ดาหลาถ้วย พืชตระกูลขิงข่า พบทางภาคใต้ตอนล่างของไทย ขึ้นตามป่าดิบชื้น

ความงามของพืชตระกูลขิงข่า กาหลาถ้วย หรือดาหลาถ้วย Etlingera venusta (Ridl.) R.M.Sm ZINGIBERACEAE ไม้ล้มลุก สูง 2.5–4 ม. ใบมีข้างละประมาณ 10 ใบ รูปขอบขนาน ยาว 15–80 ซม. แผ่นใบเกลี้ยง ก้านใบสั้นมาก
ฐานดอกสูง 2–3 ซม. ช่อวงใบประดับสูง 8–9 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 7–7.5 ซม. ก้านช่อดอกยาว 60–80 ซม. ใบประดับสีชมพูอมม่วงหรือมีปื้นขาวแซม เรียงซ้อนเหลื่อมแน่นรูปถ้วย รูปรีหรือรูปขอบขนาน วงนอกยาว 7.5–12 ซม. ปลายพับงอกลับ วงในแคบกว่า ยาว 2–8 ซม.
ใบประดับย่อยยาวประมาณ 3 ซม. หลอดกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 4 ซม. หลอดกลีบดอกรูปแถบ ยาว 1–1.2 ซม. กลีบปากตั้งตรง ยาว 2–2.2 ซม. สีขาว โคนมีปื้นสีแดง ช่อผลกลมกว้าง เส้นผ่านศูนย์กลาง 13–15 ซม. ผลย่อยรูปไข่ ปลายเรียว สีแดง เกลี้ยง ยาวประมาณ 5 ซม.
พบที่คาบสมุทรมลายู และภาคใต้ตอนล่างของไทย ขึ้นตามป่าดิบชื้น ความสูงระดับต่ำ ๆ คล้ายกับกาหลอ แต่ก้านใบสั้นมาก และผลไม่มีใบประดับติดทน
Photo Cr. : Abdulrahman Bin
ที่มา : เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา จ.นราธิวาส สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 สาขาปัตตานี
#ดาหลาถ้วย #เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลาบาลา #นราธิวาส #สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่6สาขาปัตตานี #กรมอุทยานแห่งชาติ
โฆษณา