13 ก.พ. เวลา 00:58 • เกม

โพสต์นี้เกิดจากความไม่สบายใจล้วน ๆ เลยครับ (ซึ่งผมจะเกริ่นนานไปไหม!!!)

โอเคครับ จริง ๆ โพสต์นี้เกิดจากความไม่สบายใจของผมเองนี่แหละครับ ที่รู้สึกว่า การที่เราจะ claim หรือการนำเอาอะไรบางอย่างไปใช้ ถ้ามันไม่ถูกพิสูจน์ว่าเป็นจริงทุกกรณีมันจะเกิดข้อสงสัยขึ้นมาได้ครับ
โพสต์ที่แล้ว :
video ประกอบการอธิบาย :
ซึ่งใครก็ตามที่เคยหาวิธีพิสูจน์ความคิดตัวเอง หรือเกี่ยวข้องกับความเป็นวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์เนี่ยครับ ก็ต้องรู้สึกไม่สบายใจเหมือนกับผมแน่นอนครับ
แต่ก่อนหน้าที่เราจะเข้าสู่หัวข้อการพิสูจน์หรือการทดลองเนี่ยครับ เราต้องมาทำความเข้าใจหรือมองเห็นถึงความสำคัญตรงนี้สักหน่อยครับ
ว่าทำไมการพิสูจน์ว่าเป็นจริงทุกกรณีถึงสำคัญ
เพราะ บางคนหรือแม้กระทั่งในโลกของการดำเนินชีวิต การดำเนินการอะไรบางอย่างในโลกของความเป็นจริงเนี่ยครับ มันไม่จำเป็นต้องพิจารณาในกรณีทั่วไปก็ได้ครับ
เจาะจงในบางกรณีไปเลยแล้วถ้ามันใช้ได้ หรือผลออกมา work แค่นั้นก็เพียงพอที่จะใช้อธิบายแล้วใช่ไหมครับ
ซึ่งใช่ครับ เพราะ ถึงแม้เราจะบอกว่าเรามีนิยามในกรณีทั่วไป แต่เราก็ปรับค่าบางอย่างทำให้เกิดเงื่อนไขในกรณีหนึ่งที่เราต้องนำไปใช้ใช่ไหมครับ
หรือถ้าให้ยกตัวอย่างก็อย่างเช่น ตอนมัธยมต้นเราก็เริ่มได้เรียนสมการพหุนามกันใช่ไหมครับ ซึ่งเราก็จะได้เรียนทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับมัน
Polynomial for Power Series
และเราก็จะเริ่มลดดีกรีพิจารณาลงให้เหลือ 2 แล้วก็จะเข้าสู่หัวข้อภาคตัดกรวย
Conic Sections
ซึ่งถ้าเขียนให้ทุกสมการ ทุกกราฟ อยู่ในรูปเดียวก็จะเป็นความสัมพันธ์ภายใต้ f ใช่ไหมครับ
ซึ่งรูปร่างต่าง ๆ ของกราฟก็จะเป็นการปรับค่าสัมประสิทธิ์หน้าพจน์ x² หรือ y² ซึ่งก็จะทำให้เกิดกราฟรูปร่างต่าง ๆ ขึ้น
ถ้าเรานำมาปรับใช้ในชีวิตจริง ก็อาจจะนำลักษณะของพารามาคำนวณหากำไร ขาดทุน ของการตั้งราคาสินค้าโดยใช้จุดวกกลับเป็นเกณฑ์ก็เป็นไปได้ถูกไหมครับ
(ซึ่งถ้าจำกันได้ นี่เป็นโจทย์มัธยมปลาย แต่อยู่ในเรื่องแคลคูลัสครับ555)
ซึ่งสมการพหุนามตอนมัธยมต้น เราก็จะพิจารณากันในกรอบของจำนวนจริงใช่ไหมครับ ซึ่งพอขึ้นมัธยมปลายก็จะเริ่มพิจารณามันในกรอบของจำนวนเชิงซ้อนครับ
ซึ่งมันอาจจะดูเหมือนจะหาเอาไปใช้ยาก แต่หลาย ๆ อย่างต่อจากนั้นก็เกิดจากพื้นฐานตรงนี้ทั้งสิ้น
