24 ม.ค. เวลา 03:21 • การตลาด

ตั้งราคาสินค้าอย่างไร…ให้ได้กำไรสูงที่สุด! 🛒 💸

ใครกำลังคิดจะกำหนดราคาสินค้าสักชิ้น แต่ยังไม่รู้ว่าจะตั้งราคาเท่าไหร่ถึงจะครอบคลุมต้นทุนและสร้างกำไรได้สูงสุด วันนี้ BEP Agency ได้รวมทริค 9 Pricing Strategies ที่จะช่วยคุณตั้งราคาเพื่อให้ได้กำไรสูงสุดมาให้แล้ว จะมีทริคอะไรบ้าง ไปดูกันเลย! 💡
💰 Pricing Strategy คืออะไร ?
Pricing Strategy คือ กลยุทธ์การตั้งราคาเพื่อให้ได้กำไรที่คุ้มค่าที่สุดจากการขายสินค้าหรือบริการ ซึ่งราคาที่กำหนดก็จะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของกลุ่มเป้าหมายและภาพลักษณ์ของแบรนด์
🔎 รวมทริค 9 Pricing Strategies มีอะไรบ้าง ?
🌟 Competition-Based Pricing Strategy
การตั้งราคาตามการแข่งขันในตลาดหรืออิงตามคู่แข่ง ซึ่งอาจปรับให้ถูกลงหรือแพงกว่าได้เล็กน้อย โดยเหมาะกับการตั้งราคาสินค้าที่อยู่ในตลาด Red Ocean เพราะสินค้าจะมีความต่างกันที่ราคา แต่เราแนะนำให้ใช้กลยุทธ์สร้างมูลค่าให้กับสินค้าร่วมด้วย เพื่อที่จะเอาชนะคู่แข่งด้วยการสร้างยอดขายและกำไรที่มากกว่า
🌟 Dynamic Pricing Strategy
การตั้งราคาแบบยืดหยุ่น เป็นการตั้งราคาแบบเพิ่มและลดตามความต้องการ (Demand) ของลูกค้าในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งจะใช้เครื่องมือ Algorithm ร่วมด้วย เพื่อวิเคราะห์และปรับราคาในแต่ละช่วงเวลาให้เหมาะสม โดยเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะกับธุรกิจโรงแรมและสายการบิน
🌟 Cost-Plus Pricing Strategy
การตั้งราคาโดยบวกกำไรจากต้นทุนของสินค้า หากอยากได้กำไรเท่าไหร่ก็เพิ่มราคาไปเท่านั้น แต่ก็ต้องสำรวจและวิเคราะห์ราคาตลาดก่อนตั้งด้วยนะ ไม่อย่างนั้นอาจคำนวณต้นทุนที่แท้จริงได้ยาก
🌟 High-Low Pricing Strategy
การตั้งราคาขายสูงไว้ก่อนในตอนแรก แต่จริง ๆ แล้วขายราคาต่ำกว่า หรือเรียกว่าขายราคาส่วนลดตลอดการขาย เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่าทุกครั้งที่ซื้อสินค้าของเรา รวมถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ก็จะดูแพงตามราคาสินค้านั่นเอง
🌟 Skimming Pricing Strategy
การตั้งราคาไว้สูงในช่วงแรกของการเปิดตัวสินค้า แล้วจะมีการลดราคาลงเรื่อย ๆ ตามกระแสความนิยมของสินค้าที่ลดลง โดยกลยุทธ์นี้มักจะใช้กับสินค้าเทคโนโลยีที่จะมีการผลิตสินค้ารุ่นใหม่ ๆ ออกมาทุกปี ซึ่งลูกค้าจะฮือฮากันในช่วงแรก ๆ เท่านั้น พอเวลาผ่านไปสินค้ารุ่นเก่าก็จะมีความนิยมลดลง ทำให้แบรนด์ต้องลดลราคาลง เพื่อที่จะให้ธุรกิจสามารถคืนทุนได้ในเวลาอันรวดเร็วนั่นเอง
🌟 Penetration Pricing Strategy
การตั้งราคาแบบเจาะตลาด เป็นการตั้งราคาสินค้าให้ถูกมาก ๆ เพื่อรุกเข้าตลาดในข่วงเปิดตัว เรียกความสนใจจากกลุ่มเป้าหมาย แถมยังสามารถแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากเจ้าถิ่นได้ด้วยอีกด้วย! แต่ยังไงก็ตามการ Dump ราคาลงแบบนี้จะไม่ค่อยเป็นแผนที่ยั่งยืน คุณจะต้องมีแผนการตลาดสำรองเมื่อถึงเวลาที่ต้องอัพราคาสินค้าสูงขึ้น
🌟 Value-Based Pricing Strategy
การตั้งราคาตามมูลค่าของสินค้าและอยู่ในเกณฑ์ที่ลูกค้ายินดีจ่าย เป็นการตั้งราคาที่สมเหตุสมผล เช่น ร้านอาหารที่ใช้วัตถุดิบดีมีคุณภาพ ลูกค้าก็จะยอมจ่าย แถมยังได้รับความเชื่อมันในแบรนด์จากลูกค้าอีกด้วย
🌟 Psychological Pricing Strategy
การตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา เช่น การตั้งราคาที่ลงท้ายด้วยเลข 9, ซื้อ 1 แถม 1, ซื้อชิ้นที่ 2 ลด 50% หรือการใช้เลือกสีตัวอักษร ขนาดตัวอักษร ฟอนต์ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นการเล่นกับจิตวิทยาของมนุษย์เพื่อกระตุ้นความรู้สึกต่อการตัดสินใจซื้อ ทำให้แบรนด์มียอดขายและกำไรที่เพิ่มขึ้น
🌟 Geographic Pricing Strategy
การตั้งราคาตามภูมิศาสตร์ โดยจะคำนวณจากต้นทุนการขนส่งเป็นหลัก ส่วนใหญ่มักจะใช้กลยุทธ์นี้กับธุรกิจร้านอาหาร เช่น วัตถุดิบที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ หรือการวิ่งรถไปรับวัตถุดิบจากต่างจังหวัดทุก ๆ วัน เพื่อที่จะทำให้อาหารมีความสดใหม่ทุกจาน เป็นต้น
นอกจากนี้แล้วการตั้งราคาก็ขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัย ทั้งวัตถุประสงค์ทางการตลาด เป้าหมายของแบรนด์ ราคาของคู่แข่ง รวมถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ดังนั้นเราแนะนำว่าให้เลือกใช้ทริคเหล่านี้พร้อมกับวิเคราะห์ปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติมร่วมด้วย เพื่อให้ธุรกิจมุ่งสู่การสร้างกำไรอย่างยั่งยืนที่สุด! 🔥
📢 ทางทีม BEP Digital Agency ยินดีให้คำปรึกษาและรับทำ Digital Marketing แบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น SEO, Google Ads, Content Marketing และ Social media Ads นอกจากนี้เรายังมีบริการในด้านของ Design ทั้งรับออกแบบเว็บไซต์, UX/UI, Media design และ Branding
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
#BEPGROUP #PricingStrategy #รับทำการตลาด #การตลาดออนไลน์
โฆษณา