28 มี.ค. เวลา 09:41 • ประวัติศาสตร์

มีอะไรที่บางบัวทอง...?

มีอะไรที่บางบัวทอง...?
เมื่อเอ่ยถึงชื่อ 'บางบัวทอง' หลาย ๆ คนอาจจะนึกถึงชุมชนสถานที่อยู่อาศัยของผู้คน บ้างก็นึกถึงช่วงเวลารถติดอันแสนจะน่าปวดหัว หรือแม้กระทั่งสถานที่ท่องเที่ยว
แต่คุณผู้อ่านทราบหรือไม่ละครับว่าหากย้อนอดีตกลับไปยังช่วงปี พ.ศ. 2488 หรือราว ๆ ค.ศ. 1945 นั้นประชากรชาวญี่ปุ่นจำนวนมากในไทยทั้งที่เป็นทหารหรือพลเรือน ได้ถูกเปลี่ยนสถานะจากผู้ที่เหนือกว่ามาเป็นแค่เชลยศึกภายหลังจากที่พวกเขาพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นนับหมื่น ๆ นายถูกส่งตัวไปไว้ยังค่ายกักกันตามจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งนั่นก็รวมถึง "ค่ายบางบัวทอง"
1
โดยช่วงนั้นรัฐบาลไทยค่อนข้างจะเข้มงวดกับประชาชนชาวญี่ปุ่นเป็นพิเศษด้วยเหตุว่าพวกเขานั้นถือเป็นอาชญากรสงครามและอาจหลบหนีออกจากปะเทศไทย พลเรือนชาวญี่ปุ่นจำนวนหลายพันคนไม่เว้นแม้แต่เจ้าหน้าที่สถานทูตต่่างก็ถูกพาตัวไปไว้ยัง 'ค่ายกักกันบางบัวทอง' หรือเรียกสั้น ๆ ว่า 'ค่ายบางบัวทอง' ซึ่งถูกตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับสัมพันธมิตรเพื่อสอบสวนหาชาวญี่ปุ่นที่มีส่วนร่วมในการกระทำผิดฐานเป็นอาชญากรสงคราม
ทั้งนี้คุณ เทพ บุญตานนท์ ได้เขียนเล่าเอาไว้ในหนังสือชีวิตเชลยศึก: หยดเลือดและหยาดน้ำตาในค่ายกักกันไทยหลังสงครามมหาเอเชียบูรพาว่า
ค่ายกักกันบางบัวทองมีการสร้างที่พักอาศัยแยกระหว่างคนโสดและคนมีครอบครัว อีกทั้งยังมีโรงพยาบาลที่ถูกสุขอนามัยและยังมีเครื่องมือแพทย์ที่ครบถ้วน เรื่องอาหารการกินรัฐบาลไทยกำหนดอัตราค่าอาหารให้คนญี่ปุ่นคนละ 1 บาท 50 สตางค์ต่อวัน โดยรัฐฐาลไทยจะจัดหาวัตถุดิบที่จำเป็นต่อการปรุงอาหารมาให้ ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าถึงแม้ชีวิตของเชลยในค่ายบางบัวทองจะไม่ได้สุขสบายนักแต่เมื่อเทียบกับการกระทำที่เกิดขึ้นจากฝีมือของทหารชาวญี่ปุ่นที่ปฏิบัติต่อเชลยสัมพันธมิตรก็นับว่าแตกต่างกันอยู่พอสมควร
ที่มา: เทพ บุญตานนท์. ชีวิตเชลยศึก: หยดเลือดและหยาดน้ำตาในค่ายกักกันไทยหลังสงครามมหาเอเชียบูรพา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน, 2567.
#เรื่องน่ารู้ #ติดเทรนด์ #ความเชื่อ #สาระ #ตำนาน #ความเชื่อ #เรื่องแปลก #แปลก #เกร็ด #ความรู้

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา