19 มี.ค. เวลา 05:00 • สุขภาพ

เพิ่มผัก-เติมถั่ว ใส่เครื่องเทศ ลดเสี่ยงมะเร็ง เสริมภูมิได้มากกว่า!

วิจัยเผย กินซ้ำ ไม่หลากหลาย เน้นเนื้อ เป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงมะเร็งโดยไม่รู้ตัว แนะเทคนิคการกินที่มากกว่ากินให้ครบ 5 หมู่ ลดเสี่ยงมะเร็งได้มากกว่า!
หรือไม่ ? งานวิจัยพบว่าการกินมีผลทำให้เกิดมะเร็งมากถึง 1 ใน 3 ของปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ โดยเฉพาะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งตับอ่อน ดังนั้นนอกจากการกินให้ครบ 5 หมู่แล้วยังควรคำนึงถึงอาหารที่เหมาะสมออกฤทธิ์รักษาสมดุลร่างกาย หลากหลายไม่จำเจ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดี เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค โดยเฉพาะมะเร็งได้อย่างดีเยี่ยม!
ผักผลไม้หลากสี ต้านมะเร็งได้
  • ไลโคปีน (Lycopene) สารสีแดง พบมากในมะเขือเทศ พริกแดง บีทรูท และแอปเปิ้ลสีแดง
ธัญพืชหลากชนิด
  • สีเหลืองและส้ม อุดมด้วยวิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน (Beta carotene) พบมากใน ฟักทอง แครอท และส้ม
  • สีเขียว อุดมด้วยอัลฟ่าแคโรทีน (Alpha Carotene)และคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) พบมากใน ผักโขม คะน้า บล็อคโคลี่
  • สีม่วง อุดมด้วยสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) พบมากในกะหล่ำม่วง ดอกอัญชัน บลูเบอร์รี่ ลูกพรุน และข้าวเหนียวดำ
  • สีขาว อุดมด้วยสารแซนโทน (Xanthone) พบมากในกระเทียม กล้วย ขิง หัวไชเท้า กะหล่ำ รวมถึงเห็ดต่างๆ
เพิ่มธัญพืชและถั่วลงไปในมื้อโปรด!
ธัญพืชเต็มเมล็ดที่ไม่ผ่านการขัดสีและถั่วต่างๆ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้ง วิตามิน เกลือแร่ ไฟเบอร์ และโปรตีน รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ แนะนำ ข้าวกล้อง ลูกเดือย อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ พิเทชิโอ ถั่วขาว
ช่วยรักษาระดับน้ำตาล ยังช่วยในการขับถ่าย ช่วยลดอาการท้องผูก ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่
เติมเครื่องเทศเพิ่มรสชาติเพิ่มสรรพคุณ
เครื่องเทศอย่างพริก ขมิ้น กระเทียม และขิง นอกจากช่วยเพิ่มรสชาติและกลิ่นหอมให้อาหารแล้ว ยังมีสรรพคุณลดการอักเสบ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง
เลี่ยงอาหารไขมันสูง และเนื้อแดง
  • อาหารรสจัดโดยเฉพาะเค็มจัดและอาหารหมักดองที่ใช้เกลือจำนวนมาก ส่งผลให้ความดันเลือดสูง
  • อาหารที่มีไขมันสูงจะส่งผลให้น้ำหนักตัวเกิน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ เช่น เนื้อติดมัน ไขมันสัตว์ เนย และกะทิ
  • การบริโภคเนื้อแดงปริมาณมากเป็นประจำส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และอาจกลายเป็นมะเร็งลำใส้ใหญ่ได้ หากต้องการโปรตีนควรรับประทานอาหารประเภทปลา
  • อาหารทอดหรือปิ้งย่าง โดยเฉพาะอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำหรือปิ้งย่างจนไหม้เกรียม หากจะกินควรตัดส่วนที่ไหม้เกรียมทิ้ง จะช่วยลดสารพิษได้บ้าง แต่ก็ไม่ควรรับประทานบ่อยจนเกินไป
  • อาหารที่ขึ้นราง่าย เช่น พริกแห้ง กระเทียม และถั่วลิสง ก่อนกินควรดูให้แน่ใจว่าไม่ได้ทิ้งไว้นานจนเกิดเชื้อรา
  • อาหารหมักดอง อาหารสำเร็จรูป ใส่สี รมควัน หรือใส่ดินประสิว เช่น ไส้กรอก แหนม ปลาร้า ขนม หรือเนื้อแดงที่สีสดมากๆ
  • อาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารที่ปรุงไม่สุกอาจทำให้เกิดการติดเชื้อพยาธิ ส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง จนกลายเป็นมะเร็งได้
นอกจากการ เลือก และ เลี่ยง อาหารต่างๆ ที่ส่งผลดีและผลร้ายต่อร่างกายแล้ว ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่ปล่อยให้น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน งดการสูบบุหรี่และดื่มเหล้า ตรวจสุขภาพประจำปีตามช่วงอายุนับเป็นการป้องกันที่มากกว่าการกินดี!
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
โฆษณา