11 เม.ย. เวลา 03:09 • หุ้น & เศรษฐกิจ

เงินเฟ้อสหรัฐ ฯ ที่ค้างในระดับค่อนข้างสูงติดต่อกัน 3 เดือนติด

เพิ่มความไม่แน่นอนต่อจังหวะของการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
- เงินเฟ้อทั่วไปสหรัฐฯเดือนมีนาคม 2024 อยู่ที่ 3.5%YoY หรือ 0.4%MoM เทียบกับเดือนก่อนที่ 3.2%YoY หรือ 0.4%MoM อันสูงกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 3.4%YoY หรือ 0.3%MoM ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งของการปรับขึ้นของเงินเฟ้อเทียบกับเดือนก่อน มาจากราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้น ทั้งราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ตลอดจน ค่าไฟฟ้า ส่งผลให้เงินเฟ้อในหมวดดังกล่าวขยับขึ้นถึง 1.1%MoM
ขณะที่เงินเฟ้อในฝั่งบริการยังคงค้างอยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยยังคงเพิ่มขึ้น 0.5%MoM ต่อเนื่องจากเดือนก่อน อันมาจากการขยับขึ้นของ Super Core Service ที่ไม่รวมบริการภาคอสังหาริมทรัพย์อยู่ที่ 0.65%MoM โดยค่าบริการด้านการขนส่งขยับขึ้นสู่ระดับ 1.5%MoM ขณะที่ราคาบริการอสังหาริมทรัพย์ก็ยังคงค้างในระดับค่อนข้างสูงที่ 0.4%MoM
อย่างไรก็ดี ขณะที่เงินเฟ้อที่เป็นสินค้าหลัง (Core Goods) ยังคงเป็นเพียงหมวดเงินเฟ้อหลักอันเดียวที่ยังมีพัฒนาการปรับลดลง -0.2%MoM โดยได้แรงหนุนจากการปรับลดราคาของรถยนต์มือสอง และรถยนต์ใหม่ ด้านเงินเฟ้อพื้นฐานสหรัฐฯ อยู่ที่ 3.8%YoY หรือ 0.4%MoM เทียบกับเดือนก่อนที่ 3.8%YoY หรือ 0.4%MoM อันสะท้อนถึงสถานการณ์ที่เงินเฟ้อยังคงมีความดื้อต่อการปรับลดลง
- ตลาดตอบรับข้อมูลเงินเฟ้อที่กลับมาขยับขึ้น ในเชิงลบ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปีขยับมาทดสอบแถวๆ 4.5% ส่วนพันธบัตรสหรัฐฯ 2 ปีอยู่ที่ 4.95% ขณะที่ Dollar index แกว่งตัวแถว 105 อันเป็นระดับที่แข็งค่าที่สุดตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
สำหรับ CME Fedwatch ยังคงบ่งชี้โอกาสการปรับลงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบ 11-12 เม.ย. เหลือประมาณ 18% จาก 56% ในวันทำการก่อนหน้า ส่วนตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงค่อนข้างแรง โดย Dow Jones, S&P500 และ Nasdaq ปรับลง -1.09%, -0.95% และ -0.84% จากวันทำการก่อนหน้า
เรามองว่าข้อมูลเงินเฟ้อเดือน มี.ค. ที่ยังค้างในระดับสูงติดต่อกันเป็นเดือนที่สามอาจไม่ได้ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้เฟดว่าการจัดการเงินเฟ้อนั้นใกล้จะสำเร็จ อาจจะเป็นสัญญาณที่ไม่ค่อยดีนักต่อโอกาสที่เฟดจะมีการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยในไตรมาส 2/24 นี้ ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลายๆ ตัวที่ออกมาดี
ซึ่งเป็นปัจจัยที่ยังสนับสนุนว่าเฟดไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งรีบปรับลดอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ ข้อมูลเงินเฟ้ออีก 2-3 เดือนข้างหน้าคงจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อเส้นทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยหากข้อมูลดังกล่าวยังคงสะท้อนถึงทิศทางของเงินเฟ้อที่ยังคงดื้อต่อการปรับลดลง เฟดอาจจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยน้อยกว่าเดิมที่เคยส่งสัญญาณไว้
โฆษณา