7 ม.ค. เวลา 00:30 • หนังสือ

เรื่องเล่าข้างแบงค์ EP. 111

“ติดหนี้บ้าน จ่ายไม่ไหว ยึดบ้านไป จบไหม?”
“ผ่อนหนี้ต่อไปไม่ไหวแล้ว อยากยึดบ้านก็ยึดไปเถอะ มีหลักทรัพย์ จ่ายไม่ได้ก็ยึดไป”
ในช่วงนี้ เริ่มต้นไตรมาสที่ 3 ในปี 2566 ขณะที่ดอกเบี้ยยังคงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อผู้เป็นหนี้มากมาย โดยเฉพาะหนี้กู้ซื้อบ้าน ที่หลายคนได้เคยกู้กันไว้ จะโดยตั้งใจที่จะซื้อเพื่ออยู่อาศัย หรือ เก็งกำไร ก็ตามแต่ นี่คือข้อควรระวังอีกข้อหนึ่ง ที่อยากแบ่งปันกัน
คำถามข้างต้นเป็นจริงไหม?
หลายคนคิดว่าเป็นหนี้บ้าน พอผ่อนชำระไม่ไหว ก็ยึดบ้านไปสิ! ก็แค่นั้น หนี้ก็จบ บ้านก็ไปหาใหม่!!!
ความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่?
หรือ อาจจะไม่จริง เข่นนั้นเสมอไป!!!
มีปัจจัยบางอย่างเข้ามาร่วมด้วย อาทิเช่น
- ผ่อนชำระหนี้มานานแค่ไหนแล้ว?
- ผ่อนอย่างสม่ำเสมอ ตรงเวลาหรือเปล่า?
- ราคาบ้านที่ซื้อ กับ ราคาประเมิน ต่างกันมากไหม?
- วงเงินกู้ที่ได้ไป ใกล้เคียง ราคาประเมินของบ้าน แค่ไหน?
- บางแห่ง กู้ซื้อบ้านแล้ว มีแถมวงเงินตกแต่งต่อเติม หรือ วงเงินอเนกประสงค์ เพิ่มมาให้อีก!
- มีวงเงินคุ้มครองชีวิตแบบจ่ายครั้งเดียว ทุนประกันเท่าวงเงินกู้หรือเปล่า?
- บ้านที่ซื้อมีศักยภาพแค่ไหน อยู่ในทำเลที่ดีหรือไม่?
เหล่านี้คือปัจจัยส่วนใหญ่ที่หลายคนไม่รู้ และยังมีปัจจัยส่วนย่อยอีกบ้างที่หลายคนไม่เคยรู้
ยิ่งในช่วงเศรษฐกิจตกสะเก็ดแบบทุกวันนี้ ดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น การเป็นหนี้จึงถือเป็นศิลปะการจัดการที่สำคัญยิ่ง หากใครไม่ได้เรียนรู้ไว้ มีโอกาสสูงมากว่าอาจจะตกเทรนด์ หรือ ตามไม่ทันวิทยาการใหม่ ๆ
เมื่อเราเริ่มผ่อนไม่ไหว เราย่อมต้องตัดสินใจบางอย่าง ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป และ 1 ในปัจจัยประกอบการตัดสินใจคือ “ยอดหนี้ หากต้องถูกดำเนินคดี”
โดยปกติ ถ้าเป็นหนี้ที่ผ่อนตรงตามงวดการชำระปกติ ผ่อนสม่ำเสมอ และผ่อนมาเป็นระยะเวลา 5 ปี ขึ้นไป และวงเงินกู้ไม่ได้มากไปกว่าราคาประเมิน มีโอกาสสูงที่จะแก้ไขได้ง่ายกว่า
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างสำหรับ กรณีที่กู้วงเงินสูงกว่าราคาประเมิน หรือ ใกล้เคียง และ ผ่อนไม่นาน และไม่ค่อยตรงเวลา จะแก้ไขยากพอสมควร
ตัวอย่างเช่น
ราคาประเมินบ้าน 4,500,000 บาท ได้วงเงินกู้ 4,050,000 บาท ไปจ่ายเจ้าของโครงการ และ วงเงินกู้อนกประสงค์อีก 500,000 บาท โดยไม่มีหลักประกัน รวมวงเงินกู้ในครั้งนี้ 4,550,000 บาท
วงเงินกู้ 4,050,000 บาท อัตราดอกเบี้ย3% ระยะเวลา 25 ปี ผ่อนชำระเดือนละ 21,400 บาท
วงเงินกู้อนกประสงค์ 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 10% ระยะเวลา 5 ปี ผ่อนชำระเดือนละ 10,900 บาท
รวมยอดผ่อนชำระ 32,300บาท
เพิ่งผ่อนไป 12 เดือน แล้วผ่อนไม่ไหว
เงินต้นเพิ่งหมดไป 1xx,xxx บาท + 7x,xxx บาท เหลือเงินต้นอีก 4,3xx,xxx บาท
กว่าจะดำเนินคดี ถึงขั้นยึดขายทอดตลาด น่าจะเกือบ 1 ปี (นี่แบบเร็วนะ ถ้าช้าอาจใช้เวลายาวนานขึ้น) ถึงตอนนั้น ดอกเบี้ย ของเงินต้น 4,3xx,xxx บาท น่าจะเกือบ 5xx,xxx บาท เมื่อรวมกับเงินต้น ก็น่าจะราว ๆ 4,8xx,xxx บาท ก็เกินราคาประเมินบ้าน 4.5 ล้านบาทไปเรียบร้อยแล้ว
แล้วพอยึดบ้าน เขาจะขายราคา 4.5 ล้านบาทเหรอ?
