21 ธ.ค. 2023 เวลา 07:39 • สุขภาพ
โรงพยาบาลเอกชัย

การรับประทานอาหารชนิดเดิมๆ ซ้ำๆ จะไปกระตุ้นการอักเสบในร่างกาย เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคภูมิแพ้อาหารแฝง

💬 อาการของโรคภูมิแพ้อาหารแฝง เช่น
👉 คัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง เป็นหวัดบ่อย
👉 ปวดศีรษะเรื้อรัง ไมเกรน
👉 ท้องผูก จุกเสียดแน่นท้อง
👉 ท้องเสีย ลำไส้ระคายเคือง ลำไส้อักเสบ
👉 ผื่นลมพิษเรื้อรังไม่ทราบสาเหตุ
👉 สิวเรื้อรัง
อาการเหล่านี้จะไม่แสดงอาการออกมาในทันที แต่จะเรื้อรัง จนทำให้รู้สึกรำคาญ เมื่อร่างกายไม่สามารถกำจัดส่วนประกอบของสารบางชนิดในอาหารที่มีมากเกินไปได้หมด จึงไปกระตุ้นระบบกลไกที่ทำให้เกิดการอักเสบ ให้เกิดขึ้นที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้คนส่วนมากไม่ทราบว่ามาจากการแพ้อาหารนั้นๆ ซึ่งจะต่างกับ “อาการแพ้อาหาร” ซึ่งจะมีอาการแบบเฉียบพลันทันที หรือภายใน 2 - 4 ชั่วโมง จึงแสดงปฏิกิริยาออกมา เช่น ผื่นคัน ปากบวม ตาบวม แน่นหน้าอก หรืออาจรุนแรงถึงขั้นหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตได้
ดังนั้น หากคุณมีอาการดังกล่าวข้างต้น และหาสาเหตุไม่พบ คุณอาจจำเป็นต้องตรวจหา “ภูมิแพ้อาหารแฝง” เพื่อค้นหาสาเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากอาหารที่คุณทานเข้าไปในแต่ละวัน เพื่อการหลีกเลี่ยง หรืองดเว้นชั่วคราว ซึ่งจะช่วยให้อาการกวนใจต่างๆ หายไป และจะส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของคุณในอนาคต
🌽 อาหารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้อาหารแฝง
เนื่องด้วยอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ซึ่งมีมากกว่า 200 ชนิด แต่ชนิดที่มักพบว่าเป็นสาเหตุของภูมิแพ้อาหารแฝง ได้แก่ นม และผลิตภัณฑ์จากนมทั้งหลาย เช่น ชีส โยเกิร์ต ธัญพืชที่มีกลูเตน ถั่ว นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอื่นๆ ในอาหาร หรือสารที่พบในอาหาร เช่น ผงชูรส สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เชื้อรา สีผสมอาหาร สารกันเสีย และวัตถุปรุงแต่งกลิ่นรส เป็นต้น
💉 วิธีการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง
วิธีการตรวจ คือ ใช้วิธีการเจาะเลือด
ผู้รับบริการควรนอนหลับให้เพียงพอ ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร โดยรอผลประมาณ 5 วัน และจะรายงานผลการตรวจออกมาเป็นระดับการแพ้อาหารแต่ละรายการในรูปแบบเล่มพร้อมคำแนะนำ (Nutrition Book) ซึ่งวิธีการตรวจนี้จะช่วยระบุภูมิแพ้อาหารแฝงได้ถึง 216 ชนิด
1
💊 วิธีการรักษาอาการภูมิแพ้อาหารแฝง
วิธีการรักษาที่ปลอดภัยที่สุดนั้น ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ยาอะไรเลย หากพบภูมิแพ้อาหารแฝง เพียงคุณหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แพ้ประมาณ 3 - 6 เดือนเท่านั้น หลังจากนั้นสามารถกลับไปรับประทานอาหารนั้นได้ตามปกติ ต่างจากภูมิแพ้อาหารชนิดเฉียบพลัน ที่ไม่สามารถกลับไปรับประทานอาหารชนิดที่แพ้ได้อีก
ถึงแม้ว่าจะสามารถกลับไปรับประทานใหม่ได้ ก็ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม และควรรับประทานอาหารให้หลากหลายชนิด เป็นการกระจายความเสี่ยง ทั้งในแง่การรับสารพิษตกค้าง สารปนเปื้อน รวมถึงภูมิแพ้อาหารแฝงด้วยเช่นกัน
หากสงสัยว่าตนเองมีอาการของโรคภูมิแพ้อาหารแฝง ควรเข้ามาพบแพทย์เพื่อปรึกษาและตรวจเพื่อหารายละเอียดของโรคให้ชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงอาหารนั้นๆ ถึงเเม้ว่า ภูมิเเพ้อาหารแฝง จะไม่เป็นอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต แต่ในระยะยาวก็ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของคุณได้
ปรึกษารายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ
โทร.034-417-999 ต่อ 122 สายด่วน 1715
โฆษณา