บุญใหญ่สุดท้าย(ก่อนลมหายใจสิ้นสุด)

- ร่วมแสดงความอาลัยและเชิดชูเกียรติ -
แด่ พว.นลินทิพย์ แซ่ลี้
พยาบาลสาวเหยื่อเมาแล้วขับเสียชีวิต
** บริจาคอวัยวะช่วย 5 ชีวิต แม้ตัวจากไป แต่จิตวิญญาณแห่งความดีจะคงอยู่ชั่วนิรันดร์ **
เมื่อวันจันทร์ที่ 15 เมษายน 2567 ที่ผผ่านมา เฟชบุ๊ก โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ สำนักการแพทย์ กทม. ได้โพสต์แสดงความอาลัยต่อการจากไปของ พว.นลินทิพย์ แซ่ลี้ อายุ 35 ปี พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาลห้องตรวจโรคเฉพาะทาง โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
หลังประสบอุบัติเหตุถูกรถกระบะเมาแล้วขับชนจักรยานยนต์ จนเสียชีวิตที่โรงพยาบาล โดยผู้ตายได้ทิ้งมรดกชิ้นสุดท้ายไว้ คือ การบริจาคอวัยวะร่างกายให้กับสภากาชาดไทย ตามที่เคยสั่งเสียไว้ ประกอบด้วย หัวใจ, ไต 2 ข้าง, ม้าม และหลอดเลือดดำอุ้งเชิงกราน ต่อลมหายใจให้กับผู้ป่วยได้อีก 5 ชีวิต
ตลอดระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ พว.นลินทิพย์ แซ่ลี้ ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีเยี่ยม ด้วยความเสียสละและความรับผิดชอบ จนได้รับคำชื่นชมจากผู้รับบริการมาโดยตลอด
1
พยาบาลสาวบริจาคอวัยวะให้กับสภากาชาดไทย ช่วยผู้ป่วย 5 ชีวิต ที่โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ สำนักการแพทย์ กทม.ในวันที่ 15 เมษายน 2567
คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ บุคลากรโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ร่วมไว้อาลัยและเชิดชูเกียรติ
** ขอกุศลแห่งบุญในครั้งนี้ ส่งดวงวิญญาณสู่สัมปรายภพ พวกเราระลึกถึงความดีงามและความเสียสละตลอดไป **
อ้างอิงข้อมูล : จากศูนย์รับบริจากอวัยวะ สภากาชาดไทย ระบุว่า การบริจาคอวัยวะ คือ การมอบอวัยวะเพื่อนำไปปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยที่อวัยวะนั้นๆ เสื่อมสภาพ ผู้บริจาคต้องเสียชีวิตจากภาวะสมองตายเท่านั้น (ยกเว้น ไต 1 ข้าง, ตับ, ไขกระดูก เป็นต้น ที่สามารถบริจาคได้ตอนยังมีชีวิตอยู่)
หลังผ่าตัดเพื่อนำอวัยวะไปให้ผู้ป่วยที่ได้รับบริจาค แพทย์จะตกแต่งร่างกายของผู้บริจาคให้เรียบร้อย แล้วมอบให้ญาติไปประกอบพิธีทางศาสนา
ทั้งนี้ ผู้บริจาคจะต้องรับแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะจากทั่วประเทศ โดยติดต่อได้ที่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย, เหล่ากาชาดจังหวัดทุกแห่ง, โรงพยาบาลประจำจังหวัด
คุณสมบัติผู้บริจาคอวัยวะ
1) อายุไม่เกิน 65 ปี
2) เสียชีวิตจากภาวะสมองตาย
3) ปราศจากโรคติดเชื้อ และโรคมะเร็ง
4) ไม่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน, หัวใจ, โรคไต, ความดันโลหิตสูง, โรคตับ และไม่ติดสุรา
5) อวัยวะที่จะบริจาคต้องทำงานได้ดี
6) ปราศจากเชื้อที่ถ่ายทอดทางการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี, ไวรัสเอดส์ ฯลฯ
7) ควรแจ้งเรื่องการบริจาคอวัยวะให้บุคคลในครอบครัวหรือญาติรับทราบด้วย
หมายเหตุ: อวัยวะที่ปลูกถ่ายได้ ได้แก่ ไต 2 ข้าง, ปอด 2 ข้าง, หัวใจ, ตับ, ตับอ่อน นอกจากนี้ ยังมีเนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายได้ ได้แก่ ลิ้นหัวใจ, หลอดเลือด, ผิวหนัง, กระดูก, เส้นเอ็น, กระจกตา.
#ชีวิตสำคัญที่เป้าหมาย วิธีคิด และการกระทำ
โฆษณา