22 ม.ค. เวลา 16:47 • ความคิดเห็น
คือธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบด้วยพระองค์เอง จากนั้นจึงนำมาประกาศ
กล่าวว่า เธอทั้งหลายจงดูเถิด, ภิกษุทั้งหลาย
"เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารทั้งหลายจึงมี"
ในกระบวนการนี้
ตถตา (ความเป็นอย่างนั้น)
อวิตถตา (ความไม่คลาดเคลื่อน)
อนัญญถตา (ความไม่เป็นอย่างอื่น)
อิทัปปัจจยตา (ความที่มีสิ่งนี้ เป็นปัจจัยของสิ่งนี้) ดังพรรณนามาฉะนี้แล
นี้คือ "ธรรมชาติ" ที่เรียกว่า
*ปฏิจจสมุปบาท
(ตอบเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวเนื่อง)
...อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า
"ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท
ผู้นั้นชื่อว่า เห็นธรรม
ผู้ใดเห็นธรรม
ผู้นั้นชื่อว่า เห็นปฏิจจสมุปบาท" ดังนี้.
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์)
"ผู้ใดแล เห็นธรรม
ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นเรา
ผู้ใดเห็นเรา
ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นธรรม"
(พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค, ๕. วักกลิสูตร)
สรุปว่า
ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท
ผู้นั้นชื่อว่า...เห็นธรรม
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่า...ย่อมเห็นเรา
(ตถาคต)
ปฏิจจสมุปบาท
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
1
โฆษณา