คงไม่!!!
แล้วจะขายเท่าไหร่?
ยังไงราคาย่อมตกลงกว่านี้แน่นอน
คิดเล่น ๆ แบบเลวร้ายหน่อย ถ้าราคาที่ขายได้ คือ 3.6 ล้าน (ลดลงเหลือ 80%) เท่ากับหลังจากขายบ้านได้ ผู้กู้ยังคงมีหนี้อยู่ประมาณ (4.8 - 3.6 = 1.2) 1.2 ล้านบาท (เงินต้น 700,000 บาท ดอกเบี้ย 500,000 บาท) ยังไม่รวมดอกเบี้ยตั้งแต่ ตอนยึดได้ จนถึงวันขายได้ และรับเงินค่าขาย ก็น่าจะร่วมหลายเดือนอยู่ ดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นมาอีกเท่าไหร่
โดยรวมแล้ว ผู้กู้ ยังคงมีหนี้เกิน 1 ล้านบาท มีโอกาสสูงมากที่จะโดนเจ้าหนี้ ฟ้องล้มละลาย เพราะมูลหนี้มากเกินกว่า 1 ล้านบาท ยิ่งถ้าผู้กู้มีทรัพย์สินอื่น ๆ อีก ยิ่งต้องระวังจะโดนลากเข้าไปรวมกันเป็นก้อน และจัดการนำมาชำระหนี้ตามคำฟ้อง
บทความนี้อาจจะยาวหน่อย แต่อยากให้ทุกคนได้รู้มุมมองนี้ด้วย กรณีที่เราเป็นผู้กู้ และคิดเอาเองว่าหลักประกันน่าจะพอชดใช้หนี้ได้
อยากเตือนให้ระวังสิ่งนี้ไว้บ้าง เพื่อเป็นอุทาหรณ์
โค้ชสุนีย์ เอี่ยมแสงสิน
ที่ปรึกษาการเงิน
เจ้าของหนังสือ “รู้ 4 สิ่งนี้ การเงินดีตลอดกาล”
และ “จัดการเงินดี เงินก็ไม่หนีไปหาคนอื่น”
#รู้4สิ่งนี้การเงินดีตลอดกาล
#เทคนิคง่ายและกระชับเพื่อยกระดับฐานะการเงิน
#จัดการเงินดีเงินก็ไม่หนีไปหาคนอื่น
#อ่านเองยังยิ่งอ่านยิ่งอินคนอื่นอ่านยุ่อมยังประโยชน์ได้แน่นอน
#หนังสือการเงินที่อ่านง่าย
#ต้องมีไว้ติดบ้าน
#เด็กอ่านได้
#ผู้ใหญ่อ่านดี
#เสริมภูมิคุ้มกันด้านการเงิน
#คู่คิดประจำบ้าน
#เพจโค้ชสุนีย์ที่ปรึกษาการเงิน
#พู่สร้าง@การเงิน
#พู่คือพู่กัน
#สร้างคือสร้างแรงบันดาลใจ
#พู่สร้าง@การเงิน คือแนวคิดว่า หากสุขภาพการเงินดี สุขภาพจิตใจและสุขภาพกาย จะดีตามมา
#ถ้าเรื่องเหล่านี้ได้จุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจให้ใครสักคน
ลุกขึ้นมาเปลี่ยนชีวิตตนให้ดีขึ้น
เมื่อนั้นก็ถือว่าพู่สร้างประสบความสำเร็จแล้ว
#ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา