3 มี.ค. เวลา 23:19 • สุขภาพ

"ควินัว" สุดยอดอาหารสุขภาพมาแรง

เทรนด์ของการดูแลสุขภาพกำลังเป็นเทรนด์ที่มากแรงอย่างมาก แน่นอนว่าการดูแลสุขภาพเป็นเรื่องที่ดีและเป็นเรื่องที่ทุกคนควรให้ความใส่ใจ นอกจากที่จะต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ แล้ว อาหารการกินก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ กินอาหารให้เป็นยา ดีกว่าต้องมากินยาเป็นอาหาร นี่คือความจริงที่เป็นสิ่งไม่ตาย อาหารทีมีประโยชน์ ถึงจะแทนยาไม่ได้ แต่ก็ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ต้านทานต่อโรคภัยต่างๆได้ดีกว่า ซึ่งก็มีหลายสำนัก หลายสูตร และหนึ่งในชื่อที่ถูกพูดถึงมากในช่วงนี้คือ "ควินัว (Quinoa)"
1
"ควินัว (Quinoa)" คือเมล็ดพืชของต้น Chenopodium Quinoa โดยเป็นพืชที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศแถบอเมริกาใต้ โดยเฉพาะโบลิเวียและเปรู สำหรับควินัวก็จะมีความแตกต่างไปจากธัญพืชชนิดอื่น ๆ แต่สิ่งที่ได้กลับมาคือคุณค่าทางอาหารที่มีความคล้ายคลึงกับการกินธัญพืชทั่วไปเลยนั่นเอง ทำให้ได้มีการจัดควินัวไว้ว่าเป็นธัญพืชเทียมชนิดหนึ่งหรือพืชที่สามารถนำมากินได้เหมือนกับธัญพืช
บางประเทศนั้นนิยมนำควินัวมารับประทานแทนพาสต้า ข้าว หรือขนมปัง นั่นก็เป็นเพราะว่าเมล็ดควินัว นั้นค่อนข้างที่จะมีประโยชน์อย่างมากเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเหล่าธัญพืชชนิดอื่นๆ ควินัวอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญหลากชนิด ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการเมื่อเปรียบเทียบกับธัญพืชที่ผ่านกระบวนการขัดสี และมีโปรตีนสูงแต่มีไขมันต่ำ
1
โดยควินัวที่สุกแล้ว 1 ถ้วย จะให้พลังงาน 222 แคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 39 กรัม โปรตีน 8 กรัม ไขมัน 6 กรัม เส้นใยอาหาร 5 กรัม น้ำตาล 1 กรัม และมีสารอาหารสำคัญอื่น ๆ เช่น แมงกานีส แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โฟเลต ทองแดง และธาตุเหล็ก เป็นต้น นอกจากนี้ ควินัวยังปราศจากโปรตีนกลูเตน การเลือกรับประทานควินัวจึงดีต่อสุขภาพและยังเหมาะกับผู้ที่แพ้กลูเตนอีกด้วย
แล้วควินัวให้ประโยชน์กับร่างกายได้อย่างไรบ้าง?
จากการศึกษาพบว่าในเมล็ดควินัวนั้นอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย นอกจากนั้นก็ยังมีสารที่ต้านการอักเสบและการบาดเจ็บของเซลล์ เจ้าตัวสารนี้นี่เองที่จะช่วยให้เซลล์นั้นฟื้นตัวเร็วขึ้นหลังการต่อสู้กับเชื้อโรค ไม่เพียงเท่านั้นในเมล็ดควินัวยังอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญๆ เช่น โปรตีน 16-18 % ลิวซีน 4.9% ไอโซลิวซีน
6.6% แร่ธาตุต่างๆที่สำคัญเช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเส้นใยอาหารซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมระบบย่อยอาหาร และยังช่วยป้องกันอาการท้องผูก
มีงานวิจัยที่พบว่าการรับประทานควินัววันละ 50 กรัมติดต่อกันนาน 6 สัปดาห์ อาจช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลรวม คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และไขมันไตรกลีเซอไรด์ด้วย อย่างไรก็ตาม การลดไขมันที่ถูกกล่าวอ้างไม่ได้มีนัยสำคัญทางคลินิก งานวิจัยชิ้นหนึ่งกล่าวว่าสารซาโปนิน (Saponin) ในควินัวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และอาจช่วยยับยั้งการผลิตสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบของเซลล์ในร่างกายได้ถึง 25-90 เปอร์เซ็นต์
1
นอจากนี้ยังมีการศึกษาที่พบว่า การบริโภคเส้นใยอาหารจากควินัวปริมาณ 16 กรัมต่อวัน อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ช่วยลดความหิว และอาจช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วนและโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ควินัวยังมีเส้นใยอาหารสูง หากรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูงอย่างควินัวจะช่วยให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น ดีต่อสุขภาพลำไส้และการขับถ่ายอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การกินควินัวในปริมาณมากเกินไป ก็อาจไม่ส่งผลดี
การรับประทานควินัวในปริมาณมากเกินไปอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากควินัวประกอบไปด้วยสารไฟเตต (Phytates) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมแร่ธาตุสำคัญบางชนิดอย่างเช่นธาตุเหล็กและสังกะสีได้ นอกจากนี้ การรับประทานควินัวอาจมีส่วนทำให้แร่ธาตุต่าง ๆ รวมตัวกันจนเกิดเป็นนิ่วในไตได้ รวมถึงการใช้ควินัวในผู้ป่วยความเสี่ยงสูงเช่น หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ป่วยโรคตับ โรคไต ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันความปลอดภัยที่เพียงพอเช่นกัน
อ้างอิง
โฆษณา