28 มี.ค. เวลา 16:18 • สุขภาพ

# ยาที่ใช้บ่อยในโรคท้องผูก

#โรคท้องผูก เป็นโรคยอดนิยมในสังค
มปัจจุบัน วันนี้มาเล่าสั้นๆกี่ยวกับยาที่ใช้บ่อยนะคะ😋 (บทความเก่า เอามารีวิวใหม่คะ)            .                  .
.                                
1. Bulk foaming laxatives ได้แก่ สารสกัดจากเม็ดแมงลัก(psyllium) ,โพลีคาร์โบฟิล
ช่วยเพิ่มกากใยในลำไส้ ไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหาร
.
❗ข้อควรระวังคือ ไม่แนะนำให้กินยาก่อนนอน เนื่องจาก เวลานอน ลำไส้เคลื่อนไหวน้อย ตัวยาจะจับเป็นก้อน ทำให้ลำไส้อุดตันได้คะ
.
-ยาออกฤทธิ์ค่อนช้างช้า  ไม่ควรใช้ถ้ามีอาการปวดท้อง แน่นท้อง หรืออุจจาระอัดแน่น  อาจยิ่งทำให้อาการเป็นมากขึ้น
-ผสมแล้วควรกินทันที และดื่มน้ำเยอะๆ
.
**มีความปลอดภัยใช้ในระยะยาวได้  ใช้ใน หญิงตั้งครรภ์ ให้นมบุตร เด็ก ได้
.
2. osmotic laxative เช่น MOM (มิลค์ออฟแมกนีเซีย),แลคทูโลส,กลีเซอรีน
.
ออกฤทธ ิ์โดยดึงน้ำเข้าลำไส้ใหญ่ ทำให้อุจจาระอ่อนเหลวมากขึ้น
.
2.1 แลคทูโลส ยังมีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติก มีการศึกษาพบว่า ทำให้มีปริมาณโปรไบโอติกบางชนิดเพิ่มขึ้น จึงช่วยปรับสมดุลทางเดินอาหารได้
มีความปลอดภัยสูง มีประสิทธิภาพที่ดีไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด
อาจพบการใช้ยาแลคทูโลส ในผู้ป่วยโรคตับ ที่มีระดับแอมโมเนียสูง โดยดูดมาที่ลำไส้ แลีวขับออกไปทางอุจจาระ ไม่ได้ใช้สำหรับอาการท้องผูกเท่านั้นนะคะ
.
**ใช้ในผู้ป่วยเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้หญิงตั้งครรภ์ สำหรับผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรัง มีประสิทธิภาพดีกว่า ยาระบายที่เพิ่มกากใยในลำไส้
ผลข้างเคียง อาจทำให้เกิด  อาการท้องอืดท้องเฟ้อได้
.
2.2 MOM นอกจากมีฤทธิ์ดูดน้ำเข้าลำไส้แล้ว ยังกระตุ้นการเคลื่อนตัวของลำไส้ ออกฤทธิ์ได้ค่อนข้างเร็ว แต่เนื่องจากยา มีส่วนผสมของแมกนีเซียม จึงควรเลี่ยงในผู้ป่วยที่มีเป็นโรคไตบกพร่อง หรือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางระบบประสาทกล้ามเนื้อ
.
**มีหลักฐานทางวิชาการจำกัด ดังนั้น ผู้ป่วยภาวะท้องผูกเรื้อรัง แนะนำเป็นยาชนิดอื่นมากกว่า
.
2.3 กลีเซอรีน ที่พบบ่อย คือ รูปแบบเหน็บทวาร นิยมใช้กับเด็กทารก ออกฤทธิ์เร็วภายในครึ่งชั่วโมง
.
3.Stimulant laxative เช่น senna(ยาระบายมะขามแขก),bisacodyl ออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ และยังมีฤทธิ์เพิ่มการหลั่งน้ำเข้าสู่โพรงลำไส้ เริ่มเห็นผลหลังจากรับประทานยา 6-8 ชั่วโมง จึงแนะนำให้รับประทานก่อนนอน เพื่อให้ออกฤทธิ์ในตอนเช้า
.
อาการข้างเคียง คือปวดเกร็งช่องท้อง และท้องเสียได้
**ข้อควรระวัง คือไม่แนะนำให้ใช้ในระยะยาว เนื่องจาก ลำไส้จะดื้อต่อการกระตุ้น หรือ ลำไส้เฉื่อย
.
4. ยาสวนทวารหนักและยาเหน็บทวารหนัก ออกฤทธิ์เร็ว จึงแนะนำให้ใช้ เป็นครั้งคราวตามความจำเป็น
.
.
เรียบเรียงโดย ภญ.สุพนิต วาสนจิตต์ เรื่องเล่าจากห้องยา
#โรคท้องผูก
.
.
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
.
1. การจัดการภาวะท้องผูกเรื้อรังสำหรับเภสัชกรชุมชน โดย อาจารย์ถนอมพงศ์เสถียรลักขนา และอาจารย์เฉลิมศรี ภุมมางกูร
.
2. short note โรคในร้านยา 2565 โดย ผศ.ภก.ธีระพงษ์ ศรีศิลป์
โฆษณา