29 เม.ย. เวลา 05:03 • สุขภาพ

ผลกระทบลูกโซ่ ร้อน-แล้ง-หิวโหย

ฤดูร้อนปีนี้ประเทศไทยเผชิญกับสภาพอากาศ (ร้อน) สุดขั้ว ทั้งจากภาวะโลกเดือด เอลนีโญ และที่ผสมปนๆกันอีกหลายปัจจัย ทำให้เกิดการเขียนพาดหัวถึงวิกฤติโลกอากาศสุดขั้วที่ไทยจะร้อนต่อจนถึงกันยายน จนสะพัดในโซเชียลมีเดีย ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกมาชี้แจงเมื่อวันก่อน ประเทศไทยจะคลายอุณหภูมิลงจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พร้อมกับปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้น ที่จะช่วยระบายความร้อนลงได้ แต่ที่น่ากลัวกว่าอากาศร้อนนั้น คือผลพวงของมัน ที่กระทบต่อพืชอาหาร
ที่มา: https://www.matichon.co.th/region/news_4538290
จากข่าวข้างต้น เป็นเพียงภาพผลกระทบที่เห็นได้ชัดเท่านั้น จริงๆแล้วมีผลกระทบที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังอีก เพราะว่าสภาพที่ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่สูงขึ้น ไม่ได้ส่งผลดีต่อพืชเสมอไป แต่กลับทำให้พืชสะสมไนโตรเจนได้น้อยลง และส่งผลให้สารอาหารในพืชลดต่ำลงด้วย โดยจากงานวิจัยที่ผ่านมาได้มีการตรวจพบว่าความเข้มข้นของโปรตีน, ไนเตรต, แมกนีเซียม, เหล็ก, และสังกะสี มีปริมาณที่ลดลง รวมทั้งมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงพืชที่มีสภาวะเครียดและให้ผลผลิตที่น้อยลงด้วย
ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้น และสารอาหารในผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลง
นอกจากนี้อากาศร้อนและความแห้งแล้งยังกระทบต่อความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนของดิน ที่กักเก็บได้น้อยลง และกระตุ้นกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินทำให้มีการปลดปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีผลกระทบเกิดเป็นลูกโซ่
ที่มา: https://www.mdpi.com/2071-1050/14/2/914
ดังนั้นแล้วการช่วยกันคนละไม้คนละมือตอนนี้ยังไม่สายเกินไปเพื่อที่จะลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสร้างความยั่งยืนต่อพืชอาหาร
โฆษณา