21 มี.ค. เวลา 10:58 • สุขภาพ

โรคความดัน คืออะไร ภัยเงียบที่คร่าชีวิตโดยไม่รู้ตัว

โรคความดัน หรือ ความดันโลหิตสูง (Hypertension) คือ โรคที่ผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูงกว่าระดับปกติ โดยทั่วไปแล้วความดันสูงเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ แต่เป็นสาเหตุทำให้ร่างกายเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือไตวาย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยความดันสูงต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสม ไม่เช่นนั้นอาจเสียชีวิตได้
ปกติแล้วความดันเฉลี่ยควรอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท หากสูงหรือต่ำกว่านี้อาจบ่งบอกได้ถึงการเป็นโรคบางอย่าง ซึ่งต้องดูช่วงอายุประกอบกับค่าความดันร่วมด้วย เพราะใช่ว่าความดันเกินกว่าหรือต่ำกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท จะแปลว่าอยู่ในภาวะวิกฤตเสมอไป แต่ละช่วงวัยก็มีตัวเลขความดันที่เหมาะสมต่างกัน ดังนี้
วัยทารก : ไม่ควรเกิน 90/60 มิลลิเมตรปรอท
เด็กเล็ก 3 – 6 ปี : ไม่ควรเกิน 110/70 มิลลิเมตรปรอท
เด็กโต 7 – 17 ปี : ไม่ควรเกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท
วัยทำงาน 18 ปีขึ้นไป : ไม่ควรเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท
ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป : ไม่ควรเกิน 160/90 มิลลิเมตรปรอท
ทั้งนี้ ค่าความดันสูงเกินกว่าเกณฑ์ของแต่ละช่วงอายุ อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ความเหนื่อยล้า อุณหภูมิ สภาพแวดล้อม รวมไปถึงโรคภัยไข้เจ็บที่แฝงอยู่ในร่างกาย อย่างไรก็ตาม การพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาย่อมเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก https://hillkoff.com/
โฆษณา