Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องหลากมุมกับ ภก.ปราโมทย์
•
ติดตาม
20 มิ.ย. 2024 เวลา 15:48 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
"The Wheel of Emotions" พื้นฐานอารมณ์จาก Inside Out
ถือเป็นภาพยนต์ที่ดีอีกหนึ่งเรื่องของปีนี้ และเป็นภาพยนต์แอนิเมชันที่ดีครบรสดีเรื่องหนึ่งในผมได้ดูสำหรับ Inside Out ภาค 2 ส่วนตัวผมจำไม่ได้แล้วว่ารู้สึกอิ่มและมีความสุขขนาดนี้กับการชมภาพยนต์แอนิเมชันมานานแค่ไหน ครั้งล่าสุดน่าจะต้องย้อนกลับไปถึงดาบพิฆาตอสูรเดอะมูฟวี ตอนรถไฟแห่งนิรันดร์โน่นเลย
ความเห็นส่วนตัวผม ผมถือว่าภาคนี้ให้ความรู้สึกสนุกน่าติดตามได้ไม่แตกต่างจากภาคแรกเลย แต่ส่วนตัวผมยังประทับใจความปวดตับในภาคแรก ที่เรียกน้ำตาจากผมได้แบบไม่รู้ตัว ถึงภาคนี้จะไม่มีอะไรที่หนักหน่วงขนาดนั้น แต่โทนเรื่องโดยรวมก็ถือว่าสนุกและน่าติดตาม ถึงแม้จะดูเป็นหนังสูตร แต่ระหว่างที่เรื่องดำเนินไปก็มีจุดที่ทำให้เราต้องลุ้นกับตัวละคร และได้ทำความเข้าใจถึงอารมณ์ ความคิด จิตใจ ทั้งของตัวละครและของเราเองไปพร้อมๆกัน
ภาพยนต์แอนิเมชันเรื่อง Inside Out ภาค 2 นี้จึงเป็นภาพยนต์ที่ควรค่าแก่การตีตั๋วเข้าไปชมอีกเรื่องของปีนี้ 7.5/10 ไม่มากไม่น้อยเกินไปสำหรับการ์ตูนที่ให้แง่คิดสอนใจ เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดี จะให้ดีควรมีสตรีพาไปดูด้วยกัน(อันนี้หยอกๆๆ)
2
แน่นอนว่านี่่คือหนังกับดัก ใครที่ไม่เคยดูภาคแรกและหัวโล่งๆเข้าไป มีเจ็บหนักแน่นอน เพราะหนังเรื่องนี้จะพาคุณไปสำรวจถึงส่วนลึกในจิตใจ และตั้งคำถามเกี่ยวกับความถูกต้องของความรู้สึกของคนเรา มีประกอบขึ้นด้วยความรู้ ความคิด ภูมิหลัง ความเชื่อ สิ่งแวดล้อม และอีกหลายหลายปัจจัยกลายเป็นเราแต่ละคน
สิ่งเหล่านี้อธิบายด้วยทฤษฎีด้านจิตวิทยาหนึ่งที่ชื่อว่า "วงล้ออารมณ์" หรือ "The Wheel of Emotions" ซึ่งอธิบายถึงพื้นฐานอารมณ์ของมนุษย์เรา คือความสุข ความเศร้า ความโกรธ ความกลัว ความรังเกียจ กลายเป็นตัวละครหลักที่เราเห็นในหนัง ก็คือ เศร้าซึม (Sadness) ฉุนเฉียว (Anger) หยะแหยง (Disgust) กลั๊วกลัว (Fear) และหัวหน้าอย่าง ลั้ลลา (Joy)
1
ทฤษฎี The Wheel of Emotions ถูกเสนอโดยนักจิตวิทยาชื่อ ศ.ดร.โรเบิร์ต พลัทชิค ที่เผยแพร่ออกมาในปี 1980 คือทฤษฎีที่ว่าด้วยอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ที่พลัทชิคได้แบ่งออกเป็นสี่คู่ตรงข้าม
ประกอบไปด้วย ความรื่นเริงและความเศร้า, ความโกรธและความกลัว, ความวางใจและความรังเกียจ, ความประหลาดใจและความคาดหวัง และเมื่ออารมณ์เหล่านั้นมาผสมกันสลับไปสลับมา ก็จะแตกแขนงออกเป็นความรู้สึกอีกหลากหลายนับไม่ถ้วน ซึ่งพลัทชิคได้อธิบายทฤษฎีทั้งหมดนี้ให้เข้าใจง่ายด้วยการสร้างจานสีแห่งอารมณ์ อันเป็นที่มาของภาพจำที่เวลาเรานึกถึงความสุขก็จะนึกถึงสีเหลือง สีแดงความโกรธ และสีฟ้าความเศร้า
