22 ม.ค. เวลา 05:45 • สุขภาพ

กรดยูริกในเลือดสูงเท่าไหร่-นานแค่ไหน เสี่ยงโรคเกาต์ นิ่วในไต!

รู้หรือไม่ ? ระดับกรดยูริกในเลือด เป็นเวลา 5 ปี จะมีโอกาสเป็นโรคเกาต์ สูงถึง 22 % เผยวิธีป้องกันและรักษาภาวะกรดยูริกสูง!
ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia) ความผิดปกติที่พบได้บ่อย โดยทางการแพทย์จะกำหนดว่าเมื่อกรดยูริกในเลือดสูงเกินขีดจำกัดของความสามารถในการละลายของกรดยูริก (Monosodium urate) คือ 6.8 มก./ดล. ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ถือว่ามีภาวะกรดยูริกสูง
ระดับกรดยูริกในเลือดที่เกิน 7 มก./ดล. จะเริ่มมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้ออักเสบจากผลึกเกลือยูเรตหรือโรคเกาต์ และเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วที่ไต
ปวดโรคเกาต์
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น น้ำหนัก อายุ เพศ ความดันโลหิตและการดื่มแอลกอฮอล์ ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะกรดยูริกในเลือดสูงได้
กรดยูริกสูงเสี่ยงโรคเกาต์ ?
หากระดับของกรดยูริกสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อการเกิดโรคเกาต์ได้ โดยพบว่าผู้ที่มีระดับกรดยูริกในเลือดมากกว่า 9 มก./ดล. เป็นเวลา 5 ปี จะมีโอกาสเป็นโรคเกาต์ สูงถึง 22 % ในขณะที่ผู้ที่มีระดับกรดยูริก 7 – 8.9 มก./ดล. นาน 5 ปี พบเพียง 3 % เท่านั้น
สำหรับคนไข้ที่ตรวจพบว่ามีกรดยูริคสูง แต่ยังไม่มีอาการของโรคเก๊าต์ แพทย์จะแนะนำแนวทางในการดูแลตนเอง แต่สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงมากหรือเป็นโรคเก๊าต์แล้ว แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยการกินยา เพราะหากไม่ได้รับการรักษา และมีการสะสมของกรดยูริคสูงขึ้นมาก อาจเกิดเป็นก้อนโทฟี่หรือปุ่มนูนใต้ผิวหนังตามข้อต่างๆ เช่น นิ้วมือ เท้า ข้อศอก หรือเอ็นร้อยหวาย ซึ่งถึงแม้ก้อนนี้จะไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด แต่หากอาการของโรคกำเริบเมื่อไหร่ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อและปวดตามข้ออย่างมาก
จนถึงทำให้ข้อต่อบิดเบี้ยวผิดรูปและไม่หายไป นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดนิ่วในไตจากการสะสมของผลึกยูเรตในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาจทำให้การทำงานของไตผิดปกติหรือเกิดภาวะไตวายได้
ไม่อยากเป็นโรคเกาต์ต้องทำยังไง?
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลฟรุกโตส
  • ลดการกินอาหารที่มีสารพิวรีนสูง เช่น สัตว์ปีก โดยเฉพาะบริเวณข้อ เครื่องในสัตว์ ยอดผักต่างๆ สัตว์หรือพืชที่กำลังอยู่ในช่วงเติบโต
  • กินอาหารที่มีวิตามินซีให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยขับกรดยูริคออกทางปัสสาวะ และไม่ทำให้เกิดการตกตะกอนในระบบทางเดินปัสสาวะที่อาจนำไปสู่การเกิดนิ่วในไต
  • พยายามรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • หากต้องกินยาบางประเภทเป็นประจำควรปรึกษาแพทย์ เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาเคมีบำบัดบางชนิด ยาแอสไพริน และยาลดความดันโลหิตบางชนิด
  • รักษาโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด โรคไต โรคเบาหวาน ให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้
อย่างไรก็ตามภาวะกรดยูริกในเลือดสูง มักตรวจพบในการตรวจสุขภาพ ฉะนั้นไม่ควรละเลยในข้อนี้ เพราะโรคเก๊าต์และโรคเรื้อรังต่างๆเหมือนกับโรคอื่นๆ ที่การตรวจพบความเสี่ยงเร็วก็จะช่วยให้เกิดการป้องกันที่ดี หรือหากพบโรคเร็วก็สามารถลดการลุกลามได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช และ โรงพยาบาลเปาโล
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
โฆษณา