14 ก.พ. เวลา 14:18 • ธุรกิจ

EP1. Case Study: ร้านของหวานป้านิ่ม น่าน

คนที่เคยไปน่านจะรู้จักและเคยไปร้านของหวานป้านิ่ม แม้จะเริ่มต้นจากเน้นทำของอร่อยที่คนน่านชอบทาน แต่วันนี้เราจะเห็นนักท่องเที่ยวต่อคิวยาวเพื่อทานร้านป้านิ่ม ทำไมนักท่องเที่ยวชอบมาร้านป้านิ่ม ป้านิ่มดึงดูดนักท่องเที่ยวมาที่ร้านได้อย่างไร?
ถ้าเราพิจารณาในเชิงกลยุทธ์ คุณคิดว่าป้านิ่มใช้กลยุทธ์หลักอะไรบ้าง? วันนี้จะชวนมาวิเคราะห์กันโดยใช้ ร้านของหวานป้านิ่ม เป็น Case Study กันค่ะ รับรองว่าอ่านง่ายเข้าใจง่ายและสามารถประยุกต์กับธุรกิจของคุณได้
เรื่องราวของร้านของหวานป้านิ่ม
ป้านิ่มในวัย 70 ปี ทำขนมได้อร่อยและได้เริ่มทำขนมขายมากว่า 40 ปี ใช้รถเข็นวางขายริมทางเท้าถนน และแน่นอนว่าเมนูแรกที่ป้านิ่มทำขายคือ บัวลอยมะพร้าวอ่อน ซึ่งเป็นเมนูยอดฮิตของร้านของหวานป้านิ่มจนถึงปัจจุบัน และยังมีเมนูอื่นๆ ที่ขายในร้าน อาทิ ปาท่องโก๋ น้ำเต้าหู้ เต้าฮวย รวมมิตรซ่าหริม ลอดช่อง ไอติมกะทิ
ป้านิ่มเคยให้สัมภาษณ์ว่า
แน่นอนว่าสูตรในปัจจุบันย่อมแตกต่างจากสูตรดั้งเดิมบ้างเพื่อให้เข้ากับรสนิยมความชอบรับประทานของลูกค้าตามยุคสมัย สูตรดั้งเดิมเป็นบัวลอยสองสี ใช้ฟักทองและเผือก ซึ่งไม่ได้ทำขายที่ร้าน
หลายครั้งอุปสรรคก็สร้างโอกาสให้กับหลายๆ คน และป้านิ่มก็เช่นกัน
ป้านิ่มถูกให้ย้ายออกจากบริเวณที่รถเข็นจอดขายขนมหวาน และให้ไปขายในสถานที่ที่จัดให้เช่าขายของ ป้านิ่มเลยตัดสินใจเช่าเรือนไทยที่อยู่หน้าปั๊มน้ำมัน ซึ่งเป็นทำเลที่คนมองว่าไม่ใช่ทำเลที่จะขายของได้เพราะไม่ได้อยู่ในตลาดหรือใกล้ตลาดที่มีคนมาจับจ่ายใช้สอยมากมายทุกวัน
ปรากฏว่าร้านของหวานป้านิ่มขายดีมาก มีคนต่อคิวรอซื้อทุกวัน จนถูกให้ย้ายออกจากพื้นที่
ตอนนั้นป้านิ่มรู้แล้วว่าความมั่นคงของพื้นที่ร้านสำคัญมาก เพราะแม้ว่าจะขายดีแต่ก็ถูกให้ย้ายออกจากพื้นที่ถึง 2 ครั้งแล้ว จึงเริ่มปรับปรุงบ้านและปลูกต้นไม้ซึ่งต้องใช้เงินและเวลาในการทำร้านอยู่หลายปี
ในระหว่างนี้เพื่อให้สามารถขายขนมได้ต่อเนื่อง ป้านิ่มจึงตัดสินใจใช้เรือนไทยแถววัดศรีพันต้นที่ลูกเขยเช่าทำธุรกิจแต่ไม่ได้ทำเป็นร้านขายขนมหวานของป้านิ่ม และผู้คนก็ยังติดตามมาซื้อขนมหวานจากป้านิ่มมากมายเช่นเดิม จนป้านิ่มสามารถรวบรวมเงินมาปรับปรุงบ้านเป็นร้านได้ตามที่ตั้งใจไว้โดยใช้เวลาถึง 7 ปีในการเก็บรวบรวมเงินจนสำเร็จ
และนั่นคือร้านขนมหวานป้านิ่มในปัจจุบัน และเมนูที่มากขึ้นทั้ง ไอติม ข้าวเหนียวดำเปียกใส่เผือก และการผสมผสานของไอติมกับขนมต่างๆ เช่น ไอติมกับบัวลอยมะพร้าวอ่อน ไอติมกับข้าวเหนียวดำเปียก และไอติมกับซาหริ่ม
ครั้งนี้ผู้คนในน่านก็ยังคงมาอุดหนุนป้านิ่มมากมายเช่นเดิม และที่มากไปกว่านั้นคือ มีคนต่างถิ่นหรือนักท่องเที่ยวเริ่มแวะเวียนมาอุดหนุนป้านิ่ม จนถึงขนาดว่าแวะมาทานทุกวันตลอดช่วงเวลาที่มาเที่ยวที่น่าน และนั่นคือจุดเริ่มต้นของคำเรียกขานที่ว่า “ร้านขนมประจำจังหวัด” ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประชาสัมพันธ์ให้อย่างต่อเนื่อง
ถ้าเราพิจารณาในเชิงกลยุทธ์ คุณคิดว่าป้านิ่มใช้กลยุทธ์หลักอะไรบ้าง?
ในเวลานั้นตลาดค่อนข้างกระจัดกระจาย ผู้คนส่วนใหญ่ทำขนมทานเองที่บ้านและไปวัด ยังคงมีร้านขนมหวานที่มีเมนูหลากหลายไม่มากนัก และส่วนใหญ่จะตั้งร้านขายเป็นรถเข็น แผงขายของ หรือร้านค้าขนาดเล็กในตลาดหรือใกล้ตลาด
  • ป้านิ่มก็เริ่มขายขนมในทำเลเช่นเดียวกับร้านทั่วไปเพื่อให้ใกล้ลูกค้ามากที่สุด เพราะเป็นการเปิดตัวในตลาดครั้งแรกยังไม่มีคนรู้จัก ขนมที่อร่อยราคาย่อมเยา วางขายในทำเลที่คนเดินเยอะ ทำให้ลูกค้าไม่คิดมากในการทดลองซื้อทาน และเมื่อติดใจก็ซื้อได้ประจำเพราะต้องเดินผ่านทางนี้เป็นประจำอยู่แล้ว และที่สำคัญที่นี่ป้านิ่มไม่ต้องจ่ายค่าเช่าขายของ
การเดินทางด้วยรถยนต์และจักรยานยนต์ขยายวงกว้างทั่วไปในประเทศรวมทั้งน่าน
  • การย้ายไปตั้งร้านหน้าปั๊มน้ำมันของป้านิ่มคนแรกๆ ของน่านในเวลานั้น สร้างข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่งอย่างโดดเด่นเป็นร้านเรือนไทย และแวะทานได้สะดวกหน้าปั๊มน้ำมัน นอกเหนือจากรสชาตขนมที่อร่อยราคาย่อมเยา และที่สำคัญที่นี่ป้านิ่มจ่ายค่าเช่าเรือนไทยเดือนละ 20,000 บาท นอกจากยอดขายจะก้าวกระโดดจากร้านที่ใหญ่ขึ้นแล้ว ยังสามารถเก็บรวบรวมเงินได้มากต่อเนื่องจากการทำธุรกิจ โดยเงินนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ป้านิ่มสามารถต่อยอดธุรกิจปรับปรุงบ้านตนเองเป็นร้านของหวานในปัจจุบันแม้ว่าจะต้องใช้เวลาถึง 7 ปี
การมีพื้นที่ร้านค้าที่มีบรรยากาศร่มรื่นและมีที่จอดรถกว้างขวางเป็นของตนเอง
  • การถูกให้ย้ายออกถึง 2 ครั้งและแรงกดดันด้านค่าเช่าที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่ขายดี ทำให้ป้านิ่มตระหนักว่า ถ้าจะทำร้านให้ยั่งยืนจำเป็นต้องมีพื้นที่เป็นของตนเอง และเลือกที่จะใช้ประโยชน์จากบ้านของตนที่มีอยู่ปรับปรุงเป็นร้าน หรือที่เราเรียกว่า การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Asset Utilization) นั่นเอง
ความเข้าใจในความต้องการของลูกค้าที่มากกว่าอรรถรสในการทานขนม
  • แน่นอนว่าถ้าพูดถึงร้านขนม ความต้องการของลูกค้าคือความอร่อย แต่มันมีอย่างอื่นอีกหรือเปล่า? ใช่แล้วอรรถรสประกอบด้วยการรับรู้โสตสัมผัสต่างๆ เช่น ตา หู จมูก ลิ้น และป้านิ่มก็คิดอย่างนั้น จึงได้เลือกเช่าเรือนไทยหน้าปั๊ม และปรับปรุงบ้านจัดสวน มีพื้นที่จอดรถอำนวยความสะดวกต่างๆ และเมื่อปัจจัยดึงดูดต่างๆ ที่สำคัญนั้นทำงานประสานกันครบถ้วน ผลสำเร็จที่ได้นั้นมากมายเกินกว่าที่ป้านิ่มได้คิดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมาของนักท่องเที่ยว
