Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MarketThink
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
5 ก.ย. เวลา 12:52 • การตลาด
สรุปอินไซต์แน่น ๆ 15 ข้อ เทรนด์คนไทย ใช้สินค้าหรู จาก CMMU พร้อมไอเดียสำหรับนักการตลาด-คนทำแบรนด์
วันนี้วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) จัดงานสัมมนาข้อมูลเชิงลึก การเติบโตที่ไม่หยุดยั้งของการตลาดกลุ่มลักชูรี่ “Unstoppable Luxumer เจาะอินไซต์ หยุดไม่ได้ใจมันลักซ์”
ในงานมีการเปิดเผยอินไซต์เกี่ยวกับพฤติกรรมของ “Luxumer” ผู้บริโภคสินค้าหรูในไทย ซึ่งอินไซต์นี้เกิดจากการวิจัยร่วมกันระหว่าง CMMU และ Wisesight
โดย MarketThink สรุปอินไซต์และกลยุทธ์สำคัญ ๆ ไอเดียสำหรับนักการตลาด-คนทำแบรนด์ มาให้ใน 15 ข้อ…
1. ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (กุมภาพันธ์ - กรกฎาคม 2024) มีคนไทยพูดถึงสินค้า Luxury สูงถึง 56 ล้าน Engagements และมากกว่า 115,000 Mentions
โดย Engagement คือการที่ลูกค้าหรือผู้ชม มีส่วนร่วมหรือปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ เช่น กดไลก์ แชร์โพสต์ แสดงความคิดเห็น
ส่วน Mention คือ โพสต์หรือคอมเมนต์ที่มี Keyword ปรากฏบน Social Media
2. กรุงเทพมหานครคือ พื้นที่ที่มีชาวลักซ์ (คนชอบบริโภคสินค้าหรู) รวมตัวกันมากที่สุด (56.9%)
3. ความรู้สึก “ของมันต้องมี” ทำให้เกิดพฤติกรรม “หยุดไม่ได้ ใจมันลักซ์” เกิดคำนิยามผู้บริโภคกลุ่มนี้ว่า “Luxumer” ซึ่งเกิดจากคำว่า Luxury + Consumer
หมายถึง ผู้บริโภคที่ชื่นชอบและให้ความสำคัญกับสินค้าหรือบริการระดับพรีเมียม และไลฟ์สไตล์ที่มีความหรูหราเป็นพิเศษ
ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งการบริโภคสินค้าหรู หรือมีไลฟ์สไตล์บริโภคสินค้าที่มีระดับราคาสูงกว่าแบรนด์อื่น ๆ ในหมวดผลิตภัณฑ์เดียวกัน
4. ผลการสำรวจคนไทยจำนวน 1,018 คน พบว่า 31% มีความติดลักซ์มาก และอีก 6% มีความติดลักซ์ที่สุด
(ผลการสำรวจนี้มาจากการหาค่า Materialism ซึ่งเป็นตัวชี้วัดค่าระดับความติดวัตถุนิยม)
5. จากการสำรวจพบว่า ผู้ชายมีความติดลักซ์ มากกว่าผู้หญิง
6. 3 อันดับ ประเภทสินค้าและแบรนด์สินค้าที่คนติดลักซ์นิยมซื้อมากที่สุด (แบ่งตามเพศ)
ผู้ชาย
อันดับที่ 1 กลุ่มอุปกรณ์เทคโนโลยี - Apple
อันดับที่ 2 กลุ่มเครื่องแต่งกายและแฟชั่น - Louis Vuitton
อันดับที่ 3 กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม - Starbucks
ตัวอย่างเหตุผลการเลือกซื้อ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกของเพศชาย Gen Z ในกลุ่มอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คือ
“เวลาใช้ก็จะรู้สึกแบบเป็น Professional Business Man เพราะรู้สึกว่า นักธุรกิจส่วนใหญ่ใช้กันเยอะ”
ผู้หญิง
อันดับที่ 1 กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม - Starbucks
อันดับที่ 2 กลุ่มเครื่องสำอาง/น้ำหอม/สกินแคร์ - Dior
อันดับที่ 3 กลุ่มเครื่องแต่งกายและแฟชั่น - Dior
ตัวอย่างเหตุผลการเลือกซื้อ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกของเพศหญิง Gen Z ในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มคือ
“คุ้มค่า ไม่เสียดายเงิน Fulfill อิ่มเอมใจ ชาตินี้ต้องกินหลาย ๆ ครั้ง”
7. จากการสำรวจพบว่า Gen X (ช่วงอายุระหว่าง 44 - 58 ปี) มีพฤติกรรมชื่นชอบบริโภคสินค้าราคาสูงและสินค้าหรูมากกว่าเจนเนอเรชันอื่น
รองลงมาคือ Gen Z, Gen Y และ Baby Boomer ตามลำดับ
8. 3 อันดับ ประเภทสินค้าที่คนติดลักซ์ซื้อมากที่สุด แบ่งตามเจนเนอเรชันได้ดังนี้
Gen Z - เหตุผลการเลือกซื้อสินค้าหรูคือ เป็นการให้รางวัลกับตัวเอง
อันดับที่ 1 อาหารและเครื่องดื่ม
อันดับที่ 2 เครื่องแต่งกายและแฟชั่น
อันดับที่ 3 อุปกรณ์เทคโนโลยี
Gen Y - เหตุผลการเลือกซื้อสินค้าหรูคือ ต้องการรับประสบการณ์ที่แปลกใหม่จากการบริโภคสินค้าหรู
อันดับที่ 1 อาหารและเครื่องดื่ม
อันดับที่ 2 เครื่องสำอาง/น้ำหอม/สกินแคร์
อันดับที่ 3 เครื่องแต่งกายและแฟชั่น
Gen X - เหตุผลการเลือกซื้อสินค้าหรูคือ สร้างความมั่นใจ เสริมภาพลักษณ์ เสริมบุคลิกให้กับตัวเอง
อันดับที่ 1 เครื่องแต่งกายและแฟชั่น
อันดับที่ 2 อาหารและเครื่องดื่ม
อันดับที่ 3 เครื่องสำอาง/น้ำหอม/สกินแคร์
Baby Boomer - เหตุผลการเลือกซื้อสินค้าหรูคือ ให้ความรู้สึกทันสมัยเข้ากับคนรุ่นใหม่ได้
อันดับที่ 1 อาหารและเครื่องดื่ม
อันดับที่ 2 สุขภาพและความงาม
อันดับที่ 3 เครื่องแต่งกายและแฟชั่น
9. จากการวิจัยครั้งนี้พบว่า ไม่ว่าจะเป็นใคร มีรายได้เท่าไร ต่างก็มี “ความลักซ์” ในแบบของตัวเอง
-กลุ่มคนมีรายได้น้อย จะติดลักซ์ในสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มเป็นส่วนใหญ่
เนื่องจากเป็นการบริโภคสินค้าหรูในราคาที่เอื้อมถึงได้ ซึ่งมักเป็นการให้รางวัลตัวเองหรืออยากลองสัมผัสประสบการณ์หรูหรา
-ส่วนกลุ่มคนมีรายได้ปานกลางถึงสูง ส่วนมากจะติดลักซ์ในสินค้าประเภทเครื่องสำอาง สกินแคร์ น้ำหอม เครื่องแต่งกายและสินค้าแฟชั่น เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์และความมั่นใจให้กับตัวเอง
10. ชาวลักซ์เกินครึ่ง มีรายได้ไม่เกิน 50,000 บาท โดยพวกเขายอมควักเงินจ่ายสินค้าหรูหรากว่า 10 - 30% ของรายได้ต่อเดือน
และกว่า 50% ของชาวลักซ์ มีเงินสำรองฉุกเฉินต่ำกว่า 6 เดือน
11. จากผลการวิจัยมีการแบ่งกลุ่ม Luxumer ออกเป็น 5 ประเภท โดยใช้เกณฑ์แบ่งกลุ่ม 2 เกณฑ์
เกณฑ์แรกคือ เงินออม (จำนวนเงินสำรองฉุกเฉิน)
- เงินออมน้อย คือกลุ่มที่มีเงินสำรองฉุกเฉินต่ำกว่า 6 เดือน
- เงินออมปานกลาง คือกลุ่มที่มีเงินสำรองฉุกเฉินตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี
- เงินออมเยอะ คือกลุ่มที่มีเงินสำรองฉุกเฉินตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
และอีกเกณฑ์ก็คือ พฤติกรรมการบริโภคสินค้าหรู
- อยากได้ก็ซื้อเลย คือกลุ่มที่มักซื้อสินค้าหรูที่ต้องการในทันที เน้นซื้อตามอารมณ์ โดยไม่คิดไตร่ตรอง
- อยากได้แต่คิดก่อน คือกลุ่มที่มีการวางแผน และพิจารณาอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจซื้อ
โดย Luxumer ทั้ง 5 ประเภท มีดังนี้
- หรูลูกคุณ 2% (เงินออมเยอะ + อยากได้ก็ซื้อเลย)
ชื่นชอบสินค้าหรู เงินออมเยอะ โตมาในครอบครัวร่ำรวย ชินกับการใช้จ่ายสินค้าหรูหราอย่างไม่ต้องกังวล
- หรูได้มีสติด้วย 6% (เงินออมเยอะ + วางแผนก่อนใช้)
มองหาความคุ้มค่าการบริโภคสินค้าหรู รายได้สูง เงินออมเยอะ ให้ความสำคัญกับประโยชน์ที่ตัวเองได้รับ
- หรูเจียมตัว 24% (เงินออมปานกลาง + อยากได้แต่คิดก่อน)
ชื่นชอบการบริโภคสินค้าหรูบางครั้ง รายได้และเงินออมปานกลาง ทำให้ต้องวางแผนการเงินและคิดก่อนซื้อ
- หรูเขียม 28% (เงินออมน้อย + อยากได้แต่คิดก่อน)
ชื่นชอบบริโภคสินค้าหรูแบบจำกัด รายได้และเงินออมไม่สูง แต่มักประหยัดเพื่อให้ได้สินค้าหรูมาครอง
- หรูปริ่มน้ำ 40% (เงินออมน้อย + อยากได้ก็ซื้อเลย)
ชื่นชอบบริโภคสินค้าหรูเป็นชีวิตจิตใจ ซื้อสินค้าในกระแส รายได้และเงินออมไม่สูง ชอบใช้จ่ายไม่ยั้งคิด
12. แรงจูงใจที่ทำให้คนเหล่านี้มีพฤติกรรมติดลักซ์ คือ
- อันดับที่ 1 อยากให้คนอื่นยอมรับและแสดงสถานะทางสังคม
- อันดับที่ 2 อยากโดดเด่น แตกต่าง และไม่ซ้ำใคร
13. “ผู้ชาย” อยากได้รับการยอมรับและชอบความโดดเด่นมากกว่าผู้หญิง จึงมีการเลือกซื้อสินค้าหรูต่าง ๆ รวมถึงรถยนต์แบรนด์ยุโรป
เช่น รถยนต์ Mercedes-Benz ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความหรูหรา และแสดงสถานะทางสังคม
14. Gen Y อยากโดดเด่น แตกต่าง ไม่ซ้ำใคร มากกว่า Gen Z โดยมักเลือกซื้อสินค้าแบรนด์พรีเมียม ที่ไม่ค่อยมีคนนิยมมากนัก
เพราะสิ่งของ Unique เหล่านั้นแสดงความเป็นตัวตนและได้รับการจดจำจากคนอื่น
15. กลยุทธ์พิชิตใจ ชาวลักซ์
- “L” Lifestyle การสร้างภาพลักษณ์ที่หรูหรา และสะท้อนถึงไลฟ์สไตล์ที่มีระดับ
- “U” Uniqueness การสร้างความโดดเด่นและมีเอกลักษณ์ ที่ไม่สามารถหาได้จากแบรนด์อื่น
- “X” Experience การสร้างประสบการณ์สุดพิเศษเหนือระดับให้กับผู้บริโภค
- “E” Endorsement การใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงและมีอิทธิพลมาขับเคลื่อนแบรนด์
#Luxumer
#กลยุทธ์การตลาดพิชิตใจชาวลักซ์
ธุรกิจ
การตลาด
4 บันทึก
14
1
4
14
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย