29 มี.ค. เวลา 15:40 • สุขภาพ

ยาแก้ปวด ที่ใช้เมื่อมีการอักเสบจากเก๊าท์

.
โรคเก๊าท์เกิดจากกรดยูริกในเลือดสูง เกินจุดอิ่มตัว ทำให้เกิดการตกผลึกของเกลือโมโนโซเดียมยูเรต ไปสะสมบริเวณไขข้อและเนื้อเยื่อทำให้เกิดข้ออักเสบ ผิดรูป ถ้าเป็นเรื้อรังนานๆก็ทำให้เกิดก้อนโทฟัส (ตัวอย่างภาพที่ 3 คะ) บริเวณข้อ เป็นนานเข้าอาจทำให้มีผลต่อไตได้
ยูริกในเลือดสูง เกิดจาก พิวรีนในอาหาร( ➡️เป็นยูริก)+ร่างกายผลิตเอง>> ร่างกายกำจัดออกไป
.
.
อาการทางคลินิกข้ออักเสบในโรคเก๊าท์แบ่งเป็น 3 ระยะคือ
1. ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน
2.ระยะสงบศึก คือระยะที่ไม่มีอาการอักเสบหรือหายจากข้ออักเสบ
3.ระยะเรื้อรังที่มีก้อนโทฟัสขึ้นแล้ว
.
.
ตามแนวทางการรักษาของสมาคมรูมาติซั่มแห่งประเทศไทย แนะนำว่าในระยะข้ออักเสบเฉียบพลันควรพักการใช้ข้อ ยกข้อให้สูง ประคบข้อด้วยน้ำแข็ง
.
ให้เริ่มการใช้ยาต้านการอักเสบให้เร็วที่สุด โดยเลือกใช้ยา  colchicine หรือ NSAIDS เป็นลำดับแรก
และสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาลดกรดยูริคอยู่แล้วควรให้ยาในขนาดเดิมต่อไป ไม่ควรหยุดยา หรือ เปลี่ยนแปลงขนาดยาหรือผูีป่วยรายใหม่เริ่มให้ยาลดกรดยูริคเลือด ในขณะที่ยังมีข้ออักเสบอยู่ เพราะจะทำให้ข้ออักเสบหายช้า
.
#ยาที่ใช้ เวลาที่มีอาการอักเสบเฉียบพลัน
1.colchicine 0.6 mg รับประทาน วันละ 2 -4ครั้ง จนอาการปวดลดลง
อาการข้างเคียง เรื่องท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน และควรระวังในคนไข้โรคไต
2.ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ steroids (NSAIDS ) ควรให้เร็วที่สุด ให้จนอาการอักเสบหายแล้วหยุด และหลีกเลี่ยงการใช้ Nsaid บางชนิด เช่น aspirin เพราะมีผลต่อระดับกรดยูริก หลีกเลี่ยงในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวาย โรคตับ โรคไต และกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากทางเดินอาหาร และอาจให้กลุ่มยาเคลือบกระเพาะ หรือป้องกันโรคแผลในกระเพาะทางเดินอาหารได้
3.ยาต้านการอักเสบที่เป็น steroid ให้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีข้อห้ามในการให้ยา 2 ตัวข้างต้น เช่น มีภาวะไตวาย เลือดออกในทางเดินอาหาร หรือใช้ยาอื่นมาแล้วไม่ได้ผล
4.ยาแก้ปวดชนิดอื่น เช่น ทรามาดอล (tramadol) และ กลุ่มยาแก้ระงับปวดที่มีโคดีอีน (codeine) ช่วยบรรเทาอาการปวดรุนแรงระยะสั้นได้  
.
.
ขอบคุณ ผู้อ่านทุกท่านสำหรับการติดตาม บทความในเพจ ทุกคำถาม ทุก comment จะเป็น ประโยชน์สำหรับ Admin อย่างยิ่งค่ะ ขอ ให้ทุกท่านมีความสุขในวันหยุดนะคะ และพบกันสัปดาห์หน้า สวัสดีค่ะ
.
เรียบเรียงโดย ภญ.สุพนิต วาสนจิตต์ เรื่องเล่าจากห้องยา
.
.
ขอบคุณข้อมูล
1.แนวทางเวช ปฏิบัติการดูแลรักษาโรคเก๊าท์ โดยสมาคม รูมาติสซั่มแห่งประเทศไทยพ.ศ 2555
2.โรคเกาต์ดูแลอย่างไรดี โดยคณะเภสัชมหิดล
1
โฆษณา