9 เม.ย. เวลา 15:59 • สุขภาพ

วันนี้ขอมาเล่าเรื่อง#ปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซึมแคลเซียมนะคะ มีทั้งพิ่มขึ้น และลดลง มาต่อกันเลยคะ😊

#ปัจจัยที่ทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง คือ
-เครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ จะทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกมากเกินไป
-แอลกอฮอล์ขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียมในระบบทางเดินอาหาร
-เกลือมากเกินไป จะทำให้แคลเซียมสลายตัว หรือถูกขับออกทางปัสสาวะมากขึ้น
-อาหารที่มี ออกซาลิคสูงๆ หรือไฟติคสูงๆ เช่น ผักโขม มันฝรั่ง ธัญพืช ถ้ารับประทานมากเกินไป อาจจะลดการดูดซึมของแคลเซียมได้
.
#ปัจจัยที่ทำให้แคลเซียมดูดซึมได้ดีขึ้น คือ
-การรับประทานหลังอาหาร เนื่องจากกรดในกระเพาะ จะทำให้แคลเซียมดูดซึมได้ดีขึ้น ยกเว้น แคลเซียมซิเตรท ซึ่งดูดซึมได้ดีในทุกสภาวะ และตัวอาหารจะเพิ่มการดูดซึมของวิตามินดี ซึ่งวิตามินดีอยู่ในส่วนผสมของแคลเซียมหลายยี่ห้อเลยคะ
-วิตามินดีช่วยเพิ่มการดูดซึมของแคลเซียม ผ่านลำไส้เล็กได้มากขึ้น
- การรับประทานโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากโปรตีนกระตุ้นให้เกิดการหลั่งกรด จึงช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมค่ะ
และที่สำคัญควรรู้ด้วยว่า #แคลเซียมไม่ควรทานพร้อมยาอะไรบ้าง (เหตุผลเพราะแคลเซียมรบกวนการดูดซึมของยาในกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ ) ตัวอย่างเช่น
-ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย กลุ่มฟลูโอโรควิโนโลน เช่น นอร์ฟลอกซาซิน ,ซิโปรฟลอกซาซิน (สังเกตุท้ายชื่อยา จะลงท้ายด้วย ซาซิน)
.
-ยาปฎิชีวนะ กลุ่มเตตร้าไซคลีน เช่น เตตร้าไซคลีน,ดอกซี่ไซคลีน
.
-ยาลดความดันโลหิตบางกลุ่ม เช่น กลุ่ม Calcium channel blocker ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ แอมโลดิปืน(amlodipine),เฟโลดิปีน (Felodipine),เวอราปามิล (Verapamil)
.
-ฮอร์โมนไทรอยด์สังเคราะห์
-ยาในกลุ่มบิสฟอสโฟเนต เช่น อะเลนโดรเนต(alendronate) , ไรเซนโดรเนต(risendronate)
.
.
หวังว่า บทความวันนี้ จะมีประโยชน้บ้างไม่มากก็น้อย เพื่อให้ผู้อ่านได้มีความเข้าใจในการรับประทานแคลเซียมได้ถูกต้องมากขึ้น เป็นข้อแนะนำเพิ่มเติมไว้คะ ถ้าไม่แน่ใจ สามารถสอบถามกับเภสัชกรเวลารับยา หรือ inbox สอบถามเข้ามาได้นะคะ จะพยายามหาคำตอบให้คะ
ขอบคุณสำหรับทุกการติดตาม ทุกกำลังใจจากผู้อ่านคะ❤🙏
.
.
เรียบเรียงโดย ภญ.สุพนิต วาสนจิตต์
.
.
ข้อมูลอ้างอิง
.
.
2.แคลเซียม กินอย่างไรให้ดีต่อร่างกาย รามาแชนแนล
.
.
โฆษณา