5 เม.ย. เวลา 16:11 • ข่าว

เหตุการณ์แคดเมี่ยมปนเปื้อนในญี่ปุ่น ค.ศ. 1950

เหตุการณ์พบกากแคดเมี่ยมที่สมุทรปราการ สร้างความหวากกลัวถึงผลกระทบทั้งต่อสุขภาพและต่อสิ่งแวดล้อมไปในวงกว้าง ชื่อของผลจากการได้รับแคดเมี่ยมในปริมาณมากจนเกิดพยาธิสภาพอย่างโรค "อิไต-อิไต" หลุดออกมาที่หน้าสื่อมากขึ้น ยิ่งเพิ่มความตื่นตระหนก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่อยู่ใกล้กับบริเวณที่เกิดเหตุดังกล่าว
แต่ทราบหรือไม่ว่า เหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันนี้ เคยเกิดขึ้นแล้วในญี่ปุ่นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาดวงตกสุดๆครั้งหนึ่งของญี่ปุ่น เพราะนอกจากจะแพ้สงคราม และถูกโจมตีโดยระเบิดนิวเคลียแล้ว นี่ยังเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สร้างความสูญเสียครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งให้ญี่ปุ่น
ย้อนกลับไปในช่วงทศวรรษ 50 หลังผ่านพ้นสงครามโลกมาได้เพียงไม่นา ที่แถบแม่น้ำจินสุ เขตจังหวัดโตยามา ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมการถลุงโลหะที่ใหญ่ที่สุดที่หนึ่งในญี่ปุ่น โดยเฉพาะสายแร่เงินและสังกะสี เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ตอนที่สงครามโลกยังไม่จบ ญี่ปุ่นต้องการแร่เหล็กอย่างมาก โรงงานของบริษัทมิตซุยและโคมิโอกะเป็นโรงงานถลุงแร่ที่สำคัญ ตั้งอยู่ริ่มแม่น้ำจินสุ ซึ่งมีบริเวณที่เป็นพื้นที่การเกษตรอยู่โดยรอบด้วย ทำให้มีการปล่อยกากแร่ลงในแหล่งน้ำโดยเฉพาะแร่แคดเมี่ยม
จนราวๆ ค.ศ. 1950 ประชาชนในจังหวัดโตยามา เริ่มมีอาการแปลกๆ ปวดแขนขารุนแรงมาก ไตวาย ปวดกระดูกสันหลัง กระดูกผุบาง พิการผิดรูป ภาวะดังกล่าวเรียกว่า waddling gait กล่าวคือมีการผิดรูปจนมีท่าทางการเดินคล้ายเป็ด ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของกระดูก จนกระทั่งปี 1955 ทางกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นเริ่มสงสัยว่าอุบัติการณ์ดังกล่าวอาจเกิดจากการปนเปื้อนแคดเมี่ยมในสิ่งแวดล้อม
การศึกษาเพื่อหาสาเหตุดำเนินไปเกือบ 10 ปี จนมั่นใจว่าอาการทั้งหลายเกิดจากการปนเปื้อนและพิษของแคดเมียมปริมาณสูงที่มาจากการผลิตสังกะสี ตกค้างมากว่า 20 ปี จนถูกรู้จักในชื่อโรค "อิไต-อิไต" ในปี 1968
โรคอิไตอิไต (ญี่ปุ่น:イタイイタイ病 อังกฤษ: Itai-itai disease) เป็นโรคชนิดหนึ่งเกิดจากแคดเมียม ชื่อโรคอิไตอิไต มาจากภาษาญี่ปุ่น ที่มาจากเสียงร้องของผู้ป่วย (คำว่า อิไต-อิไต แปลว่า โอ๊ย โอ๊ย) แสดงถึงความเจ็บปวด
อาการเจ็บป่วยที่พบได้จากโรคอิไต อิไต คือ ปวดแขน ขา (extremity pain), มีวง
แหวนแคดเมียม (yellow ring), ปวดกระดูก (Bone pain), ปวดข้อ (joint pain), มีความผิดปกติที่กระดูกสันหลัง ทำให้มีลักษณะเตี้ย หลังค่อม อาการระยะสุดท้าย ได้แก่ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีความผิดปกติของ เมทาบอลิซึม โดยส่วนใหญ่ เสียชีวิตจากภาวะไตวาย และการเสียสมดุลของเกลือแร่ (Electrolyte Imbalance)
ส่วนสาเหตุที่เกิดความผิดปกติของกระดูกเนื่องจากแคดเมี่ยมเข้าไปแทนที่แคลเซียมและแมกนีเซียมที่กระดูก ทำให้แร่ธาตุต่างๆที่จะไปสร้างความแข็งแรงกระดูกสูญเสียไปทางท่อไต (renal tubular osteomalacia) ทำให้แคลเซียมและแร่ธาตุต่างๆไม่สามารถสะสมที่กระดูกได้ ทำให้เปราะบางและหักไดง่าย
น้ำในธรรมชาติมีแคดเมียมแต่ระดับต่ำมาก น้ำดื่มต้องไม่มีแคดเมียมเกิน 0.005 ไมโครกรัมต่อลิตร (ATSDR 1999) ซึ่งองค์การอนามัยโลกกำหนดแคดเมียมเข้าตัวไม่ควรเกิน 7 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม ต่อหนึ่งสัปดาห์
อีกหนึ่งแหล่งที่พบแคดเมี่ยมได้เยอะมาก คือควันบุหรี่ โดยแต่ละมวนมีแคดเมียม 2 ไมโครกรัม ยิ่งถ้าใช้น้ำที่ปนเปื้อนแคดเมียมในการทำใบยาสูบจะยิ่งทำให้ได้รับแคดเมี่ยมในปริมาณที่สูงตามไปด้วย
การรับแคดเมี่ยมเข้าทางร่างกายสามารถเข้าได้ 2 ทางหลักๆคือ ทางปากและทางจมูก จากการเกิดน้ำและอาหารที่ปนเปื้อน รวมไปถึงการสูบเอาควันที่ปนเปื้อนแคดเมียมเข้าไป
การจัดการภาวะได้รับแคดเมียมเกินขนาดในปัจจุบันทำได้โดยวิธี Cadmium Chelating คือการขับแคดเมียมออกโดยใช้ EDTA ดังนั้นหากมีอาการไอ เจ็บ
หน้าอก เหงื่อออก หนาวสั่น หายใจลำบาก ไอ และอ่อนเพลีย ประกอบกับอยู่ในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา และที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีการปนเปื้อนของแคดเมียม
อ้างอิง
โฆษณา