27 มี.ค. เวลา 09:00 • สิ่งแวดล้อม

4 ภัยธรรมชาติ ตัวการทำลายสุขภาพและชีวิตคนไทย

ร่วมทำความเข้าใจสถานการณ์สุขภาพและสุขภาวะสังคมไทยอย่างรอบด้าน
📌 ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน: ‘Well-Being Odyssey - Healthy Full Day’ เปิดตัวงานวิจัยสุขภาพและสุขภาวะสังคมไทยล่วงหน้า 10 ปี เพื่อเตรียมวันนี้ไปสู่อนาคตที่ดี วันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2567 เวลา 17:00 - 19:00 น. ที่ SCBX NEXT TECH ชั้น 4 สยามพารากอน https://forms.gle/3FE8XNd8YwZsykZY8
วิกฤติสภาพภูมิอากาศกำลังกลายเป็นภัยคุกคามสำคัญระดับโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศกลุ่มเสี่ยงร้ายแรงอันดับที่ 9 ของโลก
ประชากรโลกมีแนวโน้มเข้ามาอาศัยในพื้นที่เมืองมากขึ้น จาก 50% ในปัจจุบัน มีแนวโน้มที่จะพุ่งทะยานสู่ 70% ภายในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่การออกแบบและพัฒนาเมืองต้องให้ความสำคัญกับภัยธรรมชาติที่จะยิ่งมีความรุนแรงและเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากขึ้นทุกปี
เพื่อเตรียมการล่วงหน้าและป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิต ทรัพย์สิน สุขภาพ และความเป็นอยู่ของผู้คนในเมือง ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา FutureTales LAB by MQDC ได้ระบุ 4 ภัยธรรมชาติสำคัญที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อชีวิตและสุขภาพคนไทยมากที่สุดจากนี้ไปจนถึง 10 ปีข้างหน้า ดังนี้
1. อุทกภัย (Flood) - ภายในปี ค.ศ. 2030 ที่อยู่อาศัยของประชากร 900 ล้านคนทั่วโลกจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากปัญหาอุทกภัย ปัญหาสิ่งปนเปื้อนในน้ำจะนำไปสู่การย้ายที่อยู่ การเกิดโรคระบาด และปัญหาสุขภาพจิตที่มากขึ้น ทั้งนี้ 10% ของผู้ผ่านเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทยปี ค.ศ. 2011 ยังคงประสบปัญหาจากโรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Post-traumatic Stress Disorder: PTSD)
2. สึนามิ (Tsunami) - แม้จะเป็นภัยธรรมชาติไม่ได้ขึ้นบ่อยครั้ง แต่ทุกครั้งสึนามิจะนำมาซึ่งความเสียหายรุนแรงทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินมหาศาล โดยเฉพาะในเมืองตามแนวชายฝั่ง ซึ่งมักมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจสูงและมีประชากรหนาแน่น เหตุการณ์สึนามิในปี ค.ศ. 2004 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 230,000 ราย และมีผลกระทบรุนแรงต่อทั้งภูมิภาค
3. ปรากฎการณ์โดมความร้อนในเมือง (Urban heat island) - โดมความร้อนในเมืองเป็นสาเหตุสำคัญในการเพิ่มความเสี่ยงการเสียชีวิตด้วยโรคลมแดด (Heatstroke) และนำไปสู่การขาดประสิทธิภาพการทำงานของผู้คน ปัญหาสภาวะอารมณ์แปรปรวน และการขาดการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประชากรกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะอ้วน และผู้มีโรคประจำตัว เป็นต้น
4. ปัญหาฝุ่น PM 2.5 - ปัจจุบัน ประชากรโลก 99% กำลังเผชิญกับมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เมือง ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ มะเร็งปอด และส่งผลกระทบร้ายแรงต่อระบบสุขภาพและสาธารณสุข ในปี ค.ศ. 2021 มีรายงานผู้เสียชีวิตจากปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยสูงถึง 29,000 ราย
อ้างอิงข้อมูลจาก: World Bank, UNDRR, World Resources Institute, National Institutes of Health, The Lancet, Greenpeace Southeast Asia
#FutureTalesLAB #FuturePossible #WellBeingOdyssey #FuturesofHealthandWellness #MQDC
โฆษณา