ถ้าให้ยกตัวอย่างก็จะเป็นเหล่า Power Series ต่าง ๆ ที่เราเรียนกันในระดับมหาลัย ซึ่งก็เป็นกรณีหนึ่งในรูปแบบของพหุนามครับ
หรือถ้าให้ยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวพวกเราหน่อย ก็จะเป็นเลขฐานต่าง ๆ ที่เกิดจากพหุนามที่แทนเลขฐานในดีกรีต่าง ๆ และสัมประสิทธิ์ก็เป็นการแทนเลขโดดประจำหลักครับ
Simple Number on denary/binary numerical systems
จากตัวอย่างที่ผ่านมา จะสังเกตเห็นได้ว่าทุกอย่างเหมือนจะเป็นคนละเรื่องกัน แต่ความจริงแล้วมาจากทฤษฎีเดียวกัน แค่แบ่งกรณีออกไป แต่สมบัติก็ยังคงเดิม
ซึ่งถ้าสมมติเราไม่รู้ Idea ของพหุนามเลย ทุกคนคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นครับ เหล่ากรณีที่ถูกแบ่งออกไปก็อาจจะมีการตั้งเป็นทฤษฎีบทของใครของมันไป และเนื้อหามันก็อาจจะทับซ้อนกันได้ใช่ไหมครับ
ซึ่งลองคิดว่าทุก ๆ อย่างเป็นแบบนี้ดู ผมบอกเลยว่า ความไร้ระเบียบนี้ ต้องทำคนที่ใช้ คนที่ศึกษา ตายก่อนแน่ ๆ ครับ555
เราเลยต้องมาจัดระเบียบมัน เพื่อให้เข้าใจง่าย (ที่ไม่ง่าย) และหาความเชื่อมโยงบางอย่างที่เราจะใช้ทฤษฎีบทหรือบทนิยามเดียวในการอธิบาย จะทำให้เกิดความเรียบง่ายและสวยงามครับ
หรือถ้ามองในอีกมุมมองหนึ่ง เราเวลาเจออะไรใหม่ ๆ เนี่ยครับ เราก็จะได้มองเห็นมันอย่างถูกต้องมากขึ้น ว่ามันเป็นทฤษฎีที่อธิบายได้กว้างกว่าทฤษฎีเดิมที่มีอยู่แล้ว หรือเป็นเพียงกรณีหนึ่งของทฤษฎีที่เคยสร้างไว้
หรือในเชิงการพิสูจน์ เราก็จะแทนตัวเลขหลาย ๆ ตัวด้วยตัวแปรและหากการพิสูจน์นั้นเป็นจริง ตัวเลขหลาย ๆ ตัวนั้นก็จะอยู่ภายใต้สถายการณ์เดียวกันและก็จะเป็นจริงตามไปด้วย
จากที่กล่าวมาเราเลยหนีไปไหนไม่ได้และเหมือนขายวิญญาณให้กับการมองตัวเลขต่าง ๆ ให้เป็นบางค่าไม่ได้
ซึ่งเราจำเป็นต้องมองด้วยตัวแปรและเรียกการพิจารณาในลักษณะนี้ว่า "กรณีทั่วไป" นั่นเองครับ
ซึ่งเวลาเราจะบอกว่ามันจริง ก็คือ ต้องจริงในกรณีทั่วไปครับ ถ้ามันจริงแค่บางกรณี หมายความว่าเมื่อแทนบางเลขเข้าไปมันอาจจะไม่จริงก็ได้ครับ
ซึ่งมันก็อาจจะเป็นปัญหาเมื่อเราเริ่มพิจารณากรณีนั้นครับ หรือเมื่อเจอสถานการณ์คล้าย ๆ กันเราก็จะสามารถใช้การพิสูจน์มาอธิบายได้เลย โดยที่ไม่ต้องมาคิดเลขกันใหม่ เพราะ มันก็คือกรณีเดียวกัน แค่อาจจะต่างกันที่ตัวเลขเฉย ๆ ครับ
ในส่วนนี้สามารถไปดูกรณีทั่วไปของเรื่องต่าง ๆ ใน Series Pure Math ได้เลยครับผม
ซึ่งด้วยแนวความคิดแบบนี้เอง เมื่อเราเห็นหรือได้ยินอะไรที่มันก็จริงนะ แต่มันจะจริงทุกกรณีรึเปล่า ?
