6 ม.ค. เวลา 15:46 • การเมือง

ความตึงเครียด “อเมริกา-จีน” ยกระดับ

เมื่อสหรัฐฯ รื้อฟื้นเปิดใช้สนามบินภูมิภาคแปซิฟิกในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง
ในช่วงเปลี่ยนผ่านของทศวรรษ 1980-90 ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกดูเหมือนจะเป็นยุคที่สงบปราศจากสงครามครั้งใหญ่ หลังจากสงครามใหญ่สองครั้งก่อนหน้าคือ สงครามเกาหลีและเวียดนาม โดยประเทศในภูมิภาคต่างเน้นความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจซึ่งเป็นสิ่งที่ดี
ข่าวไม่สู้ดีก็มีมาเมื่อช่วงก่อนสิ้นปี 2023 ที่ผ่านมาและลากยาวมาจนถึงช่วงหลังปีใหม่นี้ สหรัฐอเมริกาได้ตัดสินใจเปิดใช้ฐานทัพของตนอีกครั้งในหมู่เกาะมาเรียนาเหนือ (มีสถานะเป็นดินแดนของสหรัฐฯ มีการจัดระเบียบปกครองโดยหน่วยงานท้องถิ่นซึ่งไม่ได้ขึ้นกับหน่วยงานปกครองของสหรัฐฯ โดยตรง) ถ้าให้เห็นภาพก็อยากให้นึกถึง “เปอร์โตริโก” หรือ “เกาะกวม” ดินแดนหมู่เกาะมาเรียนาเหนือแสดงตามรูปแผนที่ในหน้าปกบทความนี้
เกาะทิเนียนในหมู่เกาะมาเรียนาเหนือกลางมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นที่ตั้งของสนามบินร้างของสหรัฐฯ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นกุญแจสำคัญในการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ใส่ญี่ปุ่น และเกือบจะสูญหายไปในประวัติศาสตร์ท่ามกลางป่าที่ถูกบุกรุก กำลังได้รับการฟื้นฟูเปิดใช้งานอีกครั้ง
1
ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงที่ตั้งของฐานทัพอากาศร้างของสหรัฐฯ บนเกาะทิเนียนในหมู่เกาะมาเรียนาเหนือ เมื่อ 10 มกราคม 2022 เครดิตภาพ: Maxar Technologies/AFP
สนามบินของกองทัพสหรัฐฯ ที่ชื่อว่า North Field ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่เกาะฮาวายไปทางตะวันตกหกพันกิโลเมตร จะได้รับการบูรณะบนเกาะทิเนียน สนามบินแห่งนี้ครั้งหนึ่งเคยเป็นจุดส่งเครื่องบินที่ทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิบินขึ้น ที่นี่ปิดใช้งานในปี 1946 และขณะนี้กำลังเปิดใช้งานใหม่อีกครั้ง เป้าหมายครั้งนี้จะไม่ใช่ญี่ปุ่นอีกแล้วแต่เป็น “จีน” เพราะอเมริกาฝึกซ้อมรบสามฝ่ายกับ “ญี่ปุ่น” และ “เกาหลีใต้” โดยใช้สนามบินที่นี่ด้วย
1
ข่าวดังกล่าวได้รับการยืนยันโดย พลเอกเคนเนธ วิลส์บาค ผู้บัญชาการกองทัพอากาศอเมริกาในแปซิฟิก วอชิงตันได้ตัดสินใจที่จะเสริมกำลังทหารในมหาสมุทรแปซิฟิกให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อสร้างภัยคุกคามต่อจีน
1
หมู่เกาะญี่ปุ่นถูกทิ้งระเบิดโดยเครื่องบินที่ขึ้นจากเกาะติเนียนเมื่อปี 1944 ระยะทางจากสนามบินบนเกาะทิเนียนไปยังดินแดนอาทิตย์อุทัยคือ 2278 กิโลเมตร และหากเราคำนึงถึงระดับความก้าวหน้าของกองบินทางอากาศในช่วงแปดสิบปีที่ผ่านมา ระยะทางหลัก 2000 กว่ากิโลเมตร ย่อมเขยิบเข้าใกล้จีนมากขึ้นด้วยระยะเวลาการบินที่สั้นลง
ยังไม่รวมสนามบินในดินแดนของพันธมิตรอเมริการายรอบแถวนี้ สหรัฐอเมริกามีที่เกาหลีใต้ (500+ กม. จากจีน) ญี่ปุ่น (600+ กม.) ฟิลิปปินส์ (600+ กม.) ไม่ต้องพูดถึงไต้หวัน (ประมาณ 150 กม.) ซึ่งอย่างไรก็ตามในกรณีเกิดสงครามขึ้น จีนจะถูกปิดกั้นอย่างรวดเร็ว
คำถามเกิดขึ้นคือ ทำไมอเมริกาถึงเปิดใช้ฐานทัพเก่าที่อยู่บนเกาะห่างไกลในแปซิฟิกระยะห่างหลักพันกิโลเมตรแทนที่จะใช้ฐานทัพบนดินแดนของพันธมิตรอย่างที่บอกไปในย่อหน้าก่อนหน้านี้ คำตอบอยู่บนพื้นผิวโลก (ระบบตรวจจับขีปนาวุธ) ความจริงก็คือเพนตากอนประเมินการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
1
จีนมีความก้าวหน้าอย่างมากในด้านขีปนาวุธ เมื่อช่วงปีก่อน (2023) กองทัพจีนประสบความสำเร็จในการทดสอบขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงระยะไกลวิถีโค้ง DF-27 (Ballistic Missile) พิสัยทำการอยู่ที่ 5,000-8,000 กิโลเมตร มันสามารถหลบเลี่ยงระบบป้องกันภัยทางอากาศของสหรัฐฯ ถ้าอยู่ใกล้เกินไป ขีปนาวุธประเภทนี้สามารถบรรทุกหัวรบนิวเคลียร์และหัวรบธรรมดาได้ ดังนั้นจึงถือเป็นอาวุธเชิงกลยุทธ์และยุทธวิธี
2
ถ้าดูจากรูปด้านล่างจะพอเข้าใจว่า ระบบตรวจจับขีปนาวุธแบบวิถีโค้งที่เรียกว่า Ballistic จะตรวจจับได้ดีในระยะไกลกว่า เมื่อเทียบกับขีปนาวุธแบบร่อน (Cruise Missile)
3
เครดิตภาพ: The Economist
บทความต้นเรื่องตามลิงก์ด้านล่างนี้
เรียบเรียงโดย Right SaRa
6th Jan 2024
  • แหล่งข่าวอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: McClatchy Washington Bureau>
โฆษณา