30 ม.ค. เวลา 23:45 • ปรัชญา

คศ. 2024 ปีที่รวมความท้าทายหลายเรื่องมาปะทุขึ้น สะท้อนให้เห็นความเสื่อมทรามลงของจิตสำนึกมนุษย์สังคม

โลกอยู่ในช่วงเวลา Great Reset Age: 2020-2030
คศ. 2024 ปีที่รวมความท้าทายหลายเรื่องมาปะทุขึ้น สะท้อนให้เห็นความเสื่อมทรามลงของจิตสำนึกมนุษย์สังคม
1. ความท้าทายเรื่องสงคราม
แม้ว่า จีนกับอเมริกา ลดระดับความขัดแย้งที่จะใช้กำลังปะทะกันในฐานะอำนาจนิยมตะวันออกกับเสรีนิยมตะวันตก
เหตุเพราะจีนป๋วยทางเศรษฐกิจเรื่องอสังหาริมทรัพย์ ที่จีนไม่ยอมผ่าตัด แต่ปล่อยให้เอาตัวรอดกันเอง ส่วนที่ไม่รอดก็ถือเป็นการลงโทษ
ทำให้ปัญหาขยายตัวเพิ่มขึ้นและประชาชนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาก็ได้รับผลกระทบร่วมด้วย รวมถึงคนหนุ่มสาวจีนที่ตกงานจำนวนมากเพราะเศรษฐกิจมีปัญหา
ผู้นำจีนต้องการให้คนหนุ่มสาวชาวจีนที่ไม่มีงานทำไปเรียนรู้การใช้ชีวิตลำบากในชนบทเช่นเดียวกับที่สีจิ้นผิงเคยใช้ชีวิตในสมัยหนุ่มๆ แต่หนุ่มสาวในกลุ่มชนชั้นกลางไม่เห็นด้วยเพราะชนชั้นกลางมีทางเลือก สามารถเลือกแนวทางชีวิตที่ดีกว่า
จีนมีเงินมากมายและต้องการหายป่วยทางเศรษฐกิจ แต่ใช้ระบบอุปถัมภ์คือต้องการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มคนที่เป็นพวก และทำลายฝ่ายตรงข้ามให้อ่อนแรง ไม่สามารถลุกขึ้นมาประท้วง เหมือนตอน Zero COVID มีการประท้วงกระดาษขาว จนรัฐบาลจีนต้องยกเลิกนโยบายดังกล่าวภายใน 7 วัน
ดังนั้น จีนไม่ว่างก่อสงคราม และเศรษฐกิจก็ไม่แข็งแรงพอต่อผลกระทบจากสงครามระดับโลก
ส่วน รัสเซียอยากจะออกจากการติดหล่มสงครามกับยูเครน แต่ยังไม่อยากเจรจาในช่วงนี้ เพราะอเมริกากำลังจะมีเลือกตั้งซึ่งการหาเสียงของทรัม จะช่วยกดดันทำให้อำนาจต่อรองของยูเครนน้อยลง และจะเป็นโอกาสทองของรัสเซียที่จะหาบันไดลงจากสงคราม
หัวเชื้อเดียวที่จะนำสู่สงครามใหญ่คือเรื่องสงครามอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ที่สหรัฐพยายามจะกดดันอิสราเอลให้ยอมรับ Two states Solution ในที่สุด
หัวเชื้อเดียวที่จะนำสู่สงครามใหญ่คือเรื่องสงครามอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ที่สหรัฐพยายามจะกดดันอิสราเอลให้ยอมรับ Two states Solution ในที่สุด
ส่วนสงครามในพม่า มินอ่องลาย เสียเปรียบด้านการรบมากขึ้นเรื่อยๆ ประมาณว่าประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐไม่สนับสนุนรัฐบาลกลุ่มทหาร ทำให้เผด็จการทหารปกครองประเทศยากขึ้นเรื่อยๆ
ตัวอย่างเหตุการณ์ในพม่า แสดงข้อเท็จจริง เรื่องชาติคือประชาชน ถ้าประชาชนไม่สนับสนุน ความเป็นชาติก็ดำรงอยู่ไม่ได้ มินอ่องลาย พยายามจะสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต แต่ฝ่ายตรงข้ามชิงจังหวะที่กำลังได้เปรียบในการรบเร่งเข้าโจมตีและยึดพื้นที่เพิ่ม เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองเมื่อเกิดการเจรจา ล่าสุดเฮลิคอปเตอร์ทหารพม่าถูกฝ่ายตรงข้ามสอยร่วง
2. ความท้าทายเรื่องเศรษฐกิจ
ปี คศ. 2024 เศรษฐกิจโลกยังคงเป็นแบบ K-shape ช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมยุคที่ 4
1
ทำให้เกิดสงครามเศรษฐกิจพ่วงเข้ากับสงครามอาวุธ
เพราะสังคมอารยธรรมมนุษย์ทั้งเผด็จการและเสรีนิยมต่างก็ใช้ระบบเศรษฐกิจขับเคลื่อนสังคม และการทำสงครามที่ใช้อาวุธก็อาศัยระบบเศรษฐกิจหาเงินมาซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ใช้ทำสงคราม
เศรษฐกิจโลกจึงวิปริตผิดทาง
แทนที่ระบบเศรษฐกิจจะทำเพื่อบริหารทรัพยากรของโลกให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่มนุษย์ชาติ กลับแปลงทรัพยากรเป็นอาวุธใช้ทำลายมนุษย์ฝ่ายตรงข้าม
*เศรษฐกิจทุนนิยมของระบอบเผด็จการตะวันออก*
เศรษฐกิจทุนนิยมตะวันออกมุ่งเน้นใช้ทรัพยากรเพื่อทำสงครามขยายอำนาจตอบสนองความต้องการของผู้นำ
แทนที่จะมุ่งเน้นทำเพื่อแก้ปัญหาปากท้องประชาชน
กลับใช้เป็นกลยุทธ์ของระบบอุปถัมภ์กดให้ประชาชนผู้เห็นต่างเผชิญปัญหาเฉพาะหน้าต้องเอาตัวรอดในเรื่องปากท้อง กดทับความคิดเรื่องชีวิตที่ดีกว่า
และยังซ้ำเติมประชาชนด้วยการทำ
สงครามที่ประชาชนไม่ต้องการ แต่ผู้นำต้องการ
เพราะในภาวะสงครามผู้นำจะมีอำนาจพิเศษใช้บังคับให้ประชาชนทำสิ่งต่างๆ
ประชาชนใต้ระบอบเผด็จการจึง ต้องทนอยู่อย่างทาสทางเศรษฐกิจ ยกเว้นกรณีประชาชนพม่าที่ลุกขึ้นสู้แบบยอมตายดีกว่าอยู่อย่างทาส
ตัวอย่าง คนพม่าที่ลุกขึ้นสู้กับเผด็จการทหารพม่า
ทนลำบากสู้มาสามปีจึงเริ่มเป็นฝ่ายได้เปรียบ
ในขณะที่ฝ่ายเผด็จการทหารเริ่มจะเอาไม่อยู่ กองทัพแตกจากภายใน มีทหารย้ายข้าง ให้จีนช่วยเจรจาพักรบแล้ว 3 ครั้ง ไม่เกิดผล จึงเริ่มจำตัวเองได้ว่าเป็นสมาชิกอาเซียน ดูทรงแล้วคงอยากกลับมาญาติดีกับเพื่อนมิตรในอาเซียนเพื่อรักษาสถานะความเป็นรัฐบาลในเวทีอาเซียนเอาไว้
*เศรษฐกิจทุนนิยมเสรีของระบอบเสรีนิยมตะวันตก*
เดิม"เชื่อมั่นรูปธรรม"เพื่อช่วงชีวิตชาติเดียว
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการนับถือเงินเป็นพระเจ้า มีความยึดมั่นถือมั่นว่ามี"ตัวกู" สะสมเงินเป็นความมั่งคั่ง"ของกู" เพื่อช่วงชีวิตชาติเดียวของกูจะมีชีวิตที่ดีกว่าขึ้นไปได้เรื่อยๆ