เราจะรู้สึกว่าเราสามารถกล่าวแบบนั้นและนำไปใช้จริงในสถานการณ์ที่คล้าย ๆ กันได้เลยเหรอ
ตอนนี้เราแค่อาจจะยังนึกสถานการณ์ที่ขัดแย้งไม่ออกเฉย ๆ รึเปล่า หรือถ้ามันจะจริงทุกกรณี อะไรที่บอกว่ามันจริงในทุกกรณี
ซึ่งตรงนี้ ถ้าไม่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ก็จะเป็นเรื่องของการสื่อสารครับ เช่น บางคนเช่นผมก็ดูพูดอะไรกว้าง ๆ อธิบายซ่ะยาวเยียด เพื่อให้คำพูดของเราครอบคลุมทุกกรณีที่เราอยากจะสื่อ
หรือไม่ก็บางคนก็ใช้บรรทัดฐานหรือใช้เพียงประสบการณ์ของตัวเองเท่านั้นในการตัดสินใจหรือบอกให้คนอื่นทำอะไรบางอย่าง ซึ่งนั่นก็อาจจะแค่กรณีเฉพาะของคน ๆ นั้นก็เป็นได้
จากที่เกริ่นมาทั้งหมดนี้ ก็จะเป็นบทนำของการเข้าสู่โพสต์ครับ เพราะว่า ผมไม่สบายใจที่ผมนำแนวคิดของผมมานำเสนอเลย โดยที่ทุกอย่างเกิดจากการตั้งข้อสังเกตเพียงอย่างเดียว
ซึ่งจริง ๆ กว่าจะได้แต่ละโพสต์หรือคลิป เวลาที่ผมใช้ไปส่วนใหญ่ ไม่ใช่เรื่องของการคิดเลขหรือการตัดต่อเลยครับ … ส่วนใหญ่มันคือเรื่องการหาวิธีการนำเสนอนี่แหละครับ555
การจะเขียนบทเสร็จ กว่าจะหาเวลาอัด ซึ่งบอกตามตรงว่า ผมเป็นคนที่พูดแล้วไม่ค่อยพอใจในคำพูดของตัวเองเท่าไหร่ครับ อัดวนคำเดิมอยู่นานมากครับ555 แล้วก็ถ้าวันไหนไม่มี mood ก็ไม่อารมณ์ทำอะไรเลยครับ555
ซึ่งความรู้สึกที่ไม่มีตัวอย่างมากพอหรือบทพิสูจน์ก็ติดอยู่ในใจผมมาตั้งแต่ตอนเขียนบทแล้วครับ555 นั่งเอาใส่ ไม่เอาใส่ ความคิดตีกันอยู่ในหัว
ซึ่งสุดท้ายผมก็ตัดสินใจไม่ใส่ดีกว่า เพราะว่า ผมคิดว่าตอนเราเล่นจริง ๆ เนี่ยครับ คงไม่มีใครมานั่งมองกันแบบเป๊ะ ๆ หรอกครับ ส่วนใหญ่เราก็จะอาศัยการประมาณเพื่อเล่นเอา
ซึ่งผมคิดว่าการที่นำเสนอเช่นในคลิปจะทำให้เราเริ่มมองมันในทางที่ดีขึ้น เพราะ อย่างที่เห็น เราไม่จำเป็นต้องมามาจับปากกาคิดเลขก็ได้นี่นา แค่เราประมาณปรับค่าให้ตามเงื่อนไขก็ได้แล้ว
ถ้าอยากคิดเลขจริง ๆ เราค่อยมานั่งคิดกัน ผมอยากที่จะให้ทุกคนที่ได้ดูคลิปคิดแบบนั้นจริง ๆ ครับ เพื่อที่ในอนาคตเมื่อถึงเวลาต้องคิดเลขอะไรบางอย่างที่ไม่ใช่แค่กับเรื่องนี้เท่านั้น
เราจะได้มีความอยากหรือความตั้งใจที่จะคิดมันจริง ๆ ด้วยความสนุกที่ได้ลองคิดเอง ที่เกิดจากความอยากรู้ ไม่ใช่ เพราะ มันจำเป็นต้องคิด ก็เลยต้องจำใจคิด ผมไม่ค่อยอยากให้คิดแบบนั้นครับ
