23 เม.ย. เวลา 15:38 • ธุรกิจ

คำว่า "User" ล้าสมัยไปแล้วรึป่าว?

เป็นเวลานานหลายทศวรรษที่คำว่า "User" ครองพื้นที่ในการพูดถึงผู้คนกับเทคโนโลยี แต่เมื่อความสัมพันธ์ของเรากับเทคโนโลยีแน่นแฟ้นขึ้น ภาษาที่เราใช้สื่อสารก็ควรสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ บทความนี้จะชวนคิดว่าทำไมคำว่า "User" อาจจะล้าสมัย และชวนมองหาคำศัพท์ที่สื่อถึงสายสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างคนเรากับเทคโนโลยีมากขึ้น
ที่มาที่ไปของคำว่า “User”
คำว่า "User" มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ย้อนกลับไปถึงยุค 1950 สมัยคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เครื่องยักษ์เหล่านี้ใช้งานโดยผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมเท่านั้น "User" จึงตรงตัวตามความหมาย คือ บุคคลที่ใช้ระบบซับซ้อนตามคำแนะนำเฉพาะ
ตัดภาพมาสู่ยุค 90 ยุคคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลถือกำเนิด เทคโนโลยีเข้าถึงง่ายขึ้น แนวคิด "การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้" (UXD) ก็ผุดขึ้น แต่คำว่า "User" ยังคงอยู่ อาจเป็นเพราะความคุ้นเคย
ภาพรวมของ “User” ในปัจจุบัน
แม้ "User" จะเคยทำหน้าที่ได้ดี แต่ปัจจุบันมีเสียงสะท้อนถึงข้อจำกัด นักวิจัยด้าน UX หลายๆ คนชี้ว่าคำว่า "User" สร้างระยะห่างระหว่างคนกับเทคโนโลยีมากเกินไป มันสื่อภาพของคนที่แค่บริโภคเทคโนโลยี เหมือนเป็นสิ่งของแทนที่จะเห็นภาพของผู้คนที่โต้ตอบ เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีอย่างแน่นแฟเน
ไม่เพียงเท่านั้น การมุ่งเน้นที่ "User" อาจส่งผลต่อวัฒนธรรมการเติบโตแบบสุดโต่ง บริษัทที่หมกมุ่นกับปริมาณผู้ใช้ อาจมองข้ามคุณภาพ นำไปสู่กลยุทธ์การออกแบบที่ชักจูง ผู้ใช้ในสถานการณ์นี้ "User" กลายเป็นแค่ตัวเลขโดยประสบการณ์จริงของพวกเขาถูกลืมเลือน
เข้าสู่ยุค Human centered
มีกระแสใหม่ที่ต้องการแทนที่ "User" ด้วยคำศัพท์ที่เชื่อมโยงกับความเป็นมนุษย์มากขึ้น คำว่า "Person" หรือ "Interactor" เป็นการยอมรับความซับซ้อนของการโต้ตอบระหว่างคนกับเทคโนโลยี เราไม่ได้แค่ใช้ผลิตภัณฑ์ แต่เรากำลังเรียนรู้และร่วมสร้างสรรค์ผลงานกับมัน
การเปลี่ยนแปลงนี้เริ่มปรากฏในอุตสาหกรรม บริษัทอย่าง Square ละทิ้งคำว่า "User" หันมาใช้คำว่า "Customer" แทน การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยนี้สื่อถึงการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในมุมมองของบริษัทที่มีต่อผู้คนที่โต้ตอบกับผลิตภัณฑ์
อนาคตของมนุษย์และเทคโนโลยีที่เชื่อมถึงกัน
ภาษาที่เราใช้ในการอธิบายสิ่งต่างๆ สะท้อนวิธีคิดของเรา การก้าวข้ามคำว่า “User" จะช่วยส่งเสริมแนวทางที่มุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่ไม่เพียงตอบโจทย์ แต่ยังสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ลึกซึ้งและมีส่วนร่วม มันคือการสร้างเทคโนโลยีที่ทำงานเพื่อเรา ไม่ใช่เราทำงานเพื่อเทคโนโลยี เมื่อความสัมพันธ์ของเรากับเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น ภาษาที่เราใช้สื่อสารก็จะพัฒนาตามไปด้วยเช่นกัน
โฆษณา