การผสมผสานและเติบโตไปกับสังคมที่ดำเนินธุรกิจ คือ น่าน ที่เริ่มพัฒนาด้านการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง
  • เมื่อกระแสความสนใจท่องเที่ยวน่านดึงดูดให้ทั้งนักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างๆ หลั่งไหลเข้ามาที่น่าน โรงแรม ร้านอาหาร ศิลปวัฒนธรรม และพิกัดการท่องเที่ยว ก็โดดเด่น สิ่งที่ป้านิ่มทำคือ ความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย Influences Bloggers ดารา นักร้อง และบุคคลที่มีชื่อเสียงต่างๆ ก็ยิ่งสร้างแบรนด์ร้านขนมประจำจังหวัด ผ่านการประชาสัมพันธ์ที่ไม่มีต้นทุนหรือมีต้นทุนน้อยได้อย่างต่อเนื่อง
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับที่มาและเส้นทางธุรกิจของป้านิ่ม?
วันนี้เราได้พูดถึงในเรื่องการจัดการธุรกิจเชิงกลยุทธ์หลักๆ คือ
  • 1.
    การวิเคราะห์ปัจจัยทางธุรกิจอย่างง่าย (Competitiveness) ด้านตลาด อุตสาหกรรม ลูกค้า
  • 2.
    การสร้างความได้เปรียบและความแตกต่างที่โดดเด่น (Unique Advantage) ที่ยากในการเล่นแบบโดยคู่แข่ง
  • 3.
    ความเข้าใจความต้องการของลูกค้า (Customer Understanding) ที่มากกว่าตัวสินค้าและบริการ
  • 4.
    การจัดการทางการเงิน (Financial Management) ด้านเงินทุน ต้นทุนการดำเนินงาน และการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์
และใน EP2. เราจะมาคุยกันต่อในเรื่องการวิเคราะห์ปัจจัยทางธุรกิจ (Competitiveness) ด้านการเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่และการปรับตัวของคู่แข่งในตลาด ซึ่งก็น่าสนใจมาก เพราะในวันนี้ก็ไม่ได้มีแต่ร้านป้านิ่มเท่านั้นที่เป็นร้านดังและขายดี และก็เริ่มมีการเลียนแบบทั้งอัตลักษณ์เรือนไทย บรรยากาศ และเมนูของหวาน ทำให้ความได้เปรียบ (Unique Advantage) ที่สั่งสมมาหลายสิบปีเริ่มลดลง
อย่าลืมกดติดตาม (follow) ที่ เพจ facebook: https://www.facebook.com/Supthavee เพื่อติดตาม EP2. กันต่อนะคะ
บริษัท ที่ปรึกษาทรัพย์ทวี จำกัด
Supthavee Advisory Company Limited
เราคือ ที่ปรึกษาธุรกิจการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการเติบโตและการสร้างผลกำไรจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน
ติดต่อเราได้ที่
Phone: 080-823-2877
#ที่ปรึกษาธุรกิจ #แผนธุรกิจ #การจัดการ #ที่ปรึกษา #ธุรกิจ #SME #เจ้าของกิจการ
โฆษณา