ซึ่ง … ผมก็ไม่รู้ว่าความรู้สึกนี้ของผมจะส่งไปหาทุกคนรึเปล่านะครับ555 เพราะว่า ถ้าให้เอาเข้าจริง ผมก็เลี่ยงที่จะไม่ยกความสัมพันธ์เชิงคณิตศาสตร์มาให้ดูไม่ได้ เพราะ ก็จะไม่รู้ว่าเลขมาจากไหนครับ
และตัวเลขจริง ๆ ก็ไม่ได้จะตรงกับที่เราประมาณทั้งหมด หากบางคนนำไปคิดต่อก็อาจจะเกิดข้อขัดแย้งขึ้นมาได้ครับ
งั้นไหน ๆ ก็ไหน ๆ วันนี้ก็กลับมาสู่ช่วง หงุดหงิดสมองโต กันอีกครั้งแม้ว่าจะดูยุ่งยากไปหน่อย แต่เรามาอธิบาย spd หรือสิ่งที่เราได้กันหน่อยดีกว่าครับ ว่ามันมาได้ยังไงครับ หรือถ้าคิดให้แม่นยำมากขึ้นจะเป็นยังไง
โดยก่อนอื่น เราจะมาเริ่มจาก basic idea ของการเข้าเทิร์นกันก่อนดีกว่าครับ
ซึ่งเราก็ไม่ต้องคิดเยอะเลยถูกไหมครับ แค่เราคิดว่าเกจเต็มก็เข้าเทิร์นถูกไหมครับ งั้นการที่ตัวที่ spd สูงสุดจะได้เล่นก่อนก็หมายความว่าเกจของตัวนั้นจะ 100% ก่อน เมื่อเริ่มการต่อสู้ถูกไหมครับ
ถ้าเช่นนั้น ตัวที่ spd ลดหลั่นลงมา เกจเมื่อเริ่มการต่อสู้มันจะเป็นเช่นไร ?
เกจที่ปรากฎให้เราเห็น (ซึ่งผมขออนุญาตเรียกว่า "เกจปรากฎ" นะครับ) เมื่อเริ่มการต่อสู้ ถ้าคิดกันแบบง่าย ๆ มันก็ควรจะเป็นสัดส่วน spd ของมอนตัวนั้นเทียบตัวที่ spd สูงสุดใช่ไหมครับ
เพราะว่า ไม่เช่นนั้น spd ที่เราทำมามันก็จะไม่มีความหมายหรือแสดงนัยยะอะไรได้เลย หากไม่เข้าเทิร์น
ถ้าเช่นนั้นเราก็จะทดสอบสมมติฐานด้วยการลองทดสอบกับมอนที่เรารู้ spd อยู่แล้วกันดีกว่าครับ ด้วยมอนเซ็ตนี้ครับ
นั่นคือม้าน้ำที่ spd รวมคือ 250
Total SPD : 250
Total SPD : 125
Total SPD : 188
จากการทดลอง ก็จะเห็นได้ว่าเกจที่ปรากฎให้เราโดยประมาณก็เป็นไปตามสมมติฐานใช่ไหมครับ
Proportion
ซึ่งก็คือเกจของมอนที่ spd = 125 จะแสดงเกจที่ 50% ,
มอนที่ spd = 188 แสดงเกจที่ 75% และ
มอนที่ spd = 250 จะแสดงเกจที่ 100%
เมื่อเริ่มการต่อสู้
เราก็เลยจะใช้ผลลัพธ์ตรงนี้มาเขียนเป็นความสัมพันธ์ของเกจที่ปรากฎในตอนเริ่มเทิร์นได้ดังนี้เลยครับ
Rule of three Relations
ซึ่งเราก็จะคิดว่ามอนทุกตัวจะมีวิธีคิดเกจที่ปรากฎแบบนี้ทุกตัว หรือก็คือมอนทุกตัวเรียกใช้ฟังก์ชันเดียวกันนั่นเองครับ
เพราะไม่เช่นนั้น ทางทีมงานก็ต้องเขียนเงื่อนไขพิเศษในโปรแกรมของเกมใช่ไหมครับ ซึ่งก็น่าจะยุ่งยากน่าดู
(ตรงนี้ถ้าผิดยังไงขออภัยนะครับ555 ผมคิดจากมุมมองของการเขียน code base ให้โครงสร้างเข้าใจง่ายครับ)
เมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็เลยจะใช้สมการนี้เมื่อเรารู้ spd ที่มากที่สุดกับเกจที่ปรากฎ เราก็จะได้ spd ของมอนโดยประมาณแล้วใช่ไหมครับ
ซึ่งเราจากการประมาณด้วยสายตาของเราเมื่อครั้งที่แล้วเนี่ยครับ จะได้ spd ของเสาค่าประมาณ 3/4 ของ 240 หรือก็คือ 180 หน่วยใช่ไหมครับ
The last Spd Proportions
ซึ่งหากเรานำค่าประมาณตรงนี้ไปใช้ มันจะเกิดกรณีที่ spd ของดัลซิมที่ต่ำกว่า 180 หน่วยหรือนก สามารถออกก่อนเสาได้ครับ
นั่นหมายความว่าจริง ๆ แล้วค่าประมาณของเราอาจจะสูงเกินจริงครับ งั้นเพื่อให้เกิดความแม่นยำเราก็จะมาต่อกันที่อีกเงื่อนไขหนึ่ง นั่นก็คือ ตัวที่ spd สูงกว่าจะได้ออกก่อนใช่ไหมครับ
โดยที่ถ้าเราเล่นกับบอท ถ้าเรา spd เท่ากันเราจะได้เล่นก่อนครับ ซึ่งเราก็จะค่อย ๆ ปรับค่า spd ของดัลซิมหรือนกให้ลดลงเพื่อหาจุดที่ออกที่หลังเสาใช่ไหมครับ
(ตรงนี้สามารถไปดูสถานการณ์ประกอบในวิดีโอได้เลยครับ)
เราก็จะได้ว่า Dhalsim ที่มี spd ตามหลังอยู่ที่ 52 หน่วยหรือ Konamiya ที่มี spd ตามหลังอยู่ 64 หน่วยจะเป็น spd ที่ต่ำที่สุดที่จะทำให้ออกก่อนเสาใช่ไหมครับ
Dhalsim's Minimum SPD I
Konamiya's Minimum SPD I
ซึ่งเมื่อเราคำนวณหา SPD รวมก็จะได้เท่ากับ 169 ซึ่งเราก็จะนำไปเป็น spd ของเสาได้ครับ
Solution I
ซึ่งคำถามต่อไปก็คือเกจจะเพิ่มขึ้นเช่นไร ?
ถ้าเราใช้ความคิดเดิม ตัวที่เพิ่งผ่านเทิร์นไปเกจจะเป็น 0 และตัวที่ spd หรือเกจรองลงมา เกจจะ 100% แทน
ซึ่งเมื่อเกจเป็น 0 เรา หากเราจะไปเทียบเช่นเดิมก็ไม่ได้ใช่ไหมครับ เพราะว่า spd ณ ตอนนั้นเราไม่รู้ว่าเป็นเท่าใด แต่เมื่อเทิร์นผ่านไปเกจจะเพิ่มขึ้นใช่ไหมครับ
เราก็เลยจะสมมติว่ามีตัวคูณบางตัวที่ของ spd ทำให้เกิดเกจปรากฎในแต่ละครั้ง เราก็จะเขียนมันให้อยู่ในรูปนี้ครับ
Solution II
เมื่อผ่านไป n เทิร์นนั่นเองครับ ซึ่งจริง ๆ แบบนี้ดูวุ่นวายอีกครับ555 เพราะ ค่าของเกจจะอยู่บนช่วงประมาณ 0 - 100 ซึ่งเมื่อ n มากขึ้น ค่ามันจะวนใช่ไหมครับ
ซึ่งถ้าเราเขียนให้ดูชัดเจนมากขึ้นไปอีกก็จะเป็นดังนี้ครับ
Solution III
เราก็เลยจะมาแก้หาตัวคูณกันครับ จากสถานการณ์ที่การวนเทิร์นของม้า
(เพิ่มเติมได้ที่ video อีกเช่นเคยนะครับ555)
Experiment I
Experiment II
