9 ก.พ. เวลา 06:17 • การศึกษา
วัดพระธรรมกาย

มีสติสัมปชัญญะ

การทำสมาธิก่อให้เกิดการมีสติสัมปชัญญะที่ดีขึ้น ซึ่งพระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ1 ได้อธิบายไว้ดังนี้สติ คือความระลึกนึกได้ถึงความผิดชอบชั่วดี เป็นสิ่งกระตุ้นเตือน ให้คิดพูดทำในสิ่งที่ถูกต้องทำให้ไม่ลืมตัว ไม่เผลอตัว ใช้ปัญญาพิจารณา ใคร่ครวญสิ่งต่างๆ ได้ธรรมชาติของจิตมีการนึกคิดตลอดเวลา การนึกคิดนี้ถ้าไม่มี สติกำกับ ก็จะกลายเป็นความคิดฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ แต่ถ้ามีส ติกำกับแล้ว จะทำให้ไม่เผลอ ควบคุมความนึกคิดได้ไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอยไป ไม่ปล่อยอารมณ์ให้เป็นไปตามสิ่งที่มากระทบ
การทำสมาธิก็คือการทำให้สติมั่นคง ไม่วอกแวก คนที่ทำสมาธิเนืองๆ ใจของเขาจะอยู่กับตัวไม่วอกแวก เขาจะเป็นคนไม่ทำอะไรอย่างขาด สติ แบบหลงๆ ลืมๆ ใจของเขาจะอยู่ที่ศูนย์กลางกาย เราจะเห็นว่า คนที่ทำสมาธิดีจะเป็นคนที่คุยกันได้รู้เรื่อง และใจของเขาจะจดจ่อในเรื่องที่ทำเสมอ
การฝึกสมาธิเป็นการฝึก สติโดยตรงให้ใจตั้งมั่น และรู้ตัวในทุกอิริยาบถที่เคลื่อนไหว ซึ่งจะให้อานิสงส์ดังต่อไปนี้
1. ควบคุมรักษา ภาพจิตให้อยู่ในภาวะที่เราต้องการ โดยการตรวจตราความคิด เลือกรับสิ่งที่ต้องการไว้ กันสิ่งที่ไม่ต้องการออกไป ตรึงกระแ ความคิดให้เข้าที่ เช่น จะดูหนังสือก็ สนใจคิดติดตามไปตลอด ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่คิดเรื่องอื่น
2. ทำให้ร่างกายและจิตใจอยู่ใน ภาพเป็นตัวของตัวเอง ไม่เป็นทาสของอารมณ์ต่างๆ เช่นความโกรธเคือง ความลุ่มหลงมัวเมา จึงมีความโปร่งเบา ผ่อนคลาย เป็นสุขโดย ภาพของมันเอง พร้อมที่จะเผชิญความเป็นไปต่างๆ และจัดการกับสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องเหมาะสม
3. ทำให้ความคิดและการรับรู้ขยายวงกว้างออกไปได้โดยไม่มีสิ้นสุด เพราะไม่ถูกบีบคั้นด้วยกิเลสต่างๆ จึงทำให้ความคิดเป็นอิ ระมีพลัง เพราะมี ติควบคุม เสมือนเรือที่มีหางเสือควบคุมอย่างดีย่อมสามารถแล่นตรงไปในทิศทางที่ต้องการได้โดยไม่วกวน
4. ทำให้การพิจารณา สืบค้นด้วยปัญญาดำเนินไปได้เต็มที่ เพราะมีความคิดที่เป็นระเบียบ และมีใจซึ่งมีพลังเข้มแข็ง จึงเป็นการเสริมสร้างปัญญาให้บริบูรณ์
5. ชำระพฤติกรรมทุกอย่าง ทั้งกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ เพราะมีสติมั่นคง จึงไม่เผลอไปเกลือกกลั้วบาปอกุศลกรรม ทำให้พฤติกรรมต่างๆ เป็นไปด้วยปัญญาหรือเหตุผลที่บริสุทธิ์
จากหนังสือ DOU วิชา MD 101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมาธิ
โฆษณา