27 ธ.ค. 2023 เวลา 10:29 • การศึกษา

สาเหตุคะแนนสอบ PISA ของเด็กไทยต่ำและข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา

---------------------
       พอผลคะแนนสอบ PISA ของเด็กไทยต่ำ(ต่อเนื่อง) กระทรวงศึกษาฯและโรงเรียนก็ตกเป็นจำเลยเช่นเคย ซึ่งก็คงปัดความรับผิดชอบไม่ได้
ที่จริงก็อยากมองไปถึงต้นตอของทั้งระบบ เพราะเรื่องการศึกษาบ้านเราเป็นองคาพยพใหญ่มาก มีบริบทที่แตกต่างกันมาก และที่สำคัญเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของคนทั้งสังคม ไม่ใช่กระทรวงศึกษาธิการฝ่ายเดียว
เรื่องวัฒนธรรมทางการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญมาก เราได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการศึกษามาจากตะวันตก ซึ่งบริบทของเขาต่างจากของเรา  แตกต่างจากสิงคโปร์ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ซึ่งเขามีวัฒนธรรมทางการศึกษาเป็นของตนเอง
 
      รศ.ดร.สุพักตร์ พิบูล คณบดีคณะศึกษาศาสตร์  St Therasa International College  ได้วิเคราะห์เรื่องเด็กไทยเรา PISA ต่ำ ว่าเป็นเพราะอะไร ลองอ่านดูนะ
***  สาเหตุของโอเน็ตต่ำ(หรือ PISA ต่ำ)...เนื่องจาก เด็กจบป.6 อ่านไม่ออก ไปเรียนมัธยม ก็ยังอ่านไม่ออก หรืออ่านไม่คล่อง พออายุ 15 เข้าสอบ PISA ..เด็กที่อ่านไม่คล่อง แล้วจะวิเคราะห์โจทย์ได้อย่างไร มันเลยต่ำทั้งด้านการอ่าน  คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์...สองวิชาหลังนี่ พออ่านไม่ออก อ่านไม่คล่อง ก็จะต่ำตามไปด้วย)
..สาเหตุของโอเน็ตต่ำก็เหมือนกันคือ
1) มีเด็ก ป.6 ประมาณร้อยละ 30-34  อ่านหนังสือไม่คล่องและอ่านไม่ออก..เด็กกลุ่มนี้จะดึงค่าเฉลี่ยให้ต่ำเสมอเมื่อเข้าสอบโอเน็ต
2) ผู้ที่จะทำคะแนนโอน็ตได้ดี ต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์โจทย์ แปลความ-ตีความ-ขยายความ ได้...ซึ่งผู้ที่จะทำได้แบบนี้ ต้องเป็นนักอ่านตั้งแต่ ป.4>ป.5 > ป.6  ตลอด 3 ปี(ประมาณ 1000 วัน)
รศ.ดร.สุพักตร์เสนอแนวทางพัฒนา O -NET รวมถึง PISA ไว้ว่า
...การแก้ ต้องเน้นการสร้างให้นักเรียน ป.3 อ่านเก่งทุกคน(ป.1 อ่านออก ป.2 อ่านคล่อง ป.3 อ่านเก่ง-จับใจความได้ดี  และ ป.4 เป็นต้นไป ส่งเสริมให้เขาเป็นนักอ่าน  เมื่อถึง ป.6 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์จะสูงขึ้น ตีโจทย์แตก  โอเน็ตก็จะสูงโดยอัตโนมัติ
...ถ้าเรายังหมกมุ่นอยู่กับการประกาศปีคุณภาพ และเร่งติว ป.6 หรือ ม.3 มันก็จะสูงขึ้นเล็กน้อย 3-4 % ปีถัดไป ถ้าไม่มีงบติว หรือไม่ประกาศเป็นปีคุณภาพ โอเน็ตก็จะต่ำลงมาอีก..เป็นวงจรแบบนี้ตลอดไป
...อยากให้เอาบทเรียนของ 3 ประเทศชั้นนำโลกด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สิงค์โปร์  เกาหลี  ญี่ปุ่น) ที่เขาเน้นสร้างนิสัยรักการอ่าน(เหมือนกันทั้ง 3 ประเทศ) ในที่สุด คุณภาพของเขาก็สูงขึ้นอย่างถาวร...(สิงคโปร์ เป็นอันดับหนึ่งของโลกไปแล้ว)
...เราไปดูงานมาก็เยอะ ทำไมไม่เก็บบทเรียนเอามาลองปฏิบัติบ้าง?...ถ้ามันขึ้นได้จริงตั้งเป้าให้ขึ้นปีละ 3 % มาจนบัดนี้  โอเน็ตเฉลี่ยคงทะลุ ร้อยละ 100 ไปแล้วละครับ..เรามีบทเรียน แต่ไม่เคยจำ..
 
     อีกท่านหนึ่งที่เสนอแนะมาคือคุณ Morn Kritsachai Somsaman  บอกว่า
จากที่ไปเจอมา พบว่าผู้คนในประเทศที่ได้คะแนนดีๆนั้น เขาชอบทำอย่างนี้กัน
๏ รักการอ่านหนังสือ นั่งรถไฟหรือนั่งรออะไร ก็ยังหยิบหนังสือมาอ่าน
๏ ชอบถกกันด้วยความรู้และการคิดวิเคราะห์ ได้สนทนากับเค้าแต่ละที ในบทสนทนามีไอเดีย มีข้อมูลประกอบอยู่มาก
๏ มีความใฝ่รู้ ชอบไปเดินพิพิธภัณฑ์หรือแหล่งเรียนรู้ต่างๆกัน
๏ มีวินัย งานเป็นงาน เล่นเป็นเล่น สัมมนาหรือประชุมแต่ละทีก็ตั้งใจจริง ฟังตลอด มีคำถามออกมาตลอด
ถ้าประเทศไม่มี culture สำหรับการเรียนรู้ที่ดี ต่อให้ทุ่มเทงบประมาณไปเปลี่ยนตรงโน้นตรงนี้ พัฒนาครูและนักเรียนไปเท่าไร มันก็จะละลายหายไปกับสายน้ำอยู่ดี
การสร้างคน มันเป็นหน้าที่ของทุกคนในสังคม เราต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดี เป็นต้นแบบให้เยาวชนของเราทำตาม ไม่ใช่พยายามขุนเด็กให้เป็นแบบนั้นแบบนี้ แต่เราไม่ทำ เด็กก็จะทำตามแต่ตัวอย่างที่ไม่ดีของเรา
It takes a village to raise a child.
อย่าผลักภาระให้กับครูอาจารย์กับกระทรวงศึกษาอย่างเดียว จะปฏิรูปการศึกษา ต้องปฏิรูปสังคมที่เราอยู่ ไปในเวลาเดียวกัน
และมันเป็นสิ่งที่เราทุกคนจะต้องช่วยกัน ช่วยกันเปลี่ยนพฤติกรรมของเราให้มี literacy behavior เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ literacy society
---------------------
**ขอบคุณ ผู้เขียนที่กล่าวถึงและภาพประกอบจากกลูเกิล
่่
่่
โฆษณา