ซึ่งเราก็จะเลือกช่วงที่สัดส่วนเกจที่เพิ่มขึ้นคงที่ เราก็เลยจะได้ว่าจำนวนรอบของช่วงที่เลือกนั้นก็คือ 6 รอบนั่นเองครับ
จากความสัมพันธ์ของการแปรผันและ spd ของม้าจะได้ว่า
SPD Proportion
ซึ่งเมื่อผ่านไป 6 เทิร์นเกจจะเต็ม 100% เราจึงสามารถแก้สมการได้ดังนี้ครับ
Solution IV
เราจึงได้ตัวคูณออกมาประมาณ 0.07 นั่นเองครับ
และอัตราเกจจะคงที่ก็ต่อเมื่อสัดส่วนของเกจของตัวตามมีเกจปรากฎที่ตรงกันหรือต่ำกว่านั่นเองครับ เราก็เลยจะเขียนความสัมพันธ์ได้ ดังนี้
Solution V
ซึ่งด้วยตัวคูณเช่นนี้ เราจึงไม่สามารถทำให้เกจเป็น 100% ได้เป๊ะ ๆ ทุกครั้งไม่ได้
คำถามก็คือเมื่อถึงรอบที่เกจ 100% โปรแกรมจะคำนวณ spd ด้วยเปอร์เซ็นที่เกิน 100 หรือจะตัดที่ 100%
ซึ่งจากสถานการณ์ที่เราทำ spd รวมของดัลซิมเกิน 169 หน่วย จะมีบางกรณีเมื่อนกโยนและเสาแทรกใช่ไหมครับ
ซึ่งถ้าเราสมมติว่าเกจตัดที่ 100% เสาจะมี spd ณ ตอนนั้นคือ 169 หน่วย ซึ่งหากเกจ 100% เหมือนกัน เราที่ spd สูงกว่าจะได้เล่นก่อน เพราะ นกโยนเทิร์นใช่ไหมครับ
ดังนั้นแล้วจึงเกิดข้อขัดแย้งที่ว่าดัลซิมที่ถูกนกโยน โดนแทรกเทิร์นนั่นเองครับ
เราก็เลยจะนิยามว่าในเชิง spd ว่า ณ ตอนที่เข้าเทิร์นจะมี spd เสมือนที่มากกว่า spd ที่เราทำไว้ได้ หรือก็คือเกจปรากฎแม้จะปรากฎที่ 100% แต่ความจริงแล้วเกิน 100% นั่นไป
หรือเราจะเรียกกันง่าย ๆ ว่า "เกจล้น" นั่นเองครับ
ดังนั้นแล้ว เราก็จะกำหนดให้เสาจะเกจเต็มหรือล้นเมื่อถึงเทิร์นของนก ซึ่งจำนวนเทิร์นที่ผ่านไปจะเท่ากับ 3
เราก็เลยจะแก้อสมการเพื่อหา spd ของมอนที่เร็วที่สุดและมอนที่ spd รองลงมา โดนจะกำหนดให้นกมี spd เท่ากับเสา ซึ่งมีค่าเท่ากับ 169 หน่วย
Solution VI
Solution VII
ซึ่งเราจะได้คำตอบออกมาเป็นช่วงใช่ไหมครับ ซึ่งเราจะเลือกใช้ค่าใดก็ได้ แต่เราก็ต้องไปปรับ spd ของมอนตัวอื่น ๆ ตามถูกไหมครับ
งั้นที่นี่เพื่อให้สะดวกต่อการคำนวณและยกตัวอย่างในครั้งนี้ เราเลยจะเลือกตัวแทนข้อมูลด้วยค่ามัธยฐาน
ซึ่งถ้าเราให้จักรไฟเป็นตัวที่ออกตัวแรก เราก็จะได้ว่า , spd ตามหลังต่ำสุดจะอยู่ที่ 120 หน่วยครับ
(จริง ๆ ตรงนี้อยากให้ลองตั้งข้อสังเกตนิงนึงครับว่าหาก spd ต่ำกว่า 239 เมื่อ n = 1 เกจจะไม่ตรงกับที่คำนวณครับ
จริง ๆ ถึงจะบอกต่ำสุดคือ 220 ก็ไม่ถูกซ่ะทีเดียวครับ เพราะจริง ๆ มันต้อง 239
ซึ่งเงื่อนไขตรงนี้จะเป็นเหมือนตอนเราเจอที่ทดสอบกับม้าเลยครับ ที่มีช่วงที่อัตราการเพิ่มขึ้นไม่คงที่
ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขในอัตราส่วนพิเศษครับที่ผิดแปลกไป ยังไงไว้สักโพสต์ข้างหน้า เราค่อยมาดูกันนะครับ
ตอนนี้เราอิงผลลัพธ์จากการทดลองครับ ดังนั้นต่ำสุดที่ปรากฎให้เห็นจะเป็น 239 นะครับ)
Solution VIII
spd ของตัวที่สองหรือไพ่น้ำ เราก็จะแก้อสมการที่ 2 ซึ่งเราก็จะได้ว่าไพ่น้ำ spd ตามด้วยขั้นต่ำ 86 เหมือนครั้งที่แล้วนั่นเองครับ
Solution IX
ดังนั้นเราก็จะมา spd ของเสาได้แล้วครับ ว่ามันล้นออกไปเท่าใด โดนที่เราจะแทนค่ากลับเข้าไปใช่ไหมครับ
Solution X
ซึ่งก็จะได้ว่า spd เสมือนของเสาตอนเกจล้นจะอยู่ที่ 179 หน่วยครับ เมื่อนกโยนกลับไปให้ดัลซิม เกจดัลซิมจะอยู่ที่ 100% ใช่ไหมครับ
ดังนั้นถ้าอยากให้ดัลซิมออกก่อนเสาจึงจะได้ว่า 100% ของ spd ของดัลซิมจะต้องเท่ากับ 179 หน่วยนั่นเองครับ
เราเลยจะได้ว่า spd ตามหลังขั้นต่ำของดัลซิมจะอยู่ที่ 62 หน่วยนั่นเองครับ
และเราก็จะหา spd ของมังกรจริง ๆ จาก Liam ใช่ไหมครับ ซึ่งเราจะได้ใหม่ว่า spd ขั้นต่ำของ Liam ที่ทำให้ออกก่อนมังกรก็คือ 45 นั่นเองครับ
Solution XI
หรือก็คือเป็นการบอกว่าบอสมังกรมี spd อยู่ที่ 163 นั่นเองครับ
จากที่กล่าวมาผมพิจารณาจากดันมังกรเป็นหลักใช่ไหมครับ ซึ่งหากผ่านในดันมังกรมันก็จะผ่านในดันโกเลมด้วยครับ
โดยไม่นัยยะสำคัญผมขอบอกว่าในดันโกเลมก็ทำเหมือนกันได้เลยนะครับ
เราจึงสามารถสรุป spd ของแต่ละตัวดังตารางใหม่นี้เลยครับ
Conclusions
ซึ่งเท่านี้ ผมก็คิดว่าน่าจะจบจริง ๆ แล้ว สำหรับการทำค่า spd ของมอนแต่ละตัวของทีมนี้แล้วนะครับ
อย่างที่ผมบอกเลยครับ มีข้อแตกต่างและผิดแปลกไปจากครั้งที่แล้วใช่ไหมครับ ซึ่งการพิจารณาก็ค่อนข้างเยอะพอสมควรเลยครับ
ดังนั้นแล้วจึงเข้าใจผมใช่ไหมครับว่า ความรู้สึกขี้เกียจของผมเป็นเช่นไรครับ555 แต่สุดท้ายก็ต้องอธิบายอยู่ดี เพราะ ความไม่สบายใจแท้ ๆ ครับ555
โอเคครับ หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ขอขอบคุณที่จนจบอีกรอบหนึ่งนะครับ
หวังว่าจะมองเห็นภาพมากกว่าครั้งที่แล้วนะครับ ซึ่งหากใครอยากอ่านโพสต์ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ก็สามารถกลับไปอ่านได้ที่ link ตอนเกริ่นนำได้เลยครับ
ไว้เจอกันใหม่โพสต์หน้าครับ สำหรับวันนี้ก็ขอขอบคุณมากครับ.
โฆษณา