5 เม.ย. เวลา 13:31 • สุขภาพ

เบต้าฮิสทีน (Betahistine) ยารักษาอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน

.
#ข้อบ่งใช้ ใช้ในการรักษาอาการวิงเวียนศีรษะหรือ เวียนศีรษะบ้านหมุนที่เกิดจาก ความผิดปกติของหูส่วนใน น้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ โรคเมเนียส์ (Meniere's syndrome) รักษาอาการหูอื้อ
.
#โรคเมเนียส์ (Meniere's syndrome) น้ำในหูไม่เท่ากัน มีอาการอย่างไร
เกิดจากน้ำในหูชั้นในคั่ง หรือมีความดันเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน
.
มักจะมีอาการเวียนศีรษะรุนแรง หรือรู้สึกหมุนนานกว่า 20 นาที จนถึงหลายชั่วโมง หรืออาจจะมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น รู้สึกแน่นๆ ในหู มีเสียงรบกวน ผู้ป่วยบางรายบอกว่าจะเหมือนมีเสียงลมพัดอยู่ในหู และมีอาการหูอื้อ การได้ยินลดลง อาจจะมีอาการเหล่านี้ราวๆ 1-2 วันแล้วค่อยๆดีขึ้น แล้วกลับมาเป็นอีก ซึ่งความถี่ในการเป็น ก็จะต่างไปแล้วแต่บุคคล ส่วนการได้ยินที่ลดลงในระยะแรก อาจจะเกิดร่วมกับการอาการเวียนหัว เมื่ออาการเวียนหัวหาย การได้ยินจะดีขึ้น แต่ในระยะหลังๆของโรค การได้ยินค่อยๆลดลง จนถึงขั้นหูตึงได้
ความผิดปกติมักจะเกิดขึ้นในหูข้างเดียว หูข้างที่เป็นได้ยินลดลงกว่าอีกข้างนึง ซึ่งจะทำให้อาการ ที่เป็นต่างจากการเวียนศีรษะในโรคอื่น แต่ผู้ป่วยร้อยละ 10-25 อาจจะเป็น 2ข้างได้
.
#สาเหตุของการเกิดโรค
เป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่
มีข้อสันนิษฐานว่า จากการดูดซึมของน้ำในหูชั้นในผิดปกติ หรือมีการอุดกั้นของเส้นทางการไหลเวียนของน้ำในหูชั้นใน เช่น
-โครงสร้างการไหลเวียนของน้ำในหูชั้นในผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
-โรคทางพันธุกรรม
-ปฏิกิริยาภูมิแพ้ เป็นต้น
.
#ยาช่วยได้อย่างไรนะ?
.
ยาช่วยเพิ่มโดยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดบริเวณหูส่วนใน ทำให้ของเหลวที่มาหล่อเลี้ยงบริเวณดังกล่าว มีการไหลเวียนดีขึ้น ส่งผลให้บรรเทาอาการวิงเวียน เพิ่มความสมดุลในการทรงตัวของร่างกาย
.
#รูปแบบการจัดจำหน่าย
.
รูปแบบยาเม็ด
.
: Betahistine mesilate 6 มิลลิกรัม, 12 มิลลิกรัม
ขนาดที่แนะนำตามเอกสารกำกับยา 6-12 mg วันละ 3 ครั้ง ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้
.
: Betahistine dihydrochloride
16 มิลลิกรัมและ 24 มิลลิกรัม
ขนาดที่แนะนำตามเอกสารกำกับยา 8-16 mg วันละ 3 ครั้ง ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้
ขนาดสูงสุดที่แนะนำไม่เกิน 48 mg สามารถแบ่งรับประทานวันละ 2-3 ครั้งได้ค่ะ
.
.
อย่าลืมมาให้กำลังใจ และติดตามบทความกันได้สัปดาห์หน้านะคะ ขอให้มีความสุขในวันหยุดค่ะ😘
.
.
เรียบเรียงบทความโดย ภญ.สุพนิต วาสนจิตต์
.
.
ข้อมูลอ้างอิง
.
1. น้ำในหูไม่เท่ากันควรทำอย่างไร โดยโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์
.
2.โรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
.
โฆษณา