แม้จะใช้มือที่มองไม่เห็นของอดัมสมิธในการบริหารการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
แต่"ไม่เชื่อนามธรรม"ว่ามีการเวียนว่ายตายเกิด
เพราะพิสูจน์ให้เห็นเป็นรูปธรรมไม่ได้
ไอน์สไตน์มองเห็นจุดอ่อนของการทำธุรกิจแบบมุ่งหวังผลกำไร ว่าไม่ได้มุ่งให้เกิดการใช้ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ ประกอบกับมีการกดค่าแรงเพื่อผลกำไรให้มากที่สุด จึงเกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นในสังคม ทำให้จิตสำนึกของมนุษย์สังคมเสื่อมทรามลง
ก่อนที่ไอน์สไตน์จะเสียชีวิตในปี คศ. 1955 เขาเสนอทางรอดของสังคมมนุษย์ด้วยระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม และจัดระบบการศึกษาเพื่อรับใช้สังคม
แม้ว่าเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีจะทำให้โลกตะวันตกเจริญรุดหน้ามาเป็นลำดับ แต่ก็เจริญพร้อมกับทำให้จิตสำนึกของมนุษย์สังคมเสื่อมทรามลงไปเรื่อยๆ และความเหลื่อมล้ำทางสังคมของคนก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เกิดเป็นจุดอ่อนของเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี และงานอุตสาหกรรมยุคที่ 4 ก็มาเร็วกว่าที่คาด เหตุเพราะ วิกฤตสงคราม กดดันเศรษฐกิจโลกให้ปรับตัวเร็วขึ้น
ต่อเมื่อเข้าสู่"ยุค AI
เกิดปัญหาทุนหันไปใช้ AI ทำงานแทนคน คนหางานทำยากขึ้นไปอีก ยิ่งขยายความเหลื่อมล้ำให้เพิ่มสูงขึ้นไปอีก
ประกอบกับเกิดสภาวะ"โลกเดือด"
ปัญหาโลกร้อน และเป็น One World ที่มนุษย์อาศัยอยู่ในโลกเดียวกัน แทนที่มนุษย์จะกลมเกลียวกัน
กลับแบ่งข้าง แบ่งพวก ชิงความเป็นใหญ่ ระหว่างตะวันออกที่ใช้ระบอบอำนาจนิยมกับตะวันตกที่ใช้ระบอบเสรีนิยม โดยหวังจะเป็นผู้ชนะได้อำนาจกำหนดระเบียบโลกและแย่งชิงเอาสมบัติของโลกมาเพิ่มความได้เปรียบของตัวเอง
3. ความท้าทายเรื่องการใช้ชีวิตในภาวการณ์เศรษฐกิจวิปริต
โลกเหลื่อมล้ำ
คนส่วนน้อยครองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ คนส่วนใหญ่ต้องดิ้นรนในทางเศรษฐกิจเพื่อเอาชีวิตรอด ดังนั้น คนที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือกลุ่มคนที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ เช่น คนจนที่ว่างงานและจำเป็นต้องหาเงินเลี้ยงชีพ
โลกเหลื่อมล้ำ คนส่วนน้อยครองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ คนส่วนใหญ่ต้องดิ้นรนในทางเศรษฐกิจเพื่อเอาชีวิตรอด ดังนั้น คนที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือกลุ่มคนที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ เช่น คนจนที่ว่างงานและจำเป็นต้องหาเงินเลี้ยงชีพ
โฆษณา