ดร. โรเบิร์ตเรียกสิ่งนี้ว่า "Psycho-evolutionary synthesis" หรือ การสังเคราะห์ทางจิตวิทยาและวิวัฒนาการ อ้างอิงมาจากทฤษฎีของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน ที่ว่าด้วยเรื่องการแสดงออกของสัตว์สามารถสะท้อนถึงอารมณ์ที่ช่วยให้พวกมันรอดชีวิตได้ เหมือนกับที่ภาพยนตร์เรื่อง Inside Out เช่น ความกลัวนั้นช่วยป้องกันไม่ให้คุณเสี่ยงอันตราย ในขณะที่ความรังเกียจช่วยป้องกันไม่ให้คุณกินอะไรมั่วจนได้รับอันตราย
หลายครั้งเมื่อมนุษย์เราเผชิญกับสถานการณ์บางอย่างในชีวิต แต่ไม่สามารถอธิบายได้ว่าคืออะไร กลัวก็ยังไม่ใช่ จะบอกว่าเสียใจก็ยังไม่เชิง และพอรู้ตัวอีกทีความขุ่นข้องในใจก็มีขนาดใหญ่ขึ้นจนเกิดความรู้สึกอึดอัด ไร้ทางออก โอกาสนี้ลองใช้ "Emotion Wheel" เพื่อพิจารณาตัวเองดูโดยการนำเอาแผนภูมิวงล้อแห่งอารมณ์ไปใช้เพื่อสำรวจความต้องการที่แท้จริงในจิตใจของตัวเอง
ซึ่งวิธีการดูเผื่อหาคำสื่อสารสำหรับตัวเองนั้นไม่ยากเริ่มจาก การเริ่มมองที่ขอบด้านนอก เพื่อค้นหาอารมณ์ที่มีความเข้มข้นต่ำซึ่งใกล้เคียงกับคุณที่สุด เช่น มีความมั่นใจ ท้อแท้ท้อถอยจากนั้นก็ค่อยๆ ถามความรู้สึกและมุ่งไปที่จุดศูนย์กลางเรื่อย ซึ่งเมื่อคุณเคลื่อนไปยังจุดศูนย์กลางแล้ว สีจะเข้มขึ้นและอารมณ์ที่อ่อนลงจะกลายเป็นอารมณ์พื้นฐานของคุณจะทำให้คุณเข้าใจความรู้สึกตัวเอง สามารถตัดสินใจกับปัญหาตรงหน้าได้มากขึ้น แล้วเปลี่ยนมันเป็นคำพูดเพื่อสื่อสารกับตัวเองและคนรอบข้างได้ในแต่ละปัญหาที่เกิดขึ้น
ดังนั้นคราวหน้าหากคุณรู้สึกสับสนกับความคิด รู้สึกไม่เข้าใจตนเอง ไม่เข้าใจสถานการณ์ที่แวดล้อมตัวเราอยู่ ไม่รู้จะตัดสินใจอย่างไร ให้ค่อยๆสำรวจตัวเองที่ละขั้น ว่าอารมณ์แบบไหนที่กีดขวางเราก็เป้าหมายอยู่กันแน่ แล้วค่อยๆถามใจตัวเองถึงสิ่งที่เราต้องการจริงๆ สำรวจให้ลึกถึงจุดประสงค์ที่แท้จริงของจิตใจ เมื่อนั้นเราก็จะได้คำตอบ และไม่ต้องกังวลอะไรอีกต่อไป เพราะถึงแม้ว่าเวลาและโอกาสที่รายล้อมเราจะทำให้เราสับสน แต่มีเพียงเราเท่านั้นที่รู้แน่ว่าจริงๆแล้วตัวเราต้องการอะไร มีแต่ตัวเราเท่านั้น
อ้างอิง
betterup.com
Emotion Wheel: What it is and How to Use it to Get to Know Yourself
Sometimes, it can be hard to put words to how we feel. Learn to use the emotion wheel as a tool to get to know yourself better.
ภาพยนตร์
จิตวิทยา
ข่าว
1 บันทึก
7
8
5
1
7
8
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย