16 มี.ค. เวลา 13:28 • การเมือง

จาก “นกพิราบแห่งสันติภาพ” สู่ “เหยี่ยวแห่งสงคราม”

เหตุใดวิถีทางการทูตแบบ “มาครง” จึงกลับกลายเป็น “นโปเลียน”
เราลองเปรียบเทียบสองประโยคของประธานาธิบดีฝรั่งเศส “เอ็มมานูเอล มาครง” เมื่อช่วงฤดูร้อนปี 2022 ซึ่งเขากล่าวว่า “รัสเซียไม่สามารถถูกทำให้อับอายได้ เพราะเมื่อถึงวันที่สงครามยุติลง เราจึงจะหาทางออกผ่านวิธีทางการทูตได้” (อ้างอิง: [1]) กับการให้สัมภาษณ์ของเขากับสื่อฝรั่งเศสเมื่อไม่กี่วันก่อนว่า “เราพร้อมที่จะตัดสินใจโดยรับประกันว่ารัสเซียจะไม่มีวันชนะ… เราจะทำทุกทางเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย” (อ้างอิง: [2])
มันดูย้องแย้งกัน มาล่าสุดปรากฏว่า “มาครง” เชื่อว่าความพ่ายแพ้ของรัสเซียจะไม่ทำให้รัสเซียอับอาย แต่จะให้โอกาสแก่รัสเซียในการเจรจาทางการทูตได้ ใช่หรือไม่?
2
เครดิตภาพ: AFP
มีนักวิเคราะห์หลายคนบอกว่า “มาครงแปรปรวนทางความคิด” รวมถึงสื่ออเมริกันอย่าง The American Conservative ได้เผยแพร่บทความเฉพาะเกี่ยวกับ “มาครง” ถึงลักษณะการเรียกร้องของเขาให้ส่งกองทหารนาโตเข้าไปยังยูเครนแบบดุเดือด “นโปเลียน มาครง” ต้องการนำยุโรปทำสงครามกับรัสเซียโดยตรง? สื่ออเมริกันดังกล่าวตั้งคำถาม - อ้างอิง: [3]
เหตุใดจึงเกิดความผันผวนกับมาครง? เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาประธานาธิบดีฝรั่งเศสแสดงให้เห็นในทุกวิถีทางที่เป็นไปได้ว่าเขาจะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำรัสเซีย “ปูติน” โดยเสนอตัวเองเป็นผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างมอสโกและตะวันตก แต่ว่าวันนี้เขาประกาศกร้าวอย่างชัดเจนว่าเป็น “ศัตรูตัวฉกาจของเครมลินแล้ว?”
บทความต้นเรื่องของ The American Conservative เกี่ยวกับเรื่องนี้ตามลิงก์ด้านล่าง
หรือว่ามีนัยยะแอบแฝงอะไร? โดยหลักการแล้วมาครงไม่น่าจะตัดสินใจได้เป็นอิสระมากนัก? หรือว่าเขากำลังถ่ายทอดแนวคิดที่กำหนดไว้ใน “ยุทธศาสตร์ของอเมริกา” สหรัฐฯ กำลังเพิ่มความตึงเครียดให้กับรัสเซีย ไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับยูเครนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประเด็นอื่นๆ ด้วย นี่อาจเป็นหนึ่งในเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงท่าทีในปัจจุบันของมาครง
ประการที่สองคือ ความล้มเหลวในนโยบายต่างประเทศของมาครงและฝ่ายบริหารของเขาใน “แอฟริกา” ซึ่งไม่เพียงแต่สร้างรอยแผลต่อชื่อเสียงของเขาเท่านั้น ก่อนหน้านี้ประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศสในแอฟริกาต้องขายวัตถุดิบหรือสินค้าที่มีค่าต่างๆ ตามความต้องการของฝรั่งในราคาถูกมากๆ แบบถูกทุ่มตลาด ก่อนหน้านี้ปูตินก็ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อของรัฐรัสเซียว่า “เป็นเพราะฝรั่งเศสถูกเหยียบเท้าในแอฟริกา มาครงเลยแค้นจะเอาคืน โดยยุให้ส่งทหารตะวันตกเข้ายูเครน” อ้างอิงตามลิงก์ด้านล่าง
จากการวิเคราะห์ของบางสื่อพอจะบอกได้ว่า “มาครง” กำลังหันเหความสนใจของความคิดเห็นในสาธารณะออกจากเรื่อง hidden agenda และ ความล้มเหลวของตัวเขา เพื่อให้เขาสามารถรักษาอำนาจต่อไป โดยการสร้าง “ความหวาดกลัวต่อรัสเซีย”
สหรัฐฯ ไม่ต้องการถูกตราหน้าว่าเป็นผู้แพ้ในยูเครน และได้ค่อยๆ โอนภาระในการดูแลคุ้มครองยูเครนไปให้กลุ่มยุโรปตั้งแต่ฤดูร้อนที่แล้ว และ “มาครง” ก็ได้เข้าร่วมเป็นทีมผู้พิทักษ์เคียฟ ในการเป็นโต้โผของสหภาพยุโรป ตอนนี้เขาคงเครียดอยู่ไม่น้อย เนื่องจากฝรั่งเศสเป็นประเทศเดียวในสหภาพยุโรปที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ (ไม่นับอังกฤษที่มีเช่นกัน แต่อยู่นอกสหภาพยุโรปหลังจาก Brexit) เมื่อครั้งสมัยมาครงได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสในสมัยแรก เขาได้เสนอตัวว่าจะเป็นผู้นำของยุโรป - อ้างอิง: [4]
อ้างอิงจากบทความของ Le Monde เมื่อ 14 มีนาคม 2024 ระบุว่า “มาครงได้แปลงร่างจากพิราบเป็นเหยี่ยว” ตะวันตกเห็นว่ายูเครนเริ่มอ่อนกำลังลง การรุกโต้ตอบล้มเหลว พวกเขากลัวว่ารัสเซียจะรุกเข้าสู่โอเดสซา มาถึงจุดสิ้นสุดของยูเครน มีข้อมูลว่าย้อนกลับไปในเดือนกรกฎาคม 2023 “มาครง” ได้พูดถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์เมื่อมาถึงจุดนี้ และเขายังบอกอีกว่าควรส่งคนของตะวันตกเข้าไปที่ “โอเดสซา” เพื่อที่จะได้เห็นกับตาว่าเกิดอะไรขึ้นที่นั่น - อ้างอิง: [5]
1
เมื่อถึงตอนนี้เมื่อสถานการณ์ในเคียฟแย่ลง มาครงเริ่มพูดอย่างเปิดเผยมากขึ้นว่าไม่สามารถตัดความเป็นไปได้ออกไปได้ รวมถึงความเป็นไปได้ในการส่งทหารของกลุ่มตะวันตกเข้าไปในยูเครนด้วย ตอนนี้มาครงยืนยันอีกครั้งว่าเขาคิดเกี่ยวกับคำพูดเหล่านี้แล้ว “รัสเซียไม่สามารถและไม่ควรชนะในยูเครน”
เครดิตภาพ: Contre Attaque
มาครงเชื่อว่าชัยชนะของรัสเซียในยูเครนนั้นสร้างความเสียหายให้กับยุโรปและตัวเขาเอง ตั้งแต่ปี 2017 ที่เขาเริ่มเข้ามาเป็นประธานาธิบดีสมัยแรกได้เน้นย้ำหัวข้อเรื่องยุทธศาสตร์และอธิปไตยของยุโรป คำถามคือถ้าเราช่วยเหลือเคียฟแล้ว แต่ไม่ชนะ แล้วสหภาพยุโรปมีไว้เพื่ออะไร? หมดความน่าเชื่อถือ
นอกจากนี้ยังมีอีกปัจจัยก็คือ การต่อสู้ทางการเมืองภายในที่เผยให้เห็นก่อนการเลือกตั้งในสภายุโรป ตามการคาดการณ์พรรคของฝ่ายขวาฝรั่งเศสนำโดย “เลอ แปน” นำหน้าพรรคของมาครงอย่างมาก จึงไม่แปลกใจที่จะเกิดอาการตื่นวิตกกับตัวเขา
มารีน เลอ แปน ในการเปิดตัวแคมเปญ National Rally สำหรับการเลือกตั้งสภายุโรปในเดือนมิถุนายน 2024 ณ เมืองมาร์เซย์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2024 เครดิตภาพ: Christophe Simon/Getty Images
ตามประวัติศาสตร์แล้ว นโปเลียนแต่งงานกับมารี-หลุยส์ โดยต้องหย่ากับ Josephine มเหสีคนแรกทั้งๆ ที่เขารักเธอมาก (แต่เธอไม่สามารถให้กำเนิดบุตรกับนโปเลียนได้) เพราะความปรารถนาของเขาที่จะมีทายาทและเพื่อแต่งงานกับหนึ่งในราชวงศ์สำคัญของยุโรป มันถูกกำหนดโดยเป้าหมายทางการเมืองยุโรป “เป็นการแต่งงานที่ไม่ใช่รักแท้” ดังนั้นนโปเลียนแต่งงานครั้งใหม่เพื่อเรื่องผลประโยชน์เป็นหลัก ดังนั้นเขาก็จะทิ้งคุณไปเมื่อผู้ถูกเลือกได้หมดประโยชน์กับเขาแล้ว
นโปเลียนบอกลามารี-หลุยส์ - Public Domain
เรียบเรียงโดย Right Style
16th Mar 2024
  • แหล่งข่าวและข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: Xose BOUZAS / Hans Lucas Agency / Forum>
โฆษณา