Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
27 ธ.ค. 2023 เวลา 03:00 • สิ่งแวดล้อม
"กิ้งก่าหัวสีฟ้า" กิ้งก่าขนาดใหญ่ สามารถพบในประเทศไทยตอนล่างจนถึงคอคอดกระ
กิ้งก่าหัวสีฟ้า หรือกิ้งก่าสวน ชื่อวิทยาศาสตร์: Calotes mystaceus เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562
จัดเป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ คล้ายคลึงกับกิ้งก่าหัวแดง แต่บริเวณท้ายทอยมีหนามเล็กๆยื่นออกมา 2 คู่ ในตัวเต็มวัย มีสีสันสวยงามมาก พื้นลำตัวสีน้ำตาลเข้มไล่ลงมาอ่อน ตัดกับจุดกลมสีครีม 3 จุด บริเวณข้างลำตัว ตั้งแต่หัวไล่ลงมาจนหลังมีสีฟ้าเข้มแกมเขียว หน้ามีคาดสีขาว
ถิ่นอาศัยค่อนข้างแตกต่างกับกิ้งก่าคอแดง ช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะปกป้องอาณาเขตต้นไม้และตัวเมียอย่างดุร้าย ขุดหลุมวางไข่ครั้งละ 7-8 ฟอง มักพบในป่าที่ค่อนข้างแห้ง หรือ ตามต้นไม้ริมถนน พบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ตอนล่าง และมักถูกจำสับสนกับกิ้งก่าอีกสายพันธุ์หนึ่งคือ กิ้งก่าดงคอฟ้า ซึ่งหายากกว่ามาก
ความยาวจากหัวถึงก้น 10 เซนติเมตร ความยาวจากหัวถึงปลายหาง 25 เซนติเมตร หน้าค่อนข้างสั้น มีหนามเหนือตา และเหนือแผ่นหู มีแผงหนามบนคอ และตามแนวสันหลังโดยเว้นช่วงหลังคอ ลักษณะเด่นคือมีลายแถบสีดำ รูปทรงคล้ายเพชรบริเวณคอที่เป็นช่องว่าง ระหว่างแผงหนาม ลำตัวมักมีสีน้ำตาล เทา หรือดำ สามารถเปลี่ยนสี และลวดลายได้ตามสภาพแวดล้อม
สามารถพบในประเทศพม่าตอนกลางถึงตอนล่าง ประเทศไทยจนถึงคอคอดกระ ประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม
ที่มา : อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)
#อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร #สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่9 #กรมอุทยานแห่งชาติ #ศรีสะเกษ #กิ้งก่าหัวสีฟ้า #กิ้งก่าสวน
สิ่งแวดล้อม
สื่อทางเลือก
ท่องเที่ยว
บันทึก
5
2
5
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย