Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MarketThink
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
5 ก.ย. เวลา 09:25 • การตลาด
สรุป 8 ข้อสำคัญ สิ่งต้องห้าม / ไม่ควรทำ ในการโฆษณา ตามราชกิจจานุเบกษา อัปเดตล่าสุดปี 2024
1. โฆษณาไม่ควรมีข้อความที่บอกว่า เจ้าของสินค้าสามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขบางอย่างของสินค้า หรือโปรโมชันได้ โดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า
ตัวอย่างข้อความโฆษณาที่อาจเข้าข่ายเป็นข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
- บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคาและเงื่อนไข โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
- บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคาของสินค้า ขอสงวนสิทธิ์ปัดเศษส่วนลดขึ้น โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
1
คำพวกนี้จะใช้ไม่ได้ เพราะสื่อสารไม่ชัดเจน ทำให้ลูกค้าจะไม่รู้ว่าเมื่อไรที่เจ้าของสินค้าจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ทำให้ผู้บริโภคตกอยู่ในสถานะเสียเปรียบ
2. ในโฆษณาไม่ควรมีข้อความที่เกี่ยวกับความเชื่อส่วนบุคคล หรือข้อความที่ชักชวนคนที่กำลังมีความทุกข์ใจให้มาซื้อสินค้าหรือบริการ
ตัวอย่างข้อความโฆษณาที่อาจเข้าข่ายเป็นข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
- เมื่อใช้สินค้าแล้วจะมีเสน่ห์ แม้แต่แฟนเก่าก็จะกลับมาขอคืนดี
- เมื่อใช้สินค้าแล้วจะเสริมดวงยอดขาย ให้ขายดิบขายดี
- เมื่อใช้สินค้าแล้วจะหมดเคราะห์ หมดกรรม
3. ถ้าข้อความโฆษณาทำเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องมีคำแปลภาษาไทยกำกับข้อความที่เป็นสาระสำคัญด้วยทุกครั้ง ไม่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
- ถ้าโฆษณาอยู่บนป้ายโฆษณา คำอธิบายภาษาไทยจะต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของขนาดตัวอักษรสูงสุดของงานโฆษณา
- ถ้าโฆษณาอยู่บนสื่อทีวี คำอธิบายภาษาไทยต้องมีตัวอักษรขนาด 1 ใน 25 จากความสูงของจอภาพ เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 5 วินาที
- ถ้าโฆษณาอยู่บนสิ่งพิมพ์ คำอธิบายจะต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิเมตร และต้องวางไว้ใกล้ ๆ กับเนื้อหาสำคัญ
- ถ้าโฆษณาอยู่บนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คำแปลจะต้องมีตัวอักษรที่เห็นได้ชัด และมีสีตัดกับพื้นหลัง
- ถ้าโฆษณาบนวิทยุ ก็ต้องมีเสียงภาษาไทยกำกับ ต้องเสียงดังฟังชัด และใช้จังหวะการพูดให้ฟังง่าย
4. การโฆษณาว่า ให้บริการฟรี โปรโมชันแจกของฟรี แต่การแจกของฟรีนั้นมีเงื่อนไขบางอย่าง ต้องสื่อสารให้เข้าใจง่าย และภาษาไม่กำกวม
ตัวอย่างเช่น ถ้าแบรนด์อยากทำโปรโมชันให้ลูกค้าสะสมแต้ม เพื่อแลกของรางวัล
แต่สื่อสารด้วยโฆษณาที่สื่อความหมายว่า “แจกฟรี” เฉย ๆ โดยที่ไม่บอกเงื่อนไขว่า ต้องเก็บแต้มเท่าไร และแลกอะไรได้บ้าง
แบบนี้จะไม่ได้ เพราะจะทำให้ผู้บริโภคสับสน และคิดว่าสินค้านั้นแจกฟรี ๆ แบบไม่มีเงื่อนไข
5. ข้อความในโฆษณา ควรระบุ ปริมาณ, ขนาด, จำนวน หรือส่วนประกอบของสินค้า และบริการ ให้ชัดเจนตามข้อเท็จจริงของสินค้า
เช่น สมมติว่าขนมถุงมีน้ำหนัก 30 กรัม แต่บรรจุภัณฑ์มีน้ำหนัก 10 กรัม รวมเป็น 40 กรัม
บนโฆษณาต้องบอกเฉพาะแค่น้ำหนักของสินค้า 30 กรัม ไม่นับรวมน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์ไปทำการโฆษณา
6. ถ้าโฆษณามีการรับประกันสินค้าและบริการ เจ้าของสินค้า ต้องระบุ ขอบเขตการรับประกัน, ขั้นตอนการเอาประกัน, ระยะเวลาการประกัน, ลักษณะของการประกัน, เงื่อนไขของการรับประกันต่าง ๆ ให้ชัดเจน
เพื่อแสดงถึงเจตนาความรับผิดชอบ ของผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้กระทำการโฆษณา
ตัวอย่างข้อความโฆษณาที่อาจเข้าข่ายเป็นข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
- สินค้าใช้แล้ว ปลอดภัย หายห่วง
- แบตระเบิด จ่ายทันที 200,000
- ไม่ถูกใจยินดีคืนเงิน
- รับประกันความพอใจ
ข้อความพวกนี้ ไม่ระบุเงื่อนไขการรับประกันที่ชัดเจน และมีภาษากำกวม
อย่างเช่นคำว่า “ไม่พอใจ” ก็ไม่สามารถวัดได้ชัดเจนว่าไม่พอใจอย่างไรถึงเข้าเกณฑ์การรับประกัน
7. ถ้าโฆษณามีการยืนยันลักษณะข้อเท็จจริงบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็น สินค้าเคยชนะรางวัล, สินค้าเคยผ่านการรับรองจากสถาบันต่าง ๆ หรือการันตียอดขายอันดับ 1
เจ้าของโฆษณาต้องสามารถหาหลักฐานมาพิสูจน์ให้ได้ว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นของจริง
ไม่อย่างนั้นจะถือว่าเป็นโฆษณาที่ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค
ยกตัวอย่างเช่นคำว่า
- สบู่ยอดขายอันดับ 1 ในญี่ปุ่น
- ครีมผ่านการรับรองจากองค์การอนามัยโลก
- ใช้แล้วเห็นผล 100%
- ผ่านการทดสอบจากโรงพยาบาล แล้วว่าไม่ทำให้เกิดอาการแพ้
คำโฆษณาเหล่านี้ อาจจะต้องพิสูจน์ความจริงกับคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาว่าเป็นเรื่องจริง โดยมีหลักฐานงานวิจัย ผลทดสอบที่ได้รับการรับรอง มาประกอบการพิสูจน์
8. ถ้าในโฆษณามีการอ้างอิงผลการทดลองอะไรบางอย่าง ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่มีเงื่อนไขเฉพาะ
เช่น ครีมแบรนด์ A โฆษณาว่า ครีมของตัวเองผ่านการทดสอบแล้วว่าใช้แล้วไม่แพ้ แม้ในที่อากาศร้อน
เจ้าของสินค้าจะต้องแสดงเงื่อนไขการทดลองให้ชัดเจนในโฆษณาด้วย ว่าทดสอบสินค้า
ในอุณหภูมิที่เท่าไร ใครเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงเงื่อนไขเฉพาะต่าง ๆ
โดยเจ้าของโฆษณาจะต้องมีผลการยืนยันทันที ถ้าคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาเรียกให้ไปพิสูจน์
อ้างอิง :
-
https://ratchakitcha.soc.go.th/pdfdownload/?id=140D009S0000000003300
การตลาด
ธุรกิจ
โฆษณา
10 บันทึก
16
11
10
16
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย