อาการปวดเข่าไม่ได้มาจากข้อเข่าเสื่อมเสมอไป

แม้ว่าตำแหน่งเข่า แทบจะไม่มีกล้ามเนื้อ และส่วนใหญ่ก็มักจะมาด้วย OA Knee แต่จริงๆแล้วบริเวณเข่านั้น เป็น joint ที่เต็มไปด้วย จุดเกาะต้น จุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อขาทั้งช่วงท่อนบนและท่อนล่าง และเป็นไปด้วย tendon กับ ligament ซึ่งเหล่านี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้มีอาการปวดในเข่าได้เหมือนกัน
การตรวจ motion และ action ของมัดกล้ามเนื้อกลุ่ม quadricep, hamstring, gastrocnemius ก็เป็นทางนำที่ดีที่จะใช้ประเมินเพื่อหาถึงสาเหตุของการเจ็บเข่า เนื่องจากหากมี TrP ก็มีโอกาศที่จะส่งผลมาถึงจุกเกาะต้นและจุดเกาะปลายที่มาเกาะในตำแหน่งเข่า จนนำมาสู่อาการปวดเข่าได้ ซึ่งหากพบก็เป็นไปได้ว่าอาการปวดเข่าอาจมาจากกล้ามเนื้อกลุ่มนี้
ในส่วนของการคลำเพื่อตรวจ จะแบ่งการตรวจเป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ 1.การคลำส่วนของกระดูก และ 2.การคลำส่วนของ เนื้อเยื้ออ่อน (soft tissue)
1.การคลำกระดูก ( Bony palpation ) ต้องจัดท่าผู้ป่วยให้ชันเข่าทำมุม 90 องศา เพื่อให้เห็นตำแหน่งของกระดูกอย่างชัดเจน โดยจะแบ่งการตรวจคลำกระดูกเป็น กระดูกด้านใน การะดูกด้านนอก และกระดูกด้านหน้า
1.1กระดูกด้านใน ( medial aspect ) จะมี 3 ตำแหน่งหลักๆที่ต้องตรวจ คือ medial joint line, medial femoral condyle, และ medial tibial plateus
1.2กระดูกด้านนอก ( lateral aspect ) จะมี 3 ตำแหน่งหลักๆที่ต้องตรวจ คือ Lateral joint line, lateral femoral condyle, และ lateral tibial plateus
1.3กระดูกด้านหน้า ตำแหน่งที่ต้องทำการตรวจคือ ขอบของ trochlear groove และ patella
2.การคลำเนื้อเยื่ออ่อน (soft tissue palpation) ตรวจโดยให้ผู้ป่วยชันเข่า 90 องศาเช่นเดียวกันกับการตรวจกระดูก โดยการคลำจะแบ่งเป็นตำแหน่งดังนี้
2.1ด้านหน้า ควรคลำ patella tendon และ ส่วนปลายของ quadricep
2.2ด้านนอก ตำแหน่งที่ควรตรวจคลำ คือ lateral collateral ligament, iliotibial band, bicep femoris
2.3ด้านใน ตำแหน่งที่ควรตรวจคือ medial joint line, medial collateral ligament
2.4ด้านหลัง ข้อพับหลังเข่าจะมีช่องว่างเว้าลงไปคือ popliteal fossa โดยตำแหน่งที่ควรคลำคือ bicep femoris tendon, semimembranosus, gastrocnemius และใน fossa นี้ อาจคลำเจอถุงน้ำที่เรียกว่า Baker’s cyst ได้
การตรวจด้วยการคลำนี้จะช่วยคัดกรองอาการเบื้องต้นได้ ว่าอาการปวดในหัวเข่ามีพยาธิสภาพมาจากอะไร ผ่านการคลำทั้งกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน ซึ่งจะช่วยทำให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำมากขึ้น นอกเหนือจากการตรวจด้วยการคลำ การเลือกใช้ specific test ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจยิ่งขึ้น
Ballottment test เป็นการตรวจ specific test ตรวจหาของเหลวในข้อเข่า ตรวจโดยจัดให้ผู้ป่วยนอนหงาย ข้อเข่าเหยียดตรง จากนั้นใช้อุ้งมือกดไล่ของเหลวจาก suprapatellar pounc ให้มารวมใต้กระดูกสะบ้า แล้วใช้หัวแม่มืออีกข้างกดที่กระดูกสะบ้า ในคนปกติปริมาณของเหลวในข้อเข่าจะไม่มากพอที่จะทำให้รู้สึกว่ากระดูกสะบ้าเคลื่อนลงไปกระทบกับ Trochlear groove
Patella grinding test เป็นการตรวจเพื่อประเมินผิวของกระดูกสะบ้า และ trochlear groove
Valgus & varus stress test เป็น stability test ใช้ในการประเมิน คือ lateral collateral ligament และ คือ medial collateral ligament MCL
Anterior posterior drawer test เป็น stability test ที่ใช้สำหรับประเมิน Cruciate ligament
ทั้งหมดนี้เป็นท่าตรวจที่ใช้ประเมินอาการปวดเข่าเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าท่าตรวจสำหรับอาการปวดหัวเข่านั้น ยังมีสาเหตุอื่นนอกเหนือจากพยาธิสภาพของ กล้ามเนื้อและกระดูก อาจจะมาจากภาวะ ยูริก ในร่างกายสูงก็ได้ หรืออาจมีปัญหาจาก nerve supply ก็ได้ เพื่อความแม่นยำจึงต้องใช้หลายๆข้อมูลเพื่อประกอบการวินิจฉันอาการ
เบื้องต้นในการรักษาอาการปวดในข้อเข่าสำหรับแผนไทยหากมีอาการมาจากกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่ออ่อน สามารถใช้สูตรนวดรักษาอาการเข่าตามแนวทางสูตรนวดราชสำนักได้เลย และอาจมีการกดจุดสัญญาณทั้งเข่าหน้าและเข่าหลัง
ในกรณีที่ตรวจแล้วมีพยาธิสภาพที่เกิดจากละสิกาแห้ง ในส่วนของการแพทย์แผนไทยจะใช้หัตถการเผายาสมุนไพรในรักษาเพื่อกระตุ้นการสร้างละสิกาให้ข้อเล่ามีความลื่นไหลมากขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วจะต้องทำหัตถการเผายาอย่างต่อเนื่อง 3 วันติดๆ เพื่อผลลัพธ์ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
...............................................................................................................
•ชูใจคลินิกการแพทย์แผนไทย
สาขานราธิวาส 083-2695364
สาขากระบี่ 093-5793194
สาขาภูเก็ต 063-3281756
สาขาสุขุมวิท 062-2636629
สาขาพัทยา 092-5362964
สาขาลาดพร้าว 061-6154628
โฆษณา