14 มี.ค. 2024 เวลา 14:12 • สุขภาพ

#เหตุผลที่ผู้ป่วยที่มีฟอสเฟตในเลือดต่ำต้องกินยาระบาย

การใช้ยา อาจจะไม่ได้ตรงไปตรงมาเสมอไป อาจต้องมีการประยุกต์ เพื่อ วัตถุประสงค์ที่ต่างออกไป อย่างเช่นในกรณี ที่จะเล่าต่อไปนะคะ😁
ผู้ป่วยมีภาวะฟอสเฟตในเลือดต่ำ(ดูเพิ่มเติมในอ้างอิง 3) ได้รับยาระบายชนิดหนึ่ง
.
ยาระบายชนิดนั้นคือ #Xubil (เมื่อก่อน จะเป็นยี่ห้อ swiff) ซึ่งปกติแพทย์สั่งใช้ก่อนที่จะมาเอกซเรย์ลำไส้ หรือก่อนผ่าตัด
.
#ซูบิล มีตัวยาสำคัญอะไรบ้าง
ในยา 5 ml
มีโมโนเบสิค โซเดียมฟอสเฟต 2.4 กรัม
ไดเบสิค โซเดียมฟอสเฟต 0.9 กรัม
.
สำหรับผู้ป่วยรายนี้ ได้รับประทานยาชนิดนี้ ครั้งละ 10 ซีซี 3 เวลา เนื่องจาก ระดับฟอสเฟตในเลือดต่ำเล็กน้อย ซึ่งการรับประทานยา ประมาณ 5-10 ซีซี ยังไม่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย เพราะ โดยปกติสำหรับการใช้ ยาระบายชนิดนี้ เพื่อเตรียมลำไส้ก่อนเอกซเรย์ จะต้องกินปริมาณ 45 ซีซี หรือ ครั้งละ 1 ขวด ซึ่งจะทำให้ถ่ายค่อนข้างรุนแรงมาก เพื่อเคลียร์ลำไส้ก่อนที่จะเอกซเรย์ค่ะ
.
หรือในบางโรงพยาบาลที่ไม่มียาระบายดังกล่าว อาจจะใช้ยาสวน ซึ่งเรารู้จักกันทั่วไป แต่ต้องเป็นยาสวนที่มีส่วนผสม ของฟอสเฟต เช่น ยี่ห้อ UNI-ma ซึ่งมีตัวยา โซเดียมไบฟอสเฟต กับ โซเดียมฟอสเฟต ให้รับประทานทดแทนคะ
แต่ยาสวนบางยี่ห้อ ซึ่งมีตัวยาเป็น โซเดียมคลอไรด์ ก็ไม่สามารถใช้ได้นะคะ
.
.
วันนี้มาเล่าให้ฟัง เผื่อใครเจอ จะได้ไม่สงสัยว่า ทำไมฟอสเฟตในเลือดต่ำ ต้องกินยาระบายนะคะ
.
เรียบเรียงโดย ภญ. สุพนิต วาสนจิตต์ เรื่องเล่าจากห้องยา
.
.
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา