2 ก.พ. เวลา 14:11 • สุขภาพ

เราจะหลุดออกจากวงจรของการซึมเศร้าได้ยังไง

by Dr.K ช่อง HealthyGamerGG (Youtube)
สวัสดีเพื่อนๆ วันก่อนเราไถ Youtube เจอคลิปของ Dr.K จิตแพทย์ชาวอินเดีย (แต่จบที่เมกา) อธิบายเรื่องวงจรปัญหาของคนที่เป็นโรคซึมเศร้า และวิธีออกจากวงจรนั้น ซึ่งมีความน่าสนใจมาก เพราะ ปกติอย่างที่รู้ๆ กัน คนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะชอบมองโลกในแง่ลบ คิดลบกับตัวเองเสมอๆ แต่อะไรคือเหตุผลจริงๆ ที่ทำให้คนเป็นโรคซึมเศร้าคิดแบบนั้น
โดยปกติกระบวนการของการตอบสนองเวลาคนเราเจอเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิต ก็จะเริ่มจากประสาทสัมผัสต่างๆ รับรู้เข้ามา แล้วเกิดการตีความ ตีความเสร็จเกิดความรู้สึก แล้วแสดงออกใช่มั้ยคะ ทีนี้เมื่อเกิดเหตุการ์กระตุ้นเหตุหนึ่งที่อาจจะร้ายแรง หรือเป็นด้านลบ (Inciting Event) คนปกติที่ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า จะสามารถหายจากเหตุการณ์นั้นได้โดยกระบวนการปกติ (Recover) แต่ในสมองของคนเป็นโรคซึมเศร้า ไม่สามารถ Recover ได้
ปัจจัยก็คือ เหมือนที่สายตาของคนเรามีจุด Blind spot หรือจุดบอดที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ เช่นเดียวกับในสมองของชาวซึมเศร้า
เมื่อรับรู้เหตุการณ์หนึ่งเข้ามา (Perception) จะเกิด Cognitive Bias ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ซึ่ง Cognitive Bias นี้ จะแบ่งย่อยๆ เป็น 3 ประเภท
1. Negative interpretation of ambiguous event (การตีความเชิงลบจากเหตุการณ์กำกวม)
2. Select Bias toward the Negative (การมีอคติในการเลือกรับข้อมูลด้านบวก)
3. Overgeneralization of memory (การตีความเหมารวมจากเหตุการณ์ลบที่เคยเกิดขึ้นกับตัวเอง)
ยกตัวอย่างการตีความของคนเป็นโรคซึมเศร้า
- เรากำลังชงกาแฟช่วงพักเบรค มีเพื่อนร่วมงานเดินเข้ามา ยืนชงกาแฟในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ไม่ได้ทักทายเรา เราเกิดการคิดไปแล้วว่าเพื่อนร่วมงานคนนี้ที่ไม่ชอบเราแน่เลย (อันนี้จะไปลงล็อคข้อ 1 เพราะเหตุการณ์กำกวม แต่เราตีความในเชิงลบ)
- หัวหน้าชมงานของเราว่าทำได้ดีมาก แต่เราเกิดความสงสัย ทำได้ดีจริงหรอ ไม่เชื่อในงานตัวเอง และสุดท้ายก็เลือกที่จะ ignore คำชมนั้นไป (ลงล็อคข้อ 2 ไม่รับข้อมูลด้านบวก)
- มองว่าตัวเองเป็นภาระของคนรอบข้าง เพราะ แฟนเก่าที่เลิกไปบอกว่าเราเป็นภาระ ต้องอยู่คนเดียวไปจนตาย (ลงล็อคข้อ 3 เหมารวมว่าคนรอบข้างทุกคนคิดเหมือนแฟนเก่า)
ประเด็นก็คือ ถ้ามองดีๆ คนปกติจะตีความเป็น 0,+1,-1 (ตามลำดับตัวอย่างด้านบน) แต่ในสมองของชาวซึมเศร้าตีความเป็น -1,0,-1 ทำให้ในภาพรวมชีวิตของคนซึมเศร้านั้นติดลบ ดูเหมือนทุกอย่างจะแย่ไปหมด
ลองดูตัวอย่างอีกที
เรื่องเพื่อนที่ทำงานไม่ทักทาย (friendship)
เรื่องงาน (work)
เรื่องแฟนเก่า (romantic)
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ everything is going wrong at the same time and all parts of my life
= I am bad ชีวิตเราทำไมโคตรห่วยแตกในทุกๆ ด้านเลยวะ
นำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า NSA (Negative Self attitude = the way that you see yourself is very negative) คือ วิธีที่คุณมองตัวเองมันโคตรจะลบเลย
Dr.K บอกว่า เพราะ ปัจจัยหลักๆ มันอยู่ที่การรับรู้ข้อมูลมาตีความ หรือวิธีการมองโลกของผู้ป่วย (Perception) หมอทำได้แค่พูด แนะแนวทาง ปลอบใจ และให้ยา (words and actions) ไม่สามารถเข้าไปในสมองคุณเพื่อเปลี่ยนวิธีการที่คุณมองโลกได้
แล้วต้องแก้ยังไง?
Dr.K แนะนำให้ฝึกโยคะ เพราะ การฝึกโยคะทำงานกับความคิดภายในตัวเองโดยตรง เป็นจุดแข็งที่ยาแผนปัจจุบันไม่มี (ยา หรือวิธีรักษาในปัจจุบัน ทำงานจากภายนอกเข้าข้างใน) = Training your perception หรือในทางพุทธเอง ก็มีเรื่องของการ Purify your perception (เอาเป็นว่าฟังแล้วไม่รู้เหมือนกันว่าภาษาไทยคือหลักเรื่องอะไร)
การมองโลกแบบ Materiality หรือการมองแบบโลกแบบเป็นรูปธรรมก็ช่วยได้ ตัวอย่างเช่น เจอหมาตัวนึง เราอาจจะมองว่ามันน่ารัก ขี้อ้อน แต่จริงๆ สิ่งที่เราเห็นคือ สิ่งมีชีวิตเรียกว่าหมา ตัวสีดำ ขนาดไม่ใหญ่ มีขนสั้น นั่งกระดิกหาง ที่เราอธิบายหมาตัวนั้นว่าน่ารัก ขี้อ้อน จริงๆ แล้วไม่ใช่ความจริง แต่การที่เรารู้สึกว่าหมาน่ารัก ขี้อ้อน เกิดจากความคิดเราเอง ตีความสิ่งนี้จากความทรงจำ (อธิบายเพิ่ม : ลองถามคนที่กลัวหมา ก็อาจจะไม่ได้มองว่าน่ารัก เพราะ เคยโดนหมากัดแล้วฝังใจ) ให้พูดอีกอย่าง คือ ฝึกมองโลกอย่างที่มันเป็น
อธิบายเพิ่มประเด็นปัญหาเรื่องการตีความเรื่องกำกวม Interpretation of Ambiguous stimuli ชาวซึมเศร้า จะตีความหมายเรื่องกำกวม เป็นเรื่องลบไว้ก่อน
คนปกติ จะตีความหมายเรื่องกำกวม เป็นกลาง หรืออาจจะบวกหรือลบก็ได้
ซึ่งการฝึกมองโลกแบบเป็นรูปธรรมสามารถแก้ปัญหา Cognitive bias ข้อ 1-2 ได้ แล้วข้อ 3 ล่ะ จะแก้ยังไง
Overgeneralization ทำให้ชาวซึมเศร้ามองทุกอย่างจากมุมของตัวเอง (Everything is about me) ชีวิตฉันแย่ ฉันกำลังเศร้า ฉันไม่มีแรงลุกไปทำอะไร ฉันกำลังเจ็บปวด ทุกคนไม่ชอบฉัน ฉันเป็นภาระของทุกคน
ฝึกได้โดยการลองคิดแบบเอาตัวเองออกจากประโยค หรือเหตุการณ์นั้นๆ ดูก่อน เช่น เรื่องที่เพื่อนร่วมงานไม่ทักทายเรา อาจจะไม่ใช่เพราะ เขาไม่ชอบเรา แต่เขากำลังมีเรื่องที่กำลังคิดมาก ปัญหาที่บ้าน ปัญหากับแฟน ทะเลาะกับเพื่อน เลยไม่ได้ใส่ใจในการทักทายเราเฉยๆ หรือวิธีอีกอย่างคือหาหลักฐานสนับสนุนที่เป็นจริงและเห็นได้ชัด ว่าทำไมเขาถึงต้องไม่ชอบเราด้วย ถ้าหาไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งคิดว่าเขาไม่ชอบเรา
Dr.K พูดประเด็นสุดท้ายถึงเรื่องของ Depressive realism ในการศึกษาเรื่องนี้พบว่า Depressed people are better at judging the reality of the world accurately หรือก็คือ ชาวซึมเศร้าตัดสินโลกความเป็นจริงได้ถูกต้องกว่าคนปกติ ฟังดูประหลาดและย้อนแย้ง ตัวอย่างคือ การซื้อล้อตเตอรี่ จริงๆ โอกาสในการถูกรางวัลที่ 1 มันมีน้อยมากๆ แต่คนส่วนมากที่ซื้อล้อตเตอรี่เพราะคิดว่ามีโอกาสถูกรางวัลและจะเป็นผู้ชนะในที่สุด
แล้วสรุปว่าการมองโลกแบบนี้ไม่ดีหรอกหรอ แต่จริงๆ แล้วคนที่มีสุขภาพจิตที่ดีส่วนมากบนโลกนี้ มองโลกในแง่ดีกว่าความเป็นจริงนั่นเอง ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องจำเป็นในการใช้ชีวิต (ที่เราเข้าใจเอาเองว่าสิ่งนี้ก็คือ การมีความหวังล่ะนะ)
Disclaimer : เราไม่ใช่บุคคลากรทางการแพทย์ เราเขียนโพสนี้จากการฟังคลิปและยกตัวอย่างเพิ่มเติมจากความเข้าใจของตัวเอง หากมีข้อสงสัย ความเห็นที่แตกต่าง หรือข้อมูลผิดพลาด สามารถแสดงความเห็นด้วยข้อความที่สุภาพได้เลยนะคะ
โฆษณา