21 ม.ค. เวลา 01:47 • การศึกษา

คำสอนของ สมเด็จย่า

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
คนดีของฉันรึ จะต้องเป็นคนดีที่ไม่พูดปด
ไม่สอพลอ ไม่อิจฉาริษยา ไม่คดโกง และ
ไม่มีความทะเยอทะยานอย่างบ้าๆ แต่พยายามทำหน้าที่ของตนให้ดี ในขอบเขตของศีลธรรม
(จากหนังสือ ดั่งสายธาร ศรีนครินทร์แห่งแผ่นดิน)
คนดี
 
เราจะทำอะไรก็พยายามที่จะทำให้ในทางซื่อสัตย์สุจริต เพราะว่าถ้าคนเราคนหนึ่งทำโดยความซื่อสัตย์สุจริตและคนอื่นๆทำด้วย ก็เลยเป็นประโยชน์ส่วนรวม นั่นก็จะเป็นความเจริญของประเทศ
(จากหนังสือ ดั่งสายธาร ศรีนครินทร์แห่งแผ่นดิน)
คนดี
 
คนดีของฉันรึ จะต้องเป็นคนดีที่ไม่พูดปด ไม่สอพลอ
ไม่อิจฉาริษยา ไม่คดโกง และไม่มีความทะเยอทะยานอย่างบ้าๆ แต่พยายามทำหน้าที่ของตนให้ดี ในขอบเขตของศีลธรรม
(จากหนังสือ ดั่งสายธาร ศรีนครินทร์แห่งแผ่นดิน)
คนดี
 
ถ้าจะเป็นคนดี จะมีอะไรอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีอย่างละนิด อย่างละหน่อยแล้วแต่สังคม อย่างไรก็ตาม มี Principle ง่ายๆ ทหลักการหนึ่ง หลักการใด เช่นฉันจะไม่ให้ลูกฉันเป็นคนโกหก ขโมย หลักการใหญ่ ๆ ทางจริยธรรมต้องมีแน่นอน
(จากหนังสือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)
คนดี
 
สอนให้เด็ก honest คือพูดความจริงเท่านั้น
ถ้าจะพูดไป ทุกอย่างมาจากทูลกระหม่อม (สมเด็จพระบรมราชชนก) ทูลกระหม่อมตั้งพระทัยที่จะทำอะไรเพื่อให้ประเทศดีขึ้น มีความตั้งใจอย่างเดียวเพื่อจะทำสิ่งที่ดีให้ประเทศ เพราะฉะนั้น คือ ต้องให้เป็นคนดี แม่ไม่ใช้คำมาก คือ ต้องเป็นคนดี
(จากหนังสือ พระมามลายโศกหล้า เหลือสุข)
ความถูกต้อง
การรู้จักแยกแยะความดี ความเลว ความถูกต้องเหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญมาก การมีชีวิตอยู่ในโลกได้ และประสบความสำเร็จนั้นต้องอยู่ในกรอบของความถูกต้องด้วย
 
(จากหนังสือ พระมามลายโศกหล้า เหลือสุข)
ความถูกต้อง
จงมีความนึกคิดและปฏิบัติ
ในทางที่ดีที่ถูกที่เหมาะสมอยู่เสมอ
(จากหนังสือ พระมามลายโศกหล้า เหลือสุข)
ความรับผิดชอบ
ในครอบครัวเรา (ความรับผิดชอบ) เป็นของที่ไม่ต้องคิดเป็นธรรมชาติสิ่งที่สอนอันแรก คือ เราจะทำอะไรให้เมืองไทย ถ้าไม่มีความรับผิดชอบจะไปช่วยเมืองไทยได้อย่างไร ทุกอย่างออกมา จากนั้นถ้าจะเอาหลักการต้องเป็นคนดี นี่คือหลักการ เพื่อจะช่วยอะไรได้ สิ่งเหล่านี้ ฉันเป็นคนพูดออกมา
(จากหนังสือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)
 
 
ความจริงของชีวิต
 
คนเราเมื่ออยู่ในโลก จะต้องเรียนรู้ความจริงต่างๆ ของโลกไว้ เพื่อให้มีชีวิตอยู่ในโลกได้
(จากหนังสือ พระมามลายโศกหล้า เหลือสุข)
ความจริงของชีวิต
 
คนเราทุกคนต้องปรับตัว ถ้าปรับก็ไม่มีเรื่อง
ฉันเองก็ต้องปรับตัว
(จากหนังสือ พระมามลายโศกหล้า เหลือสุข)
ความจริงของชีวิต
 
อย่าลืมว่าแต่ละคนมีความดีบริสุทธิ์ไม่ทั้งหมด
เพราะฉะนั้นถึงแม้จะมีบกพร่องอะไรบ้างก็ต้องยอมรับ นี่คือสภาพของคนปกติ บริสุทธิ์สมบูรณ์
ดีพร้อม มีแต่ธรรมะ คนจริงๆแล้วต้องมีข้อไม่ดีอยู่บ้าง เพราะฉะนั้นขอให้มองกันในแง่ดี แล้วทุกสิ่งทุกอย่างจะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
(จากหนังสือ ดั่งสายธาร ศรีนครินทร์แห่งแผ่นดิน)
ความพอดี
 
ความพอใจหรือไม่พอใจเกิดขึ้นด้วยตัวของเราเอง
ถ้าเปรียบเทียบตนเองกับคนที่มีมากกว่า เราจะรู้สึกด้อย ถ้าเทียบกับที่ด้อยกว่า เราก็ดูมีมาก
ดังนั้นถ้าไม่รู้จักพอ มีเท่าไรก็ไม่อาจพอได้
(จากหนังสือ ดั่งสายธาร ศรีนครินทร์แห่งแผ่นดิน)
ความพอดี
 
ต้องรู้จักทำตามสมควร ให้เหมาะสมกับกาลเทศะ
ความสมควรความเหมาะสม ความพอดี
เหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องเอาใจใส่ศึกษาให้รู้ว่าเป็นอย่างไร
ศึกษาได้โดยจิตที่มีสมาธิค่อยๆ พิจารณาไตร่ตรอง
(จากหนังสือ พระมามลายโศกหล้า เหลือสุข)
ความมีระเบียบวินัย
 
คนเราต้องรู้จักบังคับตนเอง ถ้าปล่อยตามบุญตามกรรมก็จะไม่เจริญดังเช่นการเลี้ยงเด็ก ต้องกำหนดเวลานอน เวลาเรียน เวลารับประทานอาหาร เวลาพักผ่อน ทุกอย่างต้องให้เป็นไปตามเวลา ถ้าไม่เช่นนั้น
ก็จะไม่เจริญเติบโต ไม่มีสติปัญญา
(จากหนังสือ ดั่งสายธาร ศรีนครินทร์แห่งแผ่นดิน)
ความมีระเบียบวินัย
 
เด็กๆ ต้องฝึกหัดอบรมทั้งกายทั้งใจให้เข้มแข็ง
เป็นระเบียบและสุจริต เพื่อประโยชน์ของตนในภายหน้า เพราะคนที่ไม่เข้มแข็ง ไม่สามารถควบคุมกายใจให้อยู่ในระเบียบและความดี ยากนักที่จะได้ประสบความสำเร็จและความเจริญอย่างแท้จริงในชีวิต
(พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่เยาวชนของชาติ
เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 8 มกราคม 2526
จากหนังสือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)
ความมีระเบียบวินัย
ทุกอย่างที่ทำต้องตามเวลา ต้องตรงเวลาและเวลาที่จะทำอะไรก็ต้องทำ ไม่ใช่ไปไถลเล่น ไปทำโน่นทำนี่
และเรื่องการรับประทานก็ต้องเป็นเวลาเหมือนกัน
ต้องมีระเบียบในด้านนี้
(จากหนังสือ 80 พรรษา แม่ฟ้าหลวง)
 
 
ความเข้มแข็ง
 
ต้องร่างกายแข็งแรงก่อน แล้วจิตใจจึงเข้มแข็ง ทำอะไรได้
(จากหนังสือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)
ความมีสติ
 
คนเราไม่ควรลืมตัว ไม่อวดดี ไม่ถือดีว่าตนเก่ง
(จากหนังสือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)
ความมีสติ
 
อนัตตา คือ ความไม่มีตน บังคับไม่ได้ส่วนอัตตา
คือ ตัวตนของเราซึ่งเป็นส่วนที่บังคับได้
คนเราต้องรู้จักบังคับตนเอง
ถ้าปล่อยตามบุญตามกรรมก็ไม่เจริญ
(จากหนังสือ ดั่งสายธาร ศรีนครินทร์แห่งแผ่นดิน)
 
 
ความพยายาม
 
ความพยายาม courage และ volonte
3 สิ่งนี้ควรให้มีติดตัวอยู่เสมอ นั่นแหละจะทำอะไรได้สำเร็จทุกอย่าง
(courage แปลว่า ความกล้าที่จะทำด้วยความเด็ดขาด
volonte แปลว่าความอยากทำด้วยความเต็มใจ ผู้แปล โดย แก้วขวัญ วัชโรทัย)
(จากหนังสือ ดั่งสายธาร ศรีนครินทร์แห่งแผ่นดิน)
ความอดทน
 
อยู่ในสังคม จึงต้องไม่รังแกคน ต้องอดทน
(จากหนังสือ พระมามลายโศกหล้า เหลือสุข)
 
 
การใช้จ่าย
 
เงินไม่ใช่เป็นนายเรา เราต้องเป็นนายเงิน
(จากหนังสือ พระมามลายโศกหล้า เหลือสุข)
การศึกษา
 
เรียนหนังสือให้ดี จะได้ให้ความรู้มาช่วยประเทศ
ช่วยคนไทย สงสารคนไทยที่ยังยากจนที่เคราะห์ร้ายกว่าเรามาก
(จากหนังสือ สมเด็จย่า 85 ชันษา)
การอภิบาล
 
ต้นไม้นี่มันคล้ายๆคน ต้นบานชื่นนี้ฉันไม่ได้ปลูกด้วยเมล็ด แต่ไปซื้อต้นเล็กๆ ที่เขาเพาะแล้วมาปลูก แต่มันก็งามและแข็งแรงดี เพราะอะไรหรือ เพราะคนที่เขาขายนั้นเขารู้จักเลือกเมล็ดที่ดี และดินที่เขาใช้เพาะก็ดีด้วย นอกจากนั้นเขายังรู้วิธีว่าจะเพาะอย่างไร ซึ่งฉันไม่สามารถทำได้เช่นเขา เมื่อฉันเอามาปลูก ฉันต้องดูแลใส่ปุ๋ยเสมอ เพราะดินที่นี่ไม่ดี (ที่นี่ หมายถึง พระตำหนักวิลล่าวัฒนา เมืองพุยยี่สวิตเซอร์แลนด์)
ต้องคอยรดน้ำพรวนดินบ่อยๆ ต้องเอาหญ้าและต้นไม้ที่ไม่ดีออก เด็ดดอกใบที่เสียๆทิ้ง คนเราก็เหมือนกัน ถ้าพันธุ์ดี เมื่อเป็นเด็ก ก็แข็งแรง ฉลาด เมื่อพ่อแม่คอยสั่งสอน เด็กคนนั้นก็จะเป็นคนที่เจริญ และดีเหมือนกับต้นและดอกบานชื่นเหล่านั้น
(จากหนังสือ ดั่งสายธาร ศรีนครินทร์แห่งแผ่นดิน)
 
 
สิทธิเสรีภาพ
 
ทุกคนย่อมมีสิทธิเสรีภาพที่จะกระทำสิ่งใดๆ ก็ได้จริง
แต่บางสิ่งบางอย่างเราอาจจะทำได้เมื่ออยู่ตามลำพัง
และบางสิ่งบางอย่างก็กระทำไม่ได้ เพราะจะต้องคำนึงถึงและเคารพในสิทธิของผู้อื่นเสมอ
(จากหนังสือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จย่าของแผ่นดิน)
 
 
ศาสนา
 
เขานับถือศาสนาอะไรก็ให้นับถือแบบนั้นเถิด
เด็กๆ ทุกคนต้องมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว
(จากหนังสือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จย่าของแผ่นดิน)
 
 
จริยธรรม
 
จำไว้นะ อิสสา คือริษยา เป็นตัวการที่ทำให้เกิดความวุ่นวาย และทำให้เสื่อมได้ เพราะฉะนั้น ให้ละเว้นอย่าให้มีอิจฉา หรือริษยาได้
ที่มา: หนังสือ เรียนรู้คำสอนแม่ฟ้าหลวง พระราโชวาทในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี,
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
ขอขอบคุณ
มูลนิธิและเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
วัดสามพระยา ๑๖๕ ถนนสามเสน 5 เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
เว็บไซต์ http://www.pada.or.th
โฆษณา