24 มี.ค. เวลา 02:00 • กีฬา

มาเรียนรู้การฝึก #Plyometrics กันเถอะ...#ตอนที่7 รูปแบบการฝึก Plyometrics

1️⃣ รูปแบบการฝึก Plyometrics มีทั้งหมด 5 รูปแบบ ดังนี้
1.1 กระโดดบนพื้นในลักษณะต่างๆ โดยไม่มีอุปกรณ์หรือสิ่งกีดขวางในขณะกระโดด เช่น
▶️ กระโดดอยู่กับที่
▶️ กระโดดเชือก
1.2 กระโดดข้ามสิ่งกีดขวางในลักษณะต่างๆ เช่น รั้วที่มีขนาดและความสูงในระดับต่างๆ
1.3 กระโดดขึ้น-ลงกล่องหรือม้ากระโดดที่มีความสูงในระดับต่างๆ
1.4 กระโดดข้ามรั้วที่มีความสูง เช่น รั้วที่ใช้ในการแข่งขันกรีฑาที่ทำมาใช้ในการฝึกโดยตรง เป็นวิธีการฝึกที่เหมาะสำหรับ
▶️ นักกรีฑา
▶️ นักวอลเลย์บอล
▶️ นักบาสเกตบอล
1.5 การใช้ลูกบอลถ่วงน้ำหนัก (Medicine ball) เพื่อพัฒนารยางค์ส่วนบน โดยจะต้องเลือกความหนักของลูกบอลให้เหมาะสมกับความพร้อมและเป้าหมาย เช่น การโยนหรือผลักลูก Medicine ball
2️⃣ ถ้านักกีฬากระโดดท่า Squat jump แล้วงอเข่าลงมากเกินไปในจังหวะที่ลงสู่พื้น จะส่งผลให้เวลาที่เท้าสัมผัสพื้นนานขึ้น และจะทำให้กล้ามเนื้อหดตัวกลับ (Concentric) ได้ช้าลง
3️⃣ เราสามารถวัดหรือประเมินความหนักในการฝึก Plyometrics ได้จาก
3.1 ความสูงในการกระโดดลงจากกล่อง
3.2 ความสูงของรั้วที่กระโดดข้าม
3.3 แรงกระแทกจากการตกลงสู่พื้น
4️⃣ รูปแบบการฝึก Plyometrics ที่เหมาะสำหรับนักกีฬาระดับเยาวชนหรือนักกีฬาที่ยังไม่มีประสบการณ์ ได้แก่
4.1 กระโดดอยู่กับที่
4.2 กระโดดข้ามรั้วเตี้ย
4.3 ขว้างหรือผลักลูก Medicine ball
🎊 อ่าน #ตอนอื่นๆ ได้จากลิงก์ด้านล่างนี้นะครับ
 
✅️ ตอนที่ 1 สรีรวิทยาของการฝึก Plyometrics >>> https://bit.ly/3w8l0NQ
✅️ ตอนที่ 2 กายวิภาคศาสตร์ของการเคลื่อนไหวในนักกีฬา >>> https://bit.ly/3UPjLNO
✅️ ตอนที่ 3 ชีวกลศาสตร์ของการฝึก Plyometrics >>> https://bit.ly/4bMabkN
✅️ ตอนที่ 4 สมรรถภาพทางกาย >>> https://bit.ly/3Ijsctt
✅️ ตอนที่ 5 พลังของกล้ามเนื้อ >>> https://bit.ly/3PcuRIY
✅️ ตอนที่ 6 ความหมาย ความสำคัญ และความจำเป็นของการฝึก Plyometrics >>> https://bit.ly/3PkXmE
📚 สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก #คอร์สออนไลน์ ทาง #วิทยาศาสตร์การกีฬา สำหรับ #นักฟุตบอล ในหัวข้อ "การฝึก Plyometrics สำหรับนักฟุตบอล" โดยมีรายละเอียดตามลิงก์นี้นะครับ ⏩️ http://bit.ly/3SsCdsZ
👉 กายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การกีฬาโดย @Sahavate Institute
👉 Facebook group: @กายภาพบำบัด และวิทยาศาสตร์การกีฬา โดย Sahavate Institute
👉 Line OpenChat: https://bit.ly/3jQG5Eb
ที่มา: โครงการออกแบบโปรแกรมการฝึกแบบพลัยโอเมตริกสำหรับนักกีฬา (Plyometrics training program design for athletes) โดย @Sports Science Mahidol University
โฆษณา