัดสินใจให้การสนับสนุนกองกำลังของนายพลจอร์จ วอชิงตัน (Continental Army)
ณ เวลานั้นบุคคลที่สำคัญของฝรั่งเศสที่เข้าไปให้ความช่วยเหลือก็คือ ฌีลแบร์ ดูว์ มอตีเย (Gilbert Du motier) และ กิลเบิร์ต ดู โมติเยร์ มาร์ควิส เดอ ลาฟาแยตต์ (Marquis De Lafayette) แน่นอนว่าการสงครามต้องใช้เงินมหาศาลแล้วการประกาศเอกราชเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1776 แต่กว่าที่สหรัฐอเมริกาจะได้รับเอกราชพิชิตจักรวรรดิบริติชสำเร็จใช้เวลาต่อมาอีก 7 ปี สิ้นสุดในปี ค.ศ.1783 ราชสำนักบูร์บงใช้งบประมาณมหาศาลกับการสงครามนี้
ฌีลแบร์ ดูว์ มอตีเย (Gilbert Du motier) และ กิลเบิร์ต ดู โมติเยร์ มาร์ควิส เดอ ลาฟาแยตต์ (Marquis De Lafayette) ตามลำดับ
มันเป็นการซ้ำเติมปัญหาการคลังให้กับฝรั่งเศส ถึงแม้ว่าในเวลานั้นฝรั่งเศสจะมีฐานอำนาจทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปแล้วก็ตาม ใหญ่กว่าจักรวรรดิบริติชถึง 2 เท่าตัว เมื่อราชสำนักฝรั่งเศสเจอปัญหาการเงินไม่พอใช้บวกกับการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยของราชสำนักปารีส สิ่งเหล่านี้เป็นชนวนของปัญหาก่อนที่จะเกิดวิกฤตครั้งยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา
ติดตามตอนต